จังหวัดพิจิตร
ชาละวัน
เนื้อเรื่อง
..................ตามตำนานกล่าวว่า ตายายสามีภรรยาไปหาปลา พบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง ได้นำมาฟักเป็นตัวเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงดูไว้แต่แรกเกิดแทนลูก เมื่อจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงในสระใกล้ บ้านหาปลามาเป็นอาหาร จระเข้กินไม่อิ่มจึงกัดกินตากับยายแล้วคลานออกจากสระลงไปในแม่น้ำน่านเก่า
ซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร แม่น้ำน่านเก่าสมัยนั้น มีน้ำบริบูรณ์ไม่ขาดแคลน จระเข้ชุกชุมทั่วไป แต่ไม่ทำอันตรายผู้คนเนื่องจากมีปลาเป็นอาหาร แต่จระเข้ของตายายเคยได้ลิ้มรสเนื้อ มนุษย์จึงเที่ยวกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่เว้นแต่ละวัน จระเข้ใหญ่นี้ถูกเรียกชื่อว่า ไอ้ตาละวัน ตาม
สำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้าย ที่มันทำร้ายคนไม่เว้นแต่ละวัน และเพี้ยนเสียงเป็น ไอ้ชาละวัน ชื่อชาละวันแพร่สะพัดไปทั่ว เพราะธิดาสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรเก่าถูกชาละวันแว้งตกน้ำจม หายไปขณะกำลังอาบน้ำอยู่บนแพท่าน้ำหน้าบ้าน เศรษฐีประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่ มีอยู่อีก ๑ คน ให้แก่ผู้ฆ่าชาละวันได้ มีหมอจระเข้หลายคนรับอาสาแต่ถูกชาละวันฆ่าตายหมด จนในที่สุด นายไกรทองพ่อค้า จากเมืองล่างสันนิษฐานว่าเป็นพ่อค้า จากเมืองนนทบุรี ได้ฆ่าชาละวันตายด้วยหอกลง อาคม เชื่อกันว่าถ้ำของชาละวันอยู่กลางลำน้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากสำนักสงฆ์ บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอที่จระเข้ขนาดใหญ่ มากขึ้นลงได้อย่างสะดวก เมื่อสิบปีที่ผ่านมามีผู้เข้าไปสำรวจความลึกของโพรงปากถ้ำ โดยใช้ไม้ไผ่ลำยาว หยั่งแต่ไม่ถึงกันโพรงที่เป็นหลุมลึก ปัจจุบันโพรงตื้นเขินมาก
ผู้ใหญ่รุ่นเก่าเล่าถึงความใหญ่ของชาละวันว่า เวลาอวดศักดาจะลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลองตัวยาวคับ คลองบางแห่ง เมื่อชาละวันตายซากหัวที่วางเซ่นไหว้ บนศาลเพียงตาหน้าเมืองพิจิตรมีความยาวถึง ๑ วา และ น่าแปลกที่ศาลเพียงตามีจิ้งจกมาออกันอยู่มากมายเป็นร้อย ๆ ตัว คนสมัยก่อนเชื่อกันว่า หากผู้ใดถูกจระเข้ กัดต้องจัดให้คนเจ็บนอนรักษาตัวอยู่แต่ในมุ้งอย่างดี เพื่อกันไม่ให้จิ้งจกเข้าไปเลียแผล ถ้าจิ้งจกเลียแผล คน เจ็บจะตายอย่างไม่มีทางรักษา
คติ/แนวคิด
.................... ความเชื่อศรัทธาในตายายที่เลี้ยงชาละวันยังคงอยู่ในจิตใจของชาวบ้านบ้านวังกระดี่ทอง หากปรารถนาสิ่งใดชาวบ้านจะบนด้วยข้าวปากหม้อ น้ำอ้อย และขนมกริม และเชื่อว่าได้สมความปรารถนาจนทุกวันนี้ เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาจนล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงนำไปพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง ไกรทอง
..................ตามตำนานกล่าวว่า ตายายสามีภรรยาไปหาปลา พบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง ได้นำมาฟักเป็นตัวเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงดูไว้แต่แรกเกิดแทนลูก เมื่อจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงในสระใกล้ บ้านหาปลามาเป็นอาหาร จระเข้กินไม่อิ่มจึงกัดกินตากับยายแล้วคลานออกจากสระลงไปในแม่น้ำน่านเก่า
ซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายออกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร แม่น้ำน่านเก่าสมัยนั้น มีน้ำบริบูรณ์ไม่ขาดแคลน จระเข้ชุกชุมทั่วไป แต่ไม่ทำอันตรายผู้คนเนื่องจากมีปลาเป็นอาหาร แต่จระเข้ของตายายเคยได้ลิ้มรสเนื้อ มนุษย์จึงเที่ยวกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่เว้นแต่ละวัน จระเข้ใหญ่นี้ถูกเรียกชื่อว่า ไอ้ตาละวัน ตาม
สำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้าย ที่มันทำร้ายคนไม่เว้นแต่ละวัน และเพี้ยนเสียงเป็น ไอ้ชาละวัน ชื่อชาละวันแพร่สะพัดไปทั่ว เพราะธิดาสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรเก่าถูกชาละวันแว้งตกน้ำจม หายไปขณะกำลังอาบน้ำอยู่บนแพท่าน้ำหน้าบ้าน เศรษฐีประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่ มีอยู่อีก ๑ คน ให้แก่ผู้ฆ่าชาละวันได้ มีหมอจระเข้หลายคนรับอาสาแต่ถูกชาละวันฆ่าตายหมด จนในที่สุด นายไกรทองพ่อค้า จากเมืองล่างสันนิษฐานว่าเป็นพ่อค้า จากเมืองนนทบุรี ได้ฆ่าชาละวันตายด้วยหอกลง อาคม เชื่อกันว่าถ้ำของชาละวันอยู่กลางลำน้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากสำนักสงฆ์ บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอที่จระเข้ขนาดใหญ่ มากขึ้นลงได้อย่างสะดวก เมื่อสิบปีที่ผ่านมามีผู้เข้าไปสำรวจความลึกของโพรงปากถ้ำ โดยใช้ไม้ไผ่ลำยาว หยั่งแต่ไม่ถึงกันโพรงที่เป็นหลุมลึก ปัจจุบันโพรงตื้นเขินมาก
ผู้ใหญ่รุ่นเก่าเล่าถึงความใหญ่ของชาละวันว่า เวลาอวดศักดาจะลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลองตัวยาวคับ คลองบางแห่ง เมื่อชาละวันตายซากหัวที่วางเซ่นไหว้ บนศาลเพียงตาหน้าเมืองพิจิตรมีความยาวถึง ๑ วา และ น่าแปลกที่ศาลเพียงตามีจิ้งจกมาออกันอยู่มากมายเป็นร้อย ๆ ตัว คนสมัยก่อนเชื่อกันว่า หากผู้ใดถูกจระเข้ กัดต้องจัดให้คนเจ็บนอนรักษาตัวอยู่แต่ในมุ้งอย่างดี เพื่อกันไม่ให้จิ้งจกเข้าไปเลียแผล ถ้าจิ้งจกเลียแผล คน เจ็บจะตายอย่างไม่มีทางรักษา
คติ/แนวคิด
.................... ความเชื่อศรัทธาในตายายที่เลี้ยงชาละวันยังคงอยู่ในจิตใจของชาวบ้านบ้านวังกระดี่ทอง หากปรารถนาสิ่งใดชาวบ้านจะบนด้วยข้าวปากหม้อ น้ำอ้อย และขนมกริม และเชื่อว่าได้สมความปรารถนาจนทุกวันนี้ เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาจนล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงนำไปพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง ไกรทอง
ศุกร์ ที่ 27 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2552 |
ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวจ้าวอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน พิจิตร เมืองพญาชาละวัน ถิ่นกำเนิดนิทานเรื่อง ไกรทอง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัยปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลาจารึกหลักที่8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" นอกจากนี้เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียงซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา จังหวัดพิจิตรมีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอสามง่าม อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอวชิรบารมี อำเภอสากเหล็ก อำเภอคงเจริญ และอำเภอบึงนาราง ประเพณีวัฒนธรรม งานประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยพวน บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม งานจัดตรงกับ วันขึ้น 2 ค่ำและ 3 ค่ำ เดือน 3 (เดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดงความเคารพบูชาเทวดา และพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพวนจะกลับมายังบ้านของตนเพื่อร่วม ทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้าน งานแข่งเรือประเพณี จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใด ถ้าจัดงานปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย โดยกำหนด ให้วันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนเป็นวันจัดการแข่งขัน ณ แม่น้ำน่าน หน้าวัดท่า หลวง นอกจากการแข่งเรือแล้ว ในวันงานยังมีการประกวดขบวนแห่เรือต่าง ๆ มีการ ประดับริ้วขบวนอย่างสวยงาม สินค้าพื้นเมือง ของฝากของที่ระลึก ส้มโอท่าข่อย เป็นส้มโอพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในภาคเหนือ มีรสชาติหวานเปรี้ยวกลมกล่อม ไม่มีเมล็ดและเนื้อละเอียด ผลผลิตออกในเดือนตุลาคม-เมษายน กระท้อน ปลูกมากบริเวณบ้านวังทับไทร ตำบลท่าเยี่ยม พันธุ์ที่มีชื่อเสียงได้แก่พันธุ์ “นิ่มนวล” และ “ปุยฝ้าย” มีผลผลิตมากในเดือนมิถุนายน ขนุน เป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะพันธุ์ “ตะเภาแก้ว” ปลูกมากที่บ้านดงชะพลูและบ้านวังไม้ดัก ตำบลคลองคะเชนทร์ ออกผลในเดือนเมษายน-มิถุนายน มะไฟหวาน เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดพิจิตร พันธุ์ที่มีชื่อเสียง คือ “เหรียญทอง” และพันธุ์ “ไข่เต่า” มีรสชาติหวาน ปลูกมากที่อำเภอทับคล้อ อำเภอตะพานหิน มีผลผลิตมากในเดือนเมษายน มะปราง เป็นผลไม้ที่สร้างชื่อให้จังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะพันธุ์ “ปรางไข่” มีผลโตเท่าไข่ไก่ ปลูกมากที่บ้านบางเพียร อำเภอเมือง อำเภอตะพานหิน และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง มะปรางพันธุ์นี้มีผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ พระเครื่องเมืองพิจิตร พระเครื่องหรือพระพิมพ์เมืองพิจิตร เป็นที่รู้จักและนิยมกันโดยทั่วไป กล่าวกันว่าพระพิมพ์ที่พบนั้นมักพบในเขตเมืองเก่าพิจิตร ส่วนมากเป็นพระพิมพ์สมัยสุโขทัย หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ ศาลากลางจังหวัด โทร. 0 5661 1199, 0 5661 2319 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5661 1611 ที่ว่าการอำเภอเมืองพิจิตร โทร. 0 5661 1147 สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 5661 3436 โรงพยาบาลพิจิตร โทร. 0 5661 1355, 0 5661 1230 สถานีรถไฟ โทร. 0 5661 2136 สถานีขนส่ง โทร. 0 5661 1622 สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร โทร. 0 5661 1206 Link ที่น่าสนใจ สำนักงานจังหวัดพิจิตรhttp://www.phichit.go.th |
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love. _/|\_
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always beloved. _/|\_