วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระเจ้ากาวิละ เชียงใหม่

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติ พระเจ้ากาวิละ
...................... พระเจ้ากาวิละ พระบรมราชานราธิบดีศรีสุริยวงศ์ องค์อินทสุรศักดิ์สมญามหาขัติยราชาไชย
พระราชประวัติ
...................... พระเจ้ากาวิละเป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้วซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง กับนางจันทาเทวี เป็นหลานปู่คนแรก ของพระยาสุลวฤาชัยกับแม่เจ้าพิมพา ในจารึกหลังพระพุทธรูปหินวัดเชียงใหม่เรียกนางพิมมลา ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียก นางพิมพา เป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และเชื้อเจ็ด
ตน พระเจ้ากาวิละสมภพเมื่อจุลศักราช ๑๑๐๔ ปีจอ จัตวาศก (พ.ศ. ๒๒๘๕) เมื่อบวชอยู่นั้นอาจารย์ให้ชื่อว่า "เจ้าขนานกาวิละ" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน เป็นหญิง ๓ คน ชาย ๗ คน ดังนี้
๑. เจ้ากาวิละ (ได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่)
๒. เจ้าคำสม (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)
๓. เจ้าน้อยธรรม (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงธรรมลังกาเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒)
๔. เจ้าดวงทิพ (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)
๕. เจ้าหญิงศรีอโนชา (ต่อมาได้เป็นพระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสี
หนาท)
๖. เจ้าหญิงสรีวัณณา
๗. เจ้าหมูหล้า (ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง)
๘. เจ้าคำฝั้น (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๓)
๙. เจ้าหญิงสรีบุญทัน
๑๐. เจ้าบุญมา (ได้เป็นเจ้าหลวงเมืองลำพูน)
เจ้ากาวิละมีบุตร-ธิดา ๕ คน ได้แก่
๑. เจ้าน้อยสุริยวงศ์ (ได้เป็นราชบุตรเชียงใหม่)
๒. เจ้าหนานสุริยวงศ์ (ได้เป็นพระยาบุรีรัตน์เมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖)
๓. เจ้าหนานมหาวงศ์ (ได้เป็นเขยเจ้าลำพูน)
๔. เจ้าหญิงคำใส
๕. เจ้าหนานไชยเสนา (เป็นเขยพระยาเชียงใหม่คำฝั้น)
................... พระเจ้ากาวิละถึงแก่พิราลัยในจุลศักราช ๑๑๗๗ (พ.ศ. ๒๓๕๘) เดือนยี่เหนือแรม ๔ ค่ำ วันพุธ ยามแตรบอกเวลา เข้าสู่เที่ยงคืน รวมเวลาปกครองเมืองเชียงใหม่นาน ๓๒ ปี รวมพระชนมายุได้ ๗๔ ปี
ผลงาน
..................... อาณาจักรล้านนาสมัยราชวงศ์มังรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ เป็นต้นมา บางช่วงก็เป็นอิสระ บางช่วงก็ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลาที่ประชาชนพลเมืองต่างก็ได้รับความเดือดร้อนนานาประการ อันเกิดจากการกดขี่ข่มเหงของพม่า ซึ่งมีโป่อภัยคามินีแม่ทัพปกครองเมืองเชียงใหม่ขณะ
นั้น เจ้าฟ้าชายแก้วบิดาของเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปางในฐานะเมืองขึ้นของพม่า เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทิพ น้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพ ไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อนางสามผิวไปถวายพระเจ้าอังวะ นับแต่นั้นมาเมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้ง
หมดตกอยู่ใต้อำนาจพม่า ปี พ.ศ. ๒๓๑๒ โป่อภัยคามินีถึงแก่กรรม พระเจ้าอังวะแต่งตั้งโป่มะยุง่วนมาครองเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากชอบใช้ผ้าขาวโพกหัว ชาวเมืองจึงเรียกโป่หัวขาว พ.ศ. ๒๓๑๓ พม่าพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนา ตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศให้บรรดาหัวเมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ ให้ผู้ หญิงขวากหู ใส่ม้วนลานตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหาย ของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมาย จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะบูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมือง ไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือโป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมือง เชียงใหม่ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกำจัดอำนาจของพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย จึงได้รับความร่วมมือจากผู้นำ ชาวไทยเป็นอย่างดีดังเช่น เจ้ากาวิละกับน้องชายทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองนครลำปางทำกลอุบายให้พม่า เชื่อว่าคนไทยสวามิภักดิ์ต่อพม่า แต่พม่าก็ไม่หลงเชื่อกลับจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วผู้บิดาของเจ้ากาวิละและน้อง ทั้งหกพันธนาการและจำคุกไว้ หากปรากฏแน่ชัดว่าเจ้ากาวิละ และน้องทั้งหกคิดทรยศก็จะประหารชีวิตเจ้าฟ้า ชายแก้วเสีย กองทัพของเจ้ากาวิละพร้อมกับกองทัพของพระเจ้าธนบุรี โดยการประสานความร่วมมือกับนาย
น้อยวิฑูรย์กับน้อยสมพมิตรชาวเชียงใหม่ ซึ่งอยู่กับพม่าเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้กองทัพไทย เข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้จากพม่าสำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เพ็ญเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ปีมะเมีย ฉศก ปี พ.ศ ๒๓๑๗ (จ.ศ.๑๑๓๖) ขณะนั้นเจ้ากาวิละอายุได้ ๓๒ ปี
เกียรติคุณ
....................... เมื่อเจ้ากาวิละสามารถขับไล่กำลังพม่าออกจากเมืองเชียงแสน ได้ไพร่พลมาถวายกษัตริย์ แต่ในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน คือ เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษก เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นความชอบที่เจ้ากาวิละนำข้าวของและไพร่พลถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งเจ้ากาวิละซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๔๐ ปี เป็นพระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ และ ในยุคนี้เรียกว่า ยุค "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง" คือ ไปชักชวนหรือตีเมืองเล็กเมืองน้อยได้ก็นำไพร่พลเมืองมา รวมกันที่เวียงป่าซาง แบ่งผู้คนไปไว้ตามที่ต่าง ๆ ที่เมืองร้าง เช่น ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ในยุคนี้ตีได้ดิน
แดนกว้างไกลไปถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินและสิบสองปันนา โดยเฉพาะที่เคยเป็น "เขตน้ำหนังดินมาตั้งแต่ครั้ง บรรพบุรุษ"

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ