วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อ ตำนานทุ่งกุลาร้องไห้

เนื้อเรื่อง
..................นานมาแล้วยังมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองจำปากนาคบุรี มีพญาครองเมืองชื่อว่า พญาพรหมทัต มเหสีชื่อ พระนางจันทาเทวี มีลูกสาวชื่อว่า นางแสนสี และมีหลานชื่อว่า นางคำแพงทั้งสองได้ชวนกันไปเล่นน้ำ ที่ทะเลหลวงกว้างใหญ่ (ทุ่งกุลาร้องไห้ในปัจจุบัน) โดยมีผู้อารักขาชื่อว่าจ่าแอ่น มีชายหนุ่มสองคนชื่อท้าวฮาดคำโปง และท้าวทอน ทั้งสองได้ไปเรียนวิชาอาคมกับพระฤาษีที่ป่าหิมพานต์ เมื่อเรียนจบจึงได้เดินทาง กลับมาบ้านเมืองของตน มาถึงฝั่งทะเลหลวง ไม่มีเรือข้ามจึงได้ใช้คาถาเสกเป่าฟางให้เป็นเรือสำเภา ทั้งสองได้นั่งมา ฟังเสียงคลื่นและลมพัดมาด้วยความสุขใจ จักกล่าวถึงเมืองจำปากนาคบุรี มีนาคตนหนึ่งเป็นพญาเฝ้าดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเมืองให้ ประชาชนอยู่ด้วยความสงบตลอดมา ส่วนนางแสนสี นางคำแพง กับจ่าแอนไปเล่นน้ำที่แม่น้ำทะเลหลวงกว้าง ใหญ่ท้าวฮาดคำโปงและท้าวทอน ได้ขี่สำเภามาพบจึงเกิดความรักต่อนางแสนสีและนางคำแพงผู้หลาน จึงได้
เกี้ยวพาราสี และทั้งหมดได้ตกลงปลงใจพากันขึ้นสำเภาหนีไป พญาพรหมทัต ทราบข่าวจากทหารว่ามีคนเก่ง กล้าสามารถมาลักลูกสาวหนีไป จึงได้ไปบอกพญานาคให้ช่วยเหลือ พญานาคจึงเห็นว่าถ้าไม่อยากให้สำเภาแล่นไปได้ก็ ต้องทำให้น้ำทะเลเหือดแห้ง ดังนั้นพญานาค จึงดูดน้ำทะเลออกหมดทำให้ทะเลเหือดแห้งไป เมื่อ ทะเลแห้งแล้วท้าวฮาดและท้าวทอนได้พานางแสนสีและนางคำแพงพร้อมด้วยจ่าแอ่นเดินทางไปตั้งบ้านแห่ง
หนึ่งและพักอยู่ที่นั้นจึงได้ชื่อว่าบ้านแสนสี (ปัจจุบันบ้านแสนสีอยู่ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย) จากนั้นได้เดินทางมาถึงริมป่าลำธารแห่งหนึ่ง และได้ข้ามลำธารไปยังโนนบ้านแห่งหนึ่งจ่าแอ่นเกิด ความเมื่อยล้าจึงไม่ขอเดินทางไปกับนางแสนสีและนางคำแพง ขอพักอยู่บ้านแห่งนั้นต่อมาจ่าแอ่นได้เสียชีวิต
ชาวบ้านได้ฝังร่างจ่าแอ่นไว้ที่บ้านแห่งนั้นและตั้งชื่อว่าบ้านจ่าแอ่น (ปัจจุบันคือบ้านแจ่มอารมณ์ อำเภอเกษตรวิสัย) ทั้งสี่คนเดินทางมาถึงเขตป่าดง ท้าวฮาดคำโปงกับท้าวทอนได้ต่อสู้กันเองเพราะรักนางแสนสีคนเดียวกัน ท้าวฮาดคำโปงจึงได้ถูกท้าวทอนฆ่าตาย ที่กลางทุ่งจึงได้เรียกหมู่บ้านในที่นั้นว่าบ้านฮาด (ต่อมาเป็นบ้านฮาด อำเภอเกษตรวิสัย) ด้วยความอาฆาตวิญญาณของท้าวฮาดจึงได้เป็นผีโป่ง (ผีหัวแสง) ตามไล่ท้าวทอนใน เวลากลางคืน ท้าวทอนพานางแสนสี และนางคำแพงหนีไปบริเวณทางตะวันตกที่เป็นทุ่งกว้างใหญ่ ด้วยความอ่อนเพลียทั้งสามได้นอนหลับอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ท้าวทอนและนางแสนสีตื่นก่อน จึงได้ปล่อยให้นางคำแพงอยู่ เพียงคนเดียว และต่อมาจึงได้เรียกชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งป๋าหลาน (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยในปัจจุบัน) ฝ่ายพระอินทร์ได้ออกมาส่องญาณวิเศษดูโลกมนุษย์ ได้มองเห็นทะเลหลวงแห้ง และพวกปลาหอย กุ้ง และ สัตว์น้ำนานาชนิดได้ ตายเน่าเหม็นจึงได้บอกนกอินทรีย์มากินปลาที่ทะเลหลวง นกอินทรีย์ได้กินปลา หอย ถ่ายออกเป็นก้อนขนาดใหญ่มีอยู่ทั่วไปตามทุ่ง ชาวบ้านเรียกว่าขี้นกอินทรีย์ นกอินทรีย์กินปลา หอย ในทะเลหลวงหมดแล้วก็ไม่มีอาหารกินจึงได้ไปขอรางวัลจากพระอินทร์ ๆ ก็ให้ช้างเป็นอาหารเป็นรางวัล นกอินทรีย์แย่งกัน หมู่หนึ่งคาบหัวไปกินทิ้งหัวไว้กลายเป็นป่าดง ต่อมาเรียกว่า ดงหัวช้าง (ปัจจุบันคือบ้านหัวช้างในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน) ส่วนอีก หมู่หนึ่งคาบได้เท้าช้างไปกินแถว ดงแห่งหนึ่งชื่อว่า ดงเท้าสาร (เขตอำเภอสุวรรณภูมิในปัจจุบัน) และอีกส่วนหนึ่งก็เป็น เขตดงช้าง มีช้าง มากมาย (ปัจจุบันคือบ้านดงช้าง อำเภอปทุมรัตต์) ท้าวทอนและนางแสนสี ได้กลับมายังเมืองจำปากนาคบุรี มาพบแต่เมืองร้าง เพราะประชาชนหนีไป เนื่องจากกลัวนกอินทรีย์ พญานาคก็ดำดินหนีไปอยู่ที่แดนไกลเขตแม่น้ำโขง พญาพรหมทัตกับนางจันทราเทวี ก็สิ้นพระชนม์ด้วยความคิดถึงลูกมาก ท้าวทอนและนางแสนสีได้รวมไพร่พล และประชาชนที่เหลืออยู่ มาบูรณะสร้างเมืองจำปากนาคบุรี ขึ้นใหม่ สร้างพระธาตุพันขันขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับบิดา มารดา และไถ่บาปให้กับตนเอง ทั้งสองก็ได้ครอง เมืองสืบต่อมาอย่างมีความสุขตราบจนสิ้นชีวิต

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ