วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดเพชรบูรณ์
ตำนานเมืองศรีเทพ
นื้อเรื่อง
....................ที่บนเขาใกล้เมืองศรีเทพ มีฤาษีสองตนเป็นเพื่อนรักกันมากสร้างกุฏิอยู่ใกล้กัน ฤาษีตนหนึ่งชื่อตาวัว อีกตนหนึ่งชื่อตาไฟ มีลูกศิษย์เป็นท้าวพระยาผู้ครองเมืองศรีเทพ วันหนึ่งฤาษีตาไฟบอกกับลูกของท้าวพระยา ผู้เป็นศิษย์ว่า น้ำในบ่อสองบ่อนี้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใครได้อาบน้ำในบ่อหนึ่งก็จะตาย แต่ถ้าเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารด ก็จะฟื้นขึ้นมาใหม่ได้ ลูกของท้าวพระยานั้นไม่เชื่อ ฤาษีตาไฟจึงตกลงจะทดลองให้ดู แต่ขอมั่นสัญญา จากลูกท้าวพระยานั้นว่า เมื่อฤาษีตาไฟตายลูกท้าวพระยาจะต้องเป็นผู้เอาน้ำบ่อที่สองมารดให้คืนชีวิตใหม่ ลูกท้าวพระยาก็ให้คำมั่นสัญญา ดังนั้นฤาษีตาไฟก็ลงไปในบ่อที่หนึ่ง แต่ฤาษีตาไฟต้องตายไป เพราะศิษย์ขาด ความซื่อตรงไม่ทำตามสัญญาคือไม่เอาน้ำบ่อที่สองมารดให้ กลับหนีไปในเมืองเสีย
..................... กล่าวถึงฤาษีตาวัวเคยไปมาหาสู่กับฤาษีตาไฟอยู่สม่ำเสมอ รู้สึกผิดสังเกตที่ไม่เห็นฤาษีตาไฟมาเยี่ยมเยียนก็ออกไปตามหา เมื่อผ่านบ่อน้ำที่ใครอาบน้ำบ่อนี้ตาย ฤาษีตาวัวเห็นน้ำในบ่อเดือดพล่านก็ทราบว่า มีเหตุเพทภัยเกิดขึ้นและค้นพบศพฤาษีตาไฟในบ่อน้ำนั้น ฤาษีตาวัวจึงรีบไปตักน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดซากศพของ
ฤาษีตาไฟ ฤาษีตาไฟฟื้นคืนชีวิตจึงเล่าเรื่องที่เป็นมาให้ฤาษีตาวัวฟังแล้วว่าจะต้องแก้แค้นลงโทษลูกของท้าวพระยา ให้หนัก และจะลงโทษประชาชนทั้งหมดที่อยู่ใกล้เมือง และในเมืองอีกด้วย ฤาษีตาวัวเตือนสติว่าอย่าลง โทษรุนแรงถึงขั้นนั้นเลยแต่ฤาษีตาไฟไม่ฟัง จากนั้นจึงนิมิตวัวตัวหนึ่งขึ้นมาเอาพิษร้ายบรรจุในท้องวัวจนเต็ม
แล้วจึงปล่อยวัวกายสิทธิ์ให้เดินรอบเมืองขู่คำรามด้วยเสียงอันกึกก้องตลอดเวลา ยามประตูเมืองเห็นผิด สังเกตก็รีบปิดประตูเมืองทันที วัวกายสิทธิ์เข้าเมืองไม่ได้ จึงเดินวนเวียนอยู่รอบหน้าประตูเมือง พอประตูเมือง เปิดวัวกายสิทธิ์ซึ่งคอยทีอยู่แล้วนั้นก็ตรงรี่เข้าไปในเมือง พอถึงกลางใจเมือง ท้องวัวกายสิทธิ์ก็ระเบิดแตกออก พิษร้ายแรงที่อยู่ในท้องวัวไหลพุ่งทำลายคนในเมืองศรีเทพตายหมด เมืองศรีเทพจึงเป็นเมืองร้างตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
สาระ
...................นิทานเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าเมืองศรีเทพเคยนับถือศาสนาพราหมณ์และเชื่อเรื่องเวทย์มนต์คาถา ซึ่ง เป็นลักษณะร่วมของคนไทยทั่วไป นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการไม่มีความซื่อสัตย์ และไม่รักษาคำพูดเป็นบ่อเกิดแห่งหายนะ

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ