จังหวัดน่าน
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง
สถานที่ตั้ง วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ประวัติความเป็นมา
..........................ในหนังสือพงศาวดารเมืองน่านได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุแช่แห้งว่าสร้างในสมัยพระยาการเมือง เป็นเจ้าผู้ครองนคร ระหว่าง พ.ศ.๑๘๖๙-๑๙๐๒ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองสุโขทัยเพื่อช่วยพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วงในปัจจุบัน) เมื่อการก่อสร้างทั้งมวลแล้วเสร็จบริบูรณ
พระมหาธรรมราชาลิไท ได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์ พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์ทองอันงดงาม ประณีตอย่างละ ๒๐ องค์ ให้กับพระยาการเมือง เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองน่านแล้ว พระองค์ทรงนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลนี้ ประดิษฐานไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง และทรงสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ หลังจากนั้นเจ้าผู้ครองนคร
น่านลำดับต่อๆมา ได้ปฏิสังขรณ์และสร้างเสริมหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าศรีสองเมืองได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบองค์เดิมแล้วเสร็จเมื่อปีกุน พ.ศ.๒๑๖๔ เดือนมิถุนายน ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันศุกร์ ยามเที่ยงวัน
ความสำคัญ
.......................... พระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ(ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) เรียกว่างานประเพณี "หกเป็งไหว้พระบรมธาตุแช่แห้ง" สิ่งสำคัญนอกเหนือ
จากองค์พระบรมธาตุแช่แห้งแล้ว สถาปัตยกรรมของพระวิหารหลวง วิหารพระไสยาสน์และบันไดนาค ล้วนมีคุณค่าอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่านได้เป็นอย่างดีประวัติของวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับ เรื่องราวของเมืองน่านตลอดเวลา
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
..........................ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานทำเป็นทรงหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่รองรับกับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานรูปสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ซ้อนกันลดหลั่นลงมา ๓ ชั้น รับชั้นมาลัยเถาสามชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กบัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ
รูปแบบของเจดีย์พระธาตุแช่แห้งคาดว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย หากแต่เปลี่ยนชั้นฐาน ปัทม์ย่อเก็จเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลมเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และ ชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยมตกแต่งด้วยกลีบบัว หรือลายใบไม้แทน ลายดังกล่าวนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพล
จากศิลปะพม่าซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลังเมื่อล่วงเข้าพุทธศตวรรษที่ ๒๔ แล้ว
เส้นทางเข้าสู่วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง
.....................จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริม หรือทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ ประมาณ ๒ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
..........................ในหนังสือพงศาวดารเมืองน่านได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุแช่แห้งว่าสร้างในสมัยพระยาการเมือง เป็นเจ้าผู้ครองนคร ระหว่าง พ.ศ.๑๘๖๙-๑๙๐๒ พระองค์ได้เสด็จไปยังเมืองสุโขทัยเพื่อช่วยพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วงในปัจจุบัน) เมื่อการก่อสร้างทั้งมวลแล้วเสร็จบริบูรณ
พระมหาธรรมราชาลิไท ได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์ พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์ทองอันงดงาม ประณีตอย่างละ ๒๐ องค์ ให้กับพระยาการเมือง เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองน่านแล้ว พระองค์ทรงนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลนี้ ประดิษฐานไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง และทรงสร้างพระเจดีย์ครอบไว้ หลังจากนั้นเจ้าผู้ครองนคร
น่านลำดับต่อๆมา ได้ปฏิสังขรณ์และสร้างเสริมหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าศรีสองเมืองได้สร้างเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบองค์เดิมแล้วเสร็จเมื่อปีกุน พ.ศ.๒๑๖๔ เดือนมิถุนายน ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันศุกร์ ยามเที่ยงวัน
ความสำคัญ
.......................... พระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทุกปีจะมีงานเทศกาลนมัสการในวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ(ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) เรียกว่างานประเพณี "หกเป็งไหว้พระบรมธาตุแช่แห้ง" สิ่งสำคัญนอกเหนือ
จากองค์พระบรมธาตุแช่แห้งแล้ว สถาปัตยกรรมของพระวิหารหลวง วิหารพระไสยาสน์และบันไดนาค ล้วนมีคุณค่าอย่างยิ่ง แสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่านได้เป็นอย่างดีประวัติของวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับ เรื่องราวของเมืองน่านตลอดเวลา
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
..........................ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนฐานทำเป็นทรงหน้ากระดานสี่เหลี่ยม ขนาดใหญ่รองรับกับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานรูปสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม ซ้อนกันลดหลั่นลงมา ๓ ชั้น รับชั้นมาลัยเถาสามชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กบัลลังก์ทำเป็นแท่นสี่เหลี่ยมย่อเก็จ
รูปแบบของเจดีย์พระธาตุแช่แห้งคาดว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย หากแต่เปลี่ยนชั้นฐาน ปัทม์ย่อเก็จเป็นฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ฐานหน้ากระดานกลมเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม และ ชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยมตกแต่งด้วยกลีบบัว หรือลายใบไม้แทน ลายดังกล่าวนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพล
จากศิลปะพม่าซึ่งนำมาต่อเติมขึ้นภายหลังเมื่อล่วงเข้าพุทธศตวรรษที่ ๒๔ แล้ว
เส้นทางเข้าสู่วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง
.....................จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่านไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริม หรือทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ ประมาณ ๒ กิโลเมตร
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love. _/|\_
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always beloved. _/|\_