วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อนัตตลักขณสูตร (แปล)

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

อนัตตลักขณสูตร

        เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน
มิคะทะเย , ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ , รูปัง ภิกขะ
เว อนัตตา, รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ , นะยิทัง รูปัง อาพาธา
ยะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ,
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา ตัสมา รูปัง อาพาธายะสังวัตตะติ, นะ
จะ ลัพภะติ รูเป, เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปังมาอโหสีติ
เวทนา อนัตตา , เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทังเว
ทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ, เอวัง เม เวทะนา โห
ตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ , ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา, ตัส
มา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ, นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ,
เอวัง เมเวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ,
สัญญา อนัตตา , สัญญา จะ หิทังภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ, นะยิทัง
สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ, ลัพเภถะ จะสัญญายะ, เอวัง เม สัญญา โห
ตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ, ยัสมา จ โขภิกขะเว สัญญา อนัตตา, ตัสมา
เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มาอโหสีติ,
สังขารา อนัตตา , สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ, นะ ยิทัง
สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง, ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ, เอวัง เมสังขารา
โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ, ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขาราอนัตตา
ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ. นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ.เอวัง เม
สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ.
วิญญาณังอนัตตา. วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ . นะยิทัง
วิญญาณังอาพาธายะ สังวัตเตยยะ. ลัพเภถะ จะ วิญญาเน. เอวัง เม วิญญา
นัง โหตุ เอวังเม วิญญานัง มา อโหสีติ. ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง
อนัตตา. ตัสมาวิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ. นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน.
เอวัง เม วิญญาณังโหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ.
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ. อนิจจัง ภันเต. ยัมปะนา
นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนา นิจจัง ทุกขังวิปะริณา
มะธัมมัง. กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง. เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิเอโส เม
อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว เวทะนานิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต. ยัง
ปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขังวาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะ
ริณามะธัมมัง. กัลลัง นุตัง สะมะนุปัสสิตุง . เอตัง มะมะ เอโส หมัสมิ เอโส
เม อัตตาติ. โน เหตังภันเต.
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต.ยัมปะ
นานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภัน เต . ยัมปะนานิจจังทุกขัง วิปะริ
ณามะธัมมัง. กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง. เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเวสังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ. อนิจจา ภันเต. ยัม
ปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตังสุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต. ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิปะริ
ณามะธัมมัง.กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง . เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
อัตตาติ. โนเหตะง ภันเต.
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ.อนิจจัง ภันเต.
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ. ทุกขัง ภันเต.ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วิ
ปะริณามะธัมมัง. กัลลังนุตังสะมะนุปัสสิตุง. เอตังมะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม
อัตตาติ. โน เหตัง ภันเต.
ตัสมาติหะ ภิกขะเว ยังกิญจิ รูปัง อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง. อัชฌัตตัง วา
พหิทธา วา. โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา. หีนัง วา ปณีตัง วา. ยันทูเร สันติเกวา.
สัพพัง รูปัง. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตังยะถาภู
ตัง . สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ยากาจิ เวทะนาอตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา.หีนา วา ปณีตา วา. ยันทูเร สันติเก วา.
สัพพา เวทะนา. เนตัง มะมะเนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
ภูตัง . สัมมัปปัญญายะทัฏฐัพพัง
ยากาจิ สัญญา อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา. หีนา วา ปณีตา วา. ยันทูเร สันติเก วา.
สัพพา สัญญา. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
ภูตัง . สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
เยเกจิ สังขาราอตีตานาคะตะปัจจุปปันนา. อัชฌัตตา วา
พหิทธา วา. โอฬาริกา วา สุขุมา วา.หีนา วา ปณีตา วา. เยทูเร สันติเก วา.
สัพเพ สังขารา. เนตัง มะมะเนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ. เอวะ เมตัง ยะถา
ภูตัง . สัมมัปปัญญายะทัฏฐัพพัง
ยังกิญจิ วิญญาณัง อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง. อัชฌัตตัง วาพะหิทธา วา .
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา. หีนัง วา ปณีตัง วา . ยันทูเรสันติเก วา . สัพพัง
วิญญาณัง. เนตัง มะมะ เนโสหะมัสมิ นะ เมโส อัตตาติ.เอวะเมตัง ยะถาภูตัง
สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง.
เอวังปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก. รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ. เว
ทะนายะปิ นิพพินนะติ. สัญญายะปิ นิพพินทะติ. สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ.
วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ. นิพพินทัง วิรัชชะติ. วิราคา วิมุจจะติ.
วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ. ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง.
กะตัง กะระณียัง. นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา.
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.
อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน.
ปัญจะวัคคิยานังภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
        รูปเป็นอนัตตา ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
        เวทนาเป็นอนัตตา ถ้าเวทนานี้จักไปนอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่ เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
        สัญญาเป็นอนัตตา ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
        สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าสังขารนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้หลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
        วิญญาณเป็นอนัตตา ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อม ไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
        พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
        ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
        ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
        ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
        ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
        ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
        ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
        ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
        แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตนของเรา
        ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน
วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
        ปัญจวัคคีย์ เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า
        พระบรมศาสดา ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา
        ปัญจวัคคีย์ ข้อนั้นไม่ควรเลยพระพุทธเจ้าข้า
        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
        รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงพิจารณารูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
        เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็ตแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
        สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
        สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงพิจารณาสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
        วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงพิจารณาวิญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
        ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟัง ได้พิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นก็ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
        พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจบไวยากรณภาษิตนี้ จิตของปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุ ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดดำรงอยู่ในพระอรหัต
        ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว ๖ องค์

บทสวดมนต์แปล - อาทิตตปริยายสูตร
บทสวดมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป
อาทิตตปริยายสูตร
 เอวัมเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้,
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า, เสด็จประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคะยา, สัทธิง ภิกขุ สะหัสเสนะ, พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูป,
ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลาย, ให้ตั้งใจสดับพุทธภาษิตนี้ว่า,

สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,
กิญจะ ภิกขะเว สังพัง อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,

จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุ (คือตา) เป็นของร้อน, รูปา อาทิตตา, รูปทั้งหลายเป็นของร้อน,
จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, จักขุวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางตาเป็นของร้อน, จักขุสัมผัสโส อาทิตโต, จักขุสัมผัส คือ สัมผัสทางตาเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตา เป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน
 โสตัง อาทิตตัง, โสตะ คือหูเป็นของร้อน, สัททา อาทิตตา, เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน,
โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง, โสตวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางหูเป็นของร้อน, โสตะสัมผัสโส อาทิตโต, โสตสัมผัส คือสัมผัสทางหูเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหู เป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน

ฆานัง อาทิตตัง, ฆานะ คือจมูกเป็นของร้อน, คัณธา อาทิตตา, กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน,
ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง, ฆานวิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ทางจมูกเป็นของร้อน, ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต, ฆานสัมผัส คือสัมผัสทางจมูกเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน
 ชิวหา อาทิตตา, ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน, ระสา อาทิตตา, รสทั้งหลายเป็นของร้อน,
ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง, ชิวหาวิญญาณ คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ทางลิ้นเป็นของร้อน, ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต, ชิวหาสัมผัส คือสัมผัสทางลิ้นเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน
 กาโย อาทิตโต, กายเป็นของร้อน, โผฏฐัพพา อาทิตตา, โผฏฐัพพะ (คือสิ่งที่ถูกต้องทางกาย) เป็นของร้อน,
กายะวิญญาณัง อาทิตตัง, กายวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางกายเป็นของร้อน, กายะสัมผัสโส อาทิตโต, กายสัมผัส คือสัมผัสทางกายเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน
 มะโน อาทิตโต, มนะ (คือใจ) เป็นของร้อน, ธัมมา อาทิตตา, ธรรมทั้งหลาย (คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ) เป็นของร้อน,
มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง, มโนวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางใจ เป็นของร้อน, มะโนสัมผัสโส อาทิตโต, มโนสัมผัส คือสัมผัสทางใจเป็นของร้อน,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,
ตัมปิ อาทิตตัง, แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน, เกนะ อาทิตตัง, ร้อนเพราะอะไร,
อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา, ร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ,
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ, ร้อนเพราะความเกิด ความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ, ร้อนเพราะความโศก ความร่ำไรรำพัน, ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ, ความคับแค้นใจทั้งหลาย, อาทิตตันติ วะทามิ, เราจึงกล่าวว่านี้เป็นของร้อน
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวกผู้ได้สดับมาแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้,

จักขุสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุคือตา, รูเปสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูปทั้งหลาย, จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักขุวิญญาณ คือความรู้อารมณ์ทางตา, จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตา,
ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส, คือสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขังวา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,
โสตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตะ (คือหู), สัทเทสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเสียงทั้งหลาย, โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์หู, โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหู,
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัส, คือสัมผัสทางหูเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

ฆานัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะ (คือจมูก) , คันเธสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในกลิ่นทั้งหลาย, ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางจมูก, ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในฆานะสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูก,
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัส, คือสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหา (คือลิ้น), ระเสสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรสทั้งหลาย, ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหาวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางลิ้น, ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้น,
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาสัมผัส, คือสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

กายัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย, โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ, คือสิ่งที่ถูกต้องทางกายทั้งหลาย, กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางกาย, กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกาย,
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัส, คือสัมผัสทางกายเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,
มะนัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ (คือใจ), ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย, มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ, คือความรู้อารมณ์ทางใจ, มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจ,
ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง, เวทนาคือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์นี้, เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส, คือสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย แม้อันใด, สุขัง วา ทุกขัง วา, อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสสะมิงปิ นิพพินทะติ, เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี หรือไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา, คือความรู้สึกเสวยอารมณ์นั้น,

นิพพินทัง วิรัชชะติ, เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด, วิราคา วิมุจจะติ, เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น,
วิมุตตัสสะมิง วิมุตตะมิติ ญานัง โหติ, เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว,
ขีณา ชาติ วุสิตัง พรัหมะจะริยัง, อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า สิ้นชาติแล้ว, พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,
กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ, กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,
อิทะมะโวจะ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, พระภิกษุเหล่านั้น, ก็มีใจยินดีเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,
อิมัสสะมิญจะ ปะนะ เวยยา กะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, ก็แลเมื่อไวยกรณ์ภาษิต, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,
ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อนุปาทายะ, อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ, จิตของพระภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น, ก็พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย, เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน, ดังนี้แล.
คัดลอกและเรียบเรียงจาก
หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา
หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12 ธันวาคม 2555 เวลา 06:31

    ดีมากคะ

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  3. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ