วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มรรค๘

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา




มรรค คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ4 (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค)
โดยมีรายละเอียดดังนี้

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] 1. สัมมาทิฏฐิ

        คือ ปัญญาเห็นชอบ มีศรัทธาที่ถูกทาง คือการมีความเห็นไม่ผิด เป็นมูลฐานที่ต้องถึงก่อนมรรคอื่น เป็นเหมือนประตูแรกที่เปิดเข้าสู่แหล่งปรารถนา โลกนี้มีลักษณะเหมือนคุกมืด ผู้อาศัยอยู่ในโลกมีภาวะเหมือนนักโทษในคุกนั้น ภายในคุกนั้นมีแต่ความมืด ไม่มีแสงสว่างส่องเข้าไป นักโทษไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดได้ นักโทษนั้นไม่ใช่เพียงเป็นผู้บอดอยู่ในความมืดสิ้นกาลนานเท่านั้น ในขณะบอดนั้น ยังเป็นผู้สงสัยว่า ไม่มีทางรู้ว่าสิ่งใดอยู่ในที่ใด การจะยังความสว่างให้เกิดขึ้นท่ามกลางความมืดนั้น ก็มีอยู่แก่ใจของนักโทษนั้นๆ อย่างเดียว ใจเป็นเครื่องมืออันเดียวจะช่วยให้เห็นความสว่างภายในคุกมืดได้ทุกประการ นักโทษยังไม่หมดหวังที่จะได้พบแสงสว่างภายในคุกมืดได้ฉันใด บุคคลทั้งหลายย่อมมีภาวะเช่นเดียวกัน ใจของเขาเองจะเป็นเครื่องมือทำลายความมืดที่เขามีอยู่ได้ ความมืดเหล่านี้เรียกว่าอวิชชา ความสว่างที่เป็นเครื่องมือทำลายความมืดเรียกว่า ปัญญา นักโทษภายในคุกมืดก็ดีบุคคลผู้ที่ติดอยู่ในเรือนแห่งชีวิตของตนก็ดี ต้องฝึกใจตนพิจารณาเหตุผลให้ถูกทาง การพิจารณาไม่ถูกทาง ความมืดจะคงอยู่ไม่สูญหาย ชีวิตจะบอด จะหมดอิสระ หากความเห็นถูกเกิดขึ้น ศรัทธาถูกก็จะเกิดตามและในเวลานั้นความมืดในคุกมืดก็จางหาย กลายเป็นแสงสว่าง บุคคลที่รับโทษติดอยู่ในคุกอันมืดแสนมืดแต่วางความคิดตามเหตุผลที่ถูกทาง ความสว่างคือปัญญาจะเกิดขึ้นทำลายอวิชชา คือความไม่รู้ความจริง ไม่รับรู้ความจริงแห่งทุกข์ เสียได้ด้วยประการนี้ สัมมาทิฐิจะเกิดได้ด้วยการละทิ้งเสียซึ่งศรัทธาต่อโอวาทใดๆ ที่พิสูจน์ไม่ได้ตามความจริง สัมมาทิฐิ คือการวางใจให้เป็นอิสระ วางความคิดให้หมดข้อผูกพันกับสิ่งใด

[แก้ไข] 2. สัมมาสังกัปปะ

        คือ ดำริชอบ คือการดำริเพื่อผลอันชอบ ทุกคนมีความมุ่งหมาย มีความใฝ่ฝันเพื่อให้ได้มีได้เป็นในผลต่างๆกัน แต่ต้องมีความหมายเพื่อผลอันชอบ ผลอันชอบนั้น คือผลที่เกิดขึ้นไม่ทำลายประโยชน์ของตนและไม่ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น

[แก้ไข] 3. สัมมาวาจา

        คือ เจรจาชอบ คือการปราศรัยถูกทาง ได้แก่พูดแต่สิ่งที่เป็นจริง ไม่พูดให้ร้ายส่อเสียดใคร เว้นจากการพูดดูหมิ่นผู้ใด ไม่พูดด้วยความโกรธ ไม่ใช้วาจาบิดเบือนให้เข้าใจผิด พูดด้วยวาจาอ่อนหวาน ด้วยเมตตากรุณา พูดให้มีจุดหมาย ไม่พูดด้วยความเขลา

[แก้ไข] 4. สัมมากัมมันตะ

        คือ ทำการงานชอบ ได้แก่การทำการงานถูกทางให้งานทำงานนั้นเป็นไปเพื่อความสามัคคี ไห้เป็นไปตามแบบแผนอันถูกทาง

[แก้ไข] 5. สัมมาอาชีวะ

คือ เลี้ยงชีพชอบ คือการดำเนินอาชีพถูกทาง บุคคลทุกคนต้องเลี้ยงอาชีพเพื่อให้เป็นอยู่ได้ อาชีพแต่ละอย่างมีทั้งดีและชั่วเลือกกระทำแต่สิ่งไม่เดือดร้อนต่อผู้อื่นและเดือดร้อนตน

[แก้ไข] 6. สัมมาวายามะ

        คือ เพียรชอบ ได้แก่ ความพยายามถูกต้อง รากฐานของความพยายามเบื้องแรก คืออย่าพยายามทำอะไรไปด้วยความไม่รู้จริง ละจากความไม่รู้เสียแล้ว จึงลงมือพยายามทำงาน ความพยายามนั้น จะไม่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน และความไม่ยุติธรรมแก่ผู้ใด

[แก้ไข] 7. สัมมาสติ

        คือ ระลึกชอบ ได้แก่การมีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่า เราจะกระทำอะไร และกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เป็นคนเผลอ การไม่เผลอการรู้ตัวอยู่เป็นนิจเป็นทางให้หลีกได้จากการกระทำความชั่ว

[แก้ไข] 8. สัมมาสมาธิ

คือ ตั้งใจชอบ คือ ความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง เป็นยอดแห่งมรรคทั้งหลาย ด้วยว่าการวางสมาธิ คือ การทำใจให้นิ่งอยู่ได้ จะยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
        คำว่าสมาธิ กับคำว่าสัมมาสมาธิ ผิดกัน สมาธิได้แก่ถือเอาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์นั้น ถ้าจิตจับที่เรื่องร้ายมาเป็นอารมณ์แน่วแน่อยู่ในเรื่องนั้น สมาธินั้น เป็นสมาธิไม่ชอบไม่ถูกตามธรรม ส่วนคำสัมมาสมาธิหมายถึงการยึดเรื่องดีมาเป็นอารมณ์แน่วแน่อยู่ในเรื่องที่เป็นกุศล สมาธินั้นจึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จ
        อริยมรรค 8 คือหนทางแห่งการดำรงชีวิตอย่างรู้แจ้ง มีสติเป็นพี้นฐานด้วยการฝึกสติสามารถพัฒนาสมาธิจิตซึ่งจะช่วยให้บรรลุถึงปัญญา เพราะสัมมาสมาธิจึงสามารถบรรลุถึงสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ ปัญญาความเข้าใจซึ่งพัฒนาขึ้นนั้นสามารถปลดปล่อยตัวเราให้เป็นอิสระจากห่วงทุกห่วงทุกข์และก่อให้เกิดความสงบ ความเบิกบานอย่างแท้จริง

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ