วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พุทธศาสนสุภาษิต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
การทำบุญ 10 แบบ
          การทำบุญในปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่จะคิดกันแต่เพียงว่า เป็นการให้เงิน ซื้อของให้ หรือการให้ของกินของใช้ฯลฯ เพื่อหวังผลในภายภาคหน้า (ชีวิตหลังความตาย )  การเข้าใจเพียงนั้นเป็นเพียงแค่เปลือกนอกเท่านั้น เพราะ จุดประสงค์ของทาน หรือการทำบุญโดยการสละเงิน หรือสิ่งของ ออกจากเรา ก็เพื่อลดอัตตา หรือความเป็นเราออกไป  มิใช่ทำบุญเพื่อสะสมแต้ม ยิ่งทำมากก็สะสมได้มาก ยิ่งบริจาคมาก ก็ได้บุญมาก ฯลฯ
ถ้าเราได้ศึกษาเรื่องของบุญ เราจะพบว่าการทำบุญนั้น มิได้ถูกจำกัดอยู่แค่เรื่องของการทำทานเพียงอย่างเดียว คนจน หรือ คนรวย ก็สามารถทำบุญได้ทั้งนั้น
การทำบุญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมี 10 แบบ หรือเรียกว่า”บุญกิริยาวัตถุ” มีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. “ทานมัย”    -   การทำบุญด้วยการให้เงิน สิ่งของ ความรู้ และหรือ การให้อภัยทาน
๒. “สีลมัย”      -    การทำบุญด้วยการรักษาศีล มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา และใจ
๓. “ภาวนามัย”  -   การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา
๔. “อปจายนมัย” -  การประพฤติตนอ่อนน้อม
๕. “เวยยาวัจจมัย” -  การช่วยเหลือ ขวนขวาย รับใช้
๖. “ปัตติทานมัย”   - การเฉลี่ยความดีให้แก่ผู้อื่น เช่น การบอกบุญ
๗. “ปัตตานุโมทนามัย” -  การแสดงความยินดีเมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นกระทำความดี หรือการอนุโมทนา
๘. “ธัมมัสสวนมัย”    - การฟังธรรม
๙. “ธัมมเทสนามัย”  - การสั่งสอนธรรม,เผยแพร่ธรรมะ
๑๐. “ทิฏฐุขุกัมม์”    -  การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
บุญกิริยาทั้งสิบประการดังกล่าวอาจจัดรวมเป็น ๓ กลุ่มใหญ่คือ ทานมัย สีลมัย และ ภาวนามัย
ขอบขอบคุณข้อมูลจาก
tumtarn.igetweb.com

คำคม : มงคล 38 ประการ
       คำคม : คงไม่มีคำคมใดที่มีคุณค่าไปกว่าคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีเทวดามาถามคำถามว่า “คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ” อันเป็นที่มาของ “มงคลชีวิต 38 ประการ” ที่ใครปฏิบัติตามย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้แก่
มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน
มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา
มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ
มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล
มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก
มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา
มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี
มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ
มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ
ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน
มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง
มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง
มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์
มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย
มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ
มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน
มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี
มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ
มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน
มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย
มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน
มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง
มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย
มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี
มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน
มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร
มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล
มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา
มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี
มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร
มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์
มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล
มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร
มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก
มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ
มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง
มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม
มงคลที่ 38 มีจิตเกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร
หมวดกรรม
  • สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ
    กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
  • สุกรํ สาธุนา สาธุ
    ความดี อันคนดีทำง่าย
  • สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ
    ความดี อันคนชั่วทำยาก
  • ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
    ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
  • น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ     ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
    ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
  • ยาทิสํ วปเต พีชํ     ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ     ปาปการี จ ปาปกํ
    บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
  • นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
    ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
  • รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ     ลวณํ โลณตํ ยถา
    พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
  • นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ
    ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
  • อติสีตํ อติอุณฺห ํ     อติสายมิทํ อหุ อิติ วิสฺฏฺฐกมฺมนฺเต    อตฺถา    อจฺเจนฺติ มาณเว
    ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคน ผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
  • อถ ปาปานิ กมฺมานิ     กรํ พาโล น พุชฺฌติ เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ    อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
    เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
  • โย ปุพฺเพ กรณียานิ     ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว     ส ปจฺฉา อนุตปฺปต
    ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่ม ฉะนั้น
  • สเจ ปุพฺเพกตเหตุ    สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ โปราณกํ กตํ ปาปํ     ตเมโส มุญฺจเต อิณํ
    ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ ฉะนั้น
  • สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ อตฺตโน สุขเมสาโน     เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
    สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
-สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ : การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
-สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ : รสแห่งธรรมะ ย่อมชนะรสทั้งปวง
-ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ : ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
-ชิเน กทริยํ ทาเนน  : พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
-ชยํ เวรํ ปสวติ : ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร
-อสาธํ สาธุนา ชิเน : พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี
-อกฺโกเธน ชิเน โกธํ  : พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
-ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ : ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี
-สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ : ความยินดีในธรรมะ ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
-น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ : อวชิยฺยติ. ความชนะใดที่ชนะแล้ว กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
 ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา
•  บิดามารดาพึงให้บุตรเรียนศิลปวิทยา
•  สรรพวิทยา ควรเรียนรู้ให้หมด
•  ปัญญา ย่อมเกิดเพราะการฝึกฝน
•  ปัญญานั่นแหละ ประเสริฐกว่าทรัพย์
•  ผู้ตั้งใจศึกษา ย่อมได้ปัญญา
•  ปัญญา เปรียบเสมือนเครื่องประดับแห่งตน
•  ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
•  คนโง่ มักตกอยู่ในอำนาจแห่งมาร
•  คนไม่พินิจพิจารณา เป็นคนไม่มีปัญญา
•  แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา นั้นไม่มี
•  คนย่อมเห็นแจ้งเนื้อความอย่างเด่นชัดด้วยปัญญา
•  คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา
•  คนไร้ปัญญา ไม่มีความพินิจพิจารณา
•  ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ดีทั้งนั้น
•  คนมีปัญญา เมื่อถึงคราวตกทุกข์ ก็ยังหาสุขได้
•  คนเรียนน้อย เจริญแต่เนื้อหนังมังสา
•  มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ปราชญ์กล่าวว่าประเสริฐสุด
•  คนเรียนน้อย แก่เปล่า เหมือนโคถึก
•  คนเรียนน้อย ปัญญาย่อมไม่พัฒนา
•  ปัญญาเป็นเครื่องปกครองคน
•  พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
•  ผู้รู้จักประโยชน์แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
•  คนมีปัญญาประเสริฐกว่า คนโง่ที่มียศ
•  ในหมู่มนุษย์ คนที่ประเสริฐ คือคนที่ฝึกแล้ว
•  ความไม่รู้ เป็นมลทินร้ายที่สุด
•  เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
•  บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ
•  คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
•  สักวันหนึ่ง ความรู้ที่เรียนมาจะให้ประโยชน์
•  คนมีปัญญา ถึงไร้ทรัพย์ ก็ยังดำรงอยู่ได้
•  ปราชญ์กล่าวว่าปัญญา ประเสริฐสุด
•  บรรดาความอิ่มทั้งหลาย อิ่มปัญญาประเสริฐสุด
•  ปัญญาเป็นเครื่องตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนมา
•  คนเกียจคร้าน ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา
•  สิ่งที่ควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด
•  บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชาความรู้ประเสริฐสุด
•  ปัญญาช่วยให้รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
•  ความรู้ที่เรียนมา เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
•  การใฝ่ใจศึกษา เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
•  พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
•  บรรดาสิ่งที่โรยราร่วงหายทั้งหลาย ความไม่รู้หมดไปได้เป็นดีที่สุด
•  คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนาที่งอกงามด้วยน้ำฝน
•  อัสดร อาชาไนย สินธพ กุญชร และช้างหลวง ฝึกดีแล้ว ล้วนดีเลิศ แต่คนฝึกตนแล้ว ประเสริฐยิ่งกว่านั้น
•  ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
•  คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
•  เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ แต่ฝึกอบรมด้วยจริยธรรมแล้วต่างหาก จึงจะสบสันติสุข
•  คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียรมีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
•  ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้ ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา บุคคลที่อยู่ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้
•  ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า
•  อันความรู้ ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์
•  คนมีปัญญา แม้มีปัญหา และถูกผูกมัดอยู่ พอพูดในเรื่องใดก็หลุดได้ในเรื่องนั้น
         1.ยํ เว เสวติ ตาทิโสคบคนเช่นไร ย่อมเป็นคนเช่นนั้น
การเลียนแบบพฤติกรรมทางกายวาจาและความคิด
   • คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว (ดี)
   • คบคนชั่วพาตัวอัปรีย์ (อปราชัย) (ชั่ว)
   • คบคนพาล พาลพาไปหาผิด (ชั่ว)
   • คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล (ดี)
   • คบบัณฑิตย่อมได้รับความรู้
   • คบบัณฑิตย่อมนำมาซึ่งความสุข คบคนพาลย่อมก่อให้เกิดแต่ความเดือดร้อน       2. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโสคบคนชั่วนำแต่ความทุกข์มาให้
   • คบชั่วมีพฤติกรรมทางกายไม่ดี (ทำชั่ว)
   • คนชั่วชอบคิดแต่เรื่องไม่ดี (คิดชั่ว)
   • คนมีพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจไม่ดี ย่อมมีแต่ความทุกข์
   • การไปคบคนเช่นนั้น ย่อมมีความทุกข์ไปด้วย การคบชั่ว ไม่เป็นมงคลสำหรับชีวิตเลย
        3. ยถาวาที ตถาการี
พูดอย่างไร ต้องทำอย่างนั้น
   • ฝึกคนให้มีสัจจะ
   • ฝึกคนให้เป็นมนุษย์
   • ฝึกคนให้เป็นผู้นำ
   • ฝึกคนให้เป็นนักปกครอง
   • ฝึกคนให้เป็นตัวอย่างที่ดี
   • ฝึกคนให้ควรค่าแก่การเคารพบูชา ฝึกคนให้เป็นผู้ควรแก่การนับถือ
          4. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
การชนะตนเองเป็นสิ่งดีที่สุด
   • การบังคับใจตนเองได้
   • มิให้คิดชั่วโลภอยากได้ของผู้อื่น
   • มิให้พยายามมุ่งร้ายผู้อื่น
   • มิให้มีความเห็นผิดจากธรรม
   • การบังคับกายตนเองได้
   • มิให้กายไปฆ่าสัตว์ ทำร้ายผู้อื่น
   • มิให้กายไปลักขโมยของผู้อื่น
   • มิให้กายไปทำผิดประเวณี ล่วงละเมิดสามี ภรรยา ลูกหลานของผู้อื่น
   • การบังคับวาจา ตนเองได้
   • มิให้พูดเท็จ -มิให้พูดหยาบคาย มิให้พูดส่อเสียด ทำให้ผู้อื่นเจ็บใจ
          5. อตฺตตฺปญฺญา อสุจี มนุสฺสา
มนุษย์ผู้เห็นแก่ตัว เป็นคนสกปรก
   • ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่
   • ถือประโยชน์พวกพ้องเป็นใหญ่
   • เป็นบ่อเกิดการทุจริตทุกประเภท
   • ทำให้สังคมเกิดความไม่ยุติธรรม
   • ทำให้สังคมส่วนรวมอยู่ไม่สงบสุข
   • ทำให้ประเทศชาติไม่เจริญ
   • เป็นที่ติฉันนินทาของคนทั่วไป ผู้เป็นเช่นนี้ย่อมอยู่ไม่เป็นสุขตลอดชีวิต
          6. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
   • ไม่ตายจากคุณงามความดี
   • สามารถรักษาความดีทางกายไว้ได้
   • สามารถรักษาความดีทางวาจาไว้ได้
   • สามารถรักษาความดีทางใจไว้ได้
   • สรุปว่า ดำรงความดีทางธรรมไว้ได้
   • ไม่ตายจริง (สามารถรักษาชีวิตให้ยืนยาวไว้ได้)
   • ผู้ไม่ประมาทย่อมมีชีวิตยืนยาว
   • ผู้ไม่ประมาทย่อมเจริญก้าวหน้าในชีวิต
   • ผู้ไม่ประมาทย่อมเจริญในหน้าที่การงาน ผู้ไม่ประมาทย่อมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข          7. สุกรํ สาธุนา สาธุความดี อันคนดีทำได้ง่าย
   • คนดี ทำความดีเป็นเรื่องปกติ คนดี ย่อมมี
   • ความคิดที่ดี
   • คนดี ย่อมมีการกระทำที่ดี
   • คนดี ย่อมมีการใช้วาจาที่ดี (ใช้คำพูดถูกต้องตามกาลเทศะเสมอ)
   • คนดี ย่อมมีหน้าตาที่ผ่องใส
   • คนดี ย่อมมีอารมณ์เบิกบาน
   • คนดี ย่อมมีความสุขุมในการแสดงออก คนดี ย่อมสามารถควบคุมการแสดงออกทางกาย วาจา และใจของตนเองได้
          8. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
   • ความโกรธฝังอยู่ในใจส่วนลึก
   • ความโกรธคุกกรุ่นอยู่ในใจทำให้เป็นสุข
   • ความโกรธทำให้จิตใจเร่าร้อนอยู่ไม่เป็นสุข
   • ความโกรธเผาผลาญจิตใจให้ร้อน
   • ความโกรธแสดงออกได้ทางกาย
   • ความโกรธแสงออกได้ทางวาจา
          9. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้
ถ้าแต่ละคนฝึกจิตดีแล้ว สังคมโลกย่อมอยู่เป็นสุข
   • จิตนั้นต้องฝึกด้วยสมาธิ
   • จิตนั้นต้องฝึกด้วยขันติ
   • จิตนั้นต้องใช้ปัญญาควบคุม
   • คนมีจิตใจฝึกดีแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
   • มีกายที่ฝึกดีแล้ว (ศีล ข้อ 1-3,4)
   • มีวาจาที่ฝึกดีแล้ว (ศีลข้อ 4)
   • มีจิตใจที่ฝึกดีแล้ว (มีสมาธิ มีสติ)
   • คนที่มีจิตใจฝึกดีแล้ว ย่อมทำให้ตนเองเป็นสุข
   • ตนเองเป็นสุข คนที่ฝึกจิตใจดีแล้ว ย่อมทำให้สังคมส่วนรวมอยู่เป็นสุข          10. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติการให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง
การให้ทรัพย์สินเงินทอง ย่อมหมดไปแต่การให้ความรู้ การอบรมสั่งสอน (ธรรมะ) ย่อมติดตัวตลอดไป
   • การให้ทรัพย์สินเงินทองย่อมมีวันหมดไป
   • การให้คำแนะนำที่ดี
   • การให้คำปรึกษาที่ดี
   • การอบรมสั่งสอนที่ดี
   • การทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี
   • การให้ความรู้ (ครู) ที่ดี
   • การให้ความอบอุ่นที่ดี การให้การดูแลที่ดี

หมวดคบหา
ปสนฺนํ ปยิรุปา เสยฺย รหทํวุทกตฺถิโก
ปะสันนังปะยิรุปาเสยยะระหะทังวุทะกัดถิโก
ควรเข้าไปนั่งใกล้ผู้เลื่อมใส เหมือนผู้ต้องการน้ำเข้าไปหาห้วงน้ำฉะนั้น

ปสนฺนเมว เสเวยฺย อปฺปสนฺนํ วิวชฺชเย
ปะสันนะเมวะเสเวยยะอุบปะสันนังวิวัดชะเย
บุคคลควรคบผู้เลื่อมใสเท่านั้น ควรเว้นผู้ไม่เลื่อมใส

สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
สะขิตังหิกะเรยยะปันฑิโทสับปุริเสหิสังคะโม
มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ

สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สันเธนจะเปสะเลนะจะปัญยะวะตาพะหุสสุเตนจะ
บัณฑิตพึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก

กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
กุสาปิปูติวายันติเอวังพาลูปเสวะนา
แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น

ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
ปูติมะฉังกุสัคเคนโยนะโรอุปะนะยะหะติ
คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา

ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
ปัดตาปิสุระภีวายันติเอวังทีรูปเสวะนา
แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น

ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ตะคะรังปะลาเสนโยนะโรอุปะนะยะหะติ
คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้

นาสฺมเส อตฺตตฺถปญญมฺหิ
นาสัมเสอัดตะถะปัญญัมหิ
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว

นาสฺมเส กตปาปมฺหิ
นาสัมเสกะตะปาปัมหิ
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป

มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส
มิดตัดมิมปินะวิดสะเส
แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ

สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ
สังเกเถวะอะมิดตัดมิ
ควรระแวงในศัตรู

น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
นะปาปะชนสังเสวีอัดจันตะสุขเมธะติ
ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว

สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม
สุโขหะเวสับปุริเสนสังคะโม
สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้

ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม
ทุกโขพาเลหิสังคะโม
สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี
นิหียะติปุริโสนิหีนะเสวี
ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง

ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
ทีโรจะสุขสังวาโสญาตีนังวะสมาคะโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ

ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา
ทุกโขพาเลหิสังวาโสอะมิเตเนวะสับพะทา
อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู

ยํ เว เสวติ ตาทิโส
ยังเวเสวะติตาทิโส
คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น

อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย
อะติจิรังนิวาเสนปิโยภะวะติอับปิโย
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย

วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
วิดสาสาภะยะมันเวติ
เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา

ความประมาท
-อปฺปมตฺตา น มียนฺติ     ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
-อปฺปมาทรตา โหถ
   ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
-อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ     บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
-อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ
   บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
-อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต    ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
-อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ     ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
-อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา สญฺโญชนํ อณํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
   ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
-อปฺปมาทรโต ภิกขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา อภพฺโพ ปริหานาย นิพพานสฺเสว สนฺติเก
   ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือ เห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
-อวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ
   ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วไปเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
-อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ    ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
•  ความประมาท เป็นทางแห่ง ความตาย
•  ความประมาท บัณฑิต ติเตียนทุกเมื่อ
•  ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
•  ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
•  ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
•  อย่ามัวประกอบความประมาท
•  คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
•  คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
•  ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
•  ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
•  เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
•  คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
•  หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น
•  ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินควรแก่กาล



หมวดความรัก
๑. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ
โยคสฺมิญฺจ อโยชนํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี
ปิเหตตฺตานุโยคินํ
พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม
ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม
ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ติดอยู่ในปิยารมณ์
คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาผู้ที่พยายามช่วยตัวเอง
Exerting oneself in what should be shunned,
Not exerting where one should exert,
Rejecting the good and grasping at the pleasant,
One comes to envy those who exert themselves.
๒. มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ
อปฺปิเยหิ กุทาจนํ
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ
อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ
อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
Be not attached to the beloved
And never with the unbeloved.
Not to meet the beloved is painful
As also to meet with the unbeloved.
๓. ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ
ปิยาปาโย หิ ปาปโก
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ
เยสํ นตฺถิ ปิยาปิยํ
เพราะฉะนั้น ไม่ควรรักสิ่งใด
เพราะพลัดพรากจากของรัก เป็นทุกข์
ผู้ที่หมดความรักและความไม่รักแล้ว
เครื่องผูกพัน ก็พลอยหมดไปด้วย
Therefore hold nothing dear,
For separation from the beloved is painful.
There are no bonds for those
To whom nothing is dear or not dear.
๔. ปิยโต ชายเต โสโก
ปิยโต ชายเต ภยํ
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี
From the beloved springs grief,
From the beloved springs fear;
For him who is free from the beloved
There is neither grief nor fear.
๕. เปมโต ชายเต โสโก
เปมโต ชายเต ภยํ
เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความรักเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี
From love springs grief,
From love spring fear;
For him who is free from love
There is neither grief nor fear.
๖. รติยา ชายเต โสโก
รติยา ชายเต ภยํ
รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความยินดีเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี
From attachment springs grief,
From attachment sprighs fear;
For him who is free from attachment
There is neither grief nor fear.
๗. กามโต ชายเต โสโก
กามโต ชายเต ภยํ
กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความใคร่เสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี
From lust springs grief,
From lust springs fear;
For him who is free from lust
There is neither grief nor fear.
๘. ตณฺหาย ชายเต โสโก
ตณฺหาย ชายเต ภยํ
ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ
ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความทะยานอยากเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี
From craving springs grief,
From craving springs fear;
For him who is free from craving
There is neither grief no fear.
๙. สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ
ธมฺมฏฺฐํ สจฺจวาทินํ
อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ
ตํ ชโน กุรุเต ปิยํ
ผู้ประพฤติดี มีความเห็นถูกต้อง
มั่นอยู่ในคลองธรรม พูดคำสัตย์
ปฏิบัติหน้าที่ของคนสมบูรณ์
คนย่อมเทิดทูนด้วยความรัก
He who is perfect in virtue and insight,
Is established in the Dharma;
Who speaks the truth and fulfills his won duty-
Him do people hold dear.
๑๐. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต
มนสา จ ผุโฏ สิยา
กาเมสุ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ
พระอนาคามีผู้ใฝ่พระนิพพาน
สัมผัสผ่านผลสามด้วยใจ
หมดปฏิพัทธ์รักใคร่ในกาม
จึงได้สมญานามว่า “ผู้ทวนกระแส”
He who has developed a wish for Nibbana,
He whose mind is thrilled 9with the Three Fruits),
He whose mind is not bound by sensual pleasures,
Such a person is called ‘Upstream-bound One”.
๑๑. จิรปฺปวาสึ ปุริสํ
ทูรโต โสตฺถิมคตํ
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ
อภินนฺทนฺติ อาคตํ
บุรษผู้จากไปนาน
เมื่อกลับมาจากไพรัชสถานโดยสวัสดี
ญาติ และมิตรสหายย่อมยินดีต้อนรับ
After a long absence
A man returns home
Safe and sound from afar,
Kinsmen and friends gladly welcome him.
๑๒. ตเถว กตปุญฺญมฺปิ
อสฺมา โลกา ปรํ คตํ
ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ
ปิยํ ญาตึว อาคตํ
บุญที่ได้ทำไว้ในโลกนี้
ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป
เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล
ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ
Likewise, good deeds well receive the doer
Who has gone from here to the next world,
As kinsmen receive a dear friend on his return.



หมวดความสุข
-สุสุขํ วต ชีวาม เวริเนสุ อเวริโน เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อเวริโน
     ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน พวกเราไม่จองเวรใคร ช่างอยู่สบายจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร
-สุสุขํ วต ชีวาม อาตุเรสุ อนาตุรา อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนาตุรา
     ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส พวกเราหมดกิเลสแล้ว ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส
-สุสุขํ วต ชีวาม อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนุสฺสุกา
     ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย พวกเราไม่กระวนกระวาย ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย
-สุสุขํ วต ชีวาม เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม เทวา อาภสฺสรา ยถา
     พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม
-ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต ชยปราชยํ
     ผู้แพ้ย่อมก่อเวร ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข
-นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
     ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ
-ปวิเวกรสํ ปิตฺวา รสํ อุปสมสฺส จ นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรสํ ปิวํ
     เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก และรสพระนิพพานอันสงบ ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน
-สาธุ ทสฺสนมริยานํ สนฺนิวาโส สทา สุโข อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ
     การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้ คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์
-พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทาธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
     เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์ เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข เหมือนสมาคมของญาติ
- ตสฺมา หิ ธีรญฺจ ปญญญฺจ พหุสฺสุตญจ โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา
     เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์
•  ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้
•  ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
•  ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
•  ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
•  การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้
•  ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข
•  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
•  จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
•  ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
•  การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย
•  ความดี โจรลักไม่ได้
•  คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
•  บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
•  ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า
•  ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า
•  อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว
•  สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
•  ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
•  ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
•  ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข
•  ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
•  เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
•  ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
•  กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
•  การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
•  ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
•  การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
•  ความดี คนชั่ว ทำยาก
•  ความดี คนดี ทำง่าย
•  ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข
•  ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข
•  การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
•  ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย
•  เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
•  ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ
•  ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร
•  กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
•  ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
•  ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
•  อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์
•  ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
•  ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
•  ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี
•  การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
•  พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
•  การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
•  คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
•  ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร
•  บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
•  บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง
•  ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
•  บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก
•  บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก
•  พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม


อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
อารัดทะวิริโยปะหิดตะโตโอฆังตะระติทุดตะรัง
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
สับพะทาสีละสัมปันโนปัญยะวาสุสะมาหิโต
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว

อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทธานุสาสนี
อารัดทะวิริยาโหถะเอสาพุดทานุสาสะนี
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี

โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
โกสัดชังภะยะโตทิดวาวิริยารัมภะจะเขมะโต
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
เอกาหังชีวิตังเสยโยวิริยังอาระภะโตทับหัง
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
โยจะวัดสะตังชีเวกุสีโตหีนะวีริโย
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี

สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ
สัมกับเปติชีวิตังสมภะตังอะนุรักขะติ
เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้

อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา
อุดฐาตากัมมะเธยเยสุอับปะมัดโตวิธานะวา
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท

สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุอคคึว สนฺธมํ
สะมุดฐาเปติอัดตานังอะนุอะคะคึวะสันทะมัง
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
อับปะเกนปิปาภะเฏนวิจักขะโน
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย

หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ
หิยุโยติหิยะติโปโสปะเรติปะริหายะติ
คนที่ผลัดวันประกันพรุ่งย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ยิ่งเสื่อม

น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
นะนิบพินทิยะการิสะสัมมะทัดโถวิปักจะติ
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
ปะติรูปการีทุระวาอุดทาตาวินทะเตทะนัง
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
วิริเยนทุขะมักเจติ
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ
กาลาคะตันจะนะหาเปติอัดถัง
คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
fungdham.com



พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดความโกรธ

e0b89ee0b8a3e0b8b03


  • โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท : พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
  • โกโธ สตฺถมลํ โลเก : ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
  • โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ : ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
  • โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท : พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
  • โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ : ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
  • ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ : ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
  • อนตฺถชนโน โกโธ : ความโกรธก่อความพินาศ
  • ทุกฺขํ สยติ โกธโน : คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  • อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช : ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
  • ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ : ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
  • อนตฺถชนโน โกโธ : ความโกรธ ก่อความพินาศ
  • โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ : ฆ่าความโกรธได้อยู่เป็นสุข
  • โกธาภิภูโต  กุสลํ  ชหาติ : ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมสละกุศลเสีย
  • กุทฺโธ  ธมฺมํ  น  ปสฺสติ : ผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม
  • โกธชาโต  ปราภโว : ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ชิบหาย
- ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
-  พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
-  ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
-  ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว (เพราะความโกรธได้เข้าพำนักหมดสิ้นแล้ว)
- ความโกรธย่อมทำจิตให้กำเริบ
-  ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ
-  ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม
-  ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
-  พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
-  ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
-  ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์
-  ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย
-  คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง
-  ผู้มืนเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
-  ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อนั้น
-  ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
-  ความโกรธก่อความพินาศ
-  ฆ่าความโกรธได้ ไม่โศกเศร้า
-  คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
-  โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน
-  ความโกรธน้อยแล้วมาก มักเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
-  ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี
-  ความโกรธไม่ดีเลย
-  อย่าลุแก่อำนาจความโกรธ
-  ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
-  ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
-  ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
-  คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์

ปุญญวรรค - หมวดบุญ
     -ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ      
บุญอันโจรนำไปไม่ได้
     -ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ      
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต 

     -สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย      
ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ 

     -ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ     ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า 

     -อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ     กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ     ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น 

     -ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา     กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ     สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้ 

     -มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส      น มตฺตํ อาคมิสฺสติ อุทพินฺทุนิปาเตน     อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส     โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น 

     -สหาโย อตฺถชาตสฺส     โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ สยํ กตานิ ปุญฺญานิ     ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ





หมวดวาจา

สจฺ จํ เว อมตา วาจา
สัจจังเวอะมะตาวาจา
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย 
วิจินาติ มุเขน โส กลี กลินา เตน สุขํ น วินทติ
วิจินาติมุเขนโสกะลีกะลินาเตนะสุขังนะวินะทะติ
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น

โย นินฺทิยํ ปสํสติ ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
โยนินทิยังปะสังสะติตังวานินทะติโยปะสังสิโย
ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ

นาติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย
นาติเวลังปะภาเสยยะนะตุนะหีสับพะทาสิยาอะวิกินมิตังวาจังปัดเตกาเลอุทีริเย
ไม่ควรูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ตะเมวะวาจังภาเสยยายัดตานังนะตาปะเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
สังโวหาเรนะโสเจยยังเวทิตับพัง
ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ

ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา
ทุดทะสะผะรุสาวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบ

มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
มุดวาตับปะติปาปิกัง
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน

หทยสฺส สทิสี วาจา
หะทะยัดสะสะทิสีวาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
โมกะโขกันละยานิยาสาธุ
เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ

หมวดอดทน
ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ ขนฺติพลสฺสูปสมนฺติ เวรา
ยังขันติมาสับปุริโสละเภถะขันติพลสะสูปะสะมันติเวรา
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ

นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
นะเหตะมัดถังมะหะตีปิเสนาสะราชิกายุชัฌมานาละเภถะ
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้

น เจว ขนฺติ โสรจฺจํ นปิ โส ปรินิพฺพุโต
นะเจวะขันติโสรัจจังนะปิปะรินิดพุโต
จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี ย่อมไม่มีเพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ)

น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
นะสุดทิเสจะเนนะอัดทินะปิเกวะลีพราหมโน
ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี ขันติและโสรัจจะก็ดี

ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ ขนฺติ หิตสุขาวหา
ขันติพะลังยะตีนังขันติหิตะสุขาวะหา
ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้

ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ขันติทีระสะลังกาโรขันติตะโปตะปัสสิโน
ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร

สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต
สับเพปิกุสะลาขันตะยาเยวะวัดทุถัมติเต
กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น

สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติ ปธานการณํ
สีลสะมาธิคุนานังขันติปะธานะการนัง
ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ

ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก
ปะระมายะจะปูชายะชินังปูเชติขันติโก
และผู้มีขันติ ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง

สตฺถุโน วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
สัดถุโนวะจะโนวาทังโรติเยวะขันติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา

ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ปิโยเทวะมะนุดสานังมะนาโปโหติขันติโก
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ขันติโกเมตะวาลาภียะสะสีสุขะสีละวา
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ

ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
คะระหะกะละหาทีนังมูลังขันติโก
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได

เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
เกวะลานังปิปาปานังขันติมูลังนิกันตะติ
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น

สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
สัคคะโมกขะคะมังมัคคังอารุฬโหโหติขันติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
อัดตะโนปิปะเรสัดจะอัตถาวะโหวะขันติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ