วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติพระอริยสงฆ์๒

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



ประวัติหลวงพ่อพรหมสร ( รอด ) วัดบ้านไพ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา (อ่าน 669/ตอบ 0)
ระวัติหลวงพ่อพรหมสร ( รอด ) วัดบ้านไพ อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  
หลวงพ่อรอด เกิดวันพฤหัสดี เดือน ๘ พ .ศ .๒๔๑๔  บิดาชื่อโข่ เป็นพ่อค้าโค จากจังหวัดอุดรธานี ตอนโคไปขายที่ โคราช  มาพักแรมกลางทางที่บ้านกระถิน ตำบลขามเฒ่า  อำเภอโนนสูง ได้พบรักใคร่กับแม่พูน สาวงามแห่งบ้านกระถิน  แต่ได้อยู่เลี้ยงดูในระยะพักเลี้ยงโคเท่านั้นก็จากแม่พูนไป  อุ้มท้องกับประจวบกับเวลานั้น  ในเวลาช่วงนั้นราษฏรต้องเสียค่าหัวให้หลวง แม่พูนไม่มีเงินเสียค่าหัว หลวงจึงเอาแม่พูนไปทำงานที่โคราช    และไปคลอดบุตรที่บ้านสระขวัญ  เมื่อคลอดแล้ว แม่นีซึ่งเป็นพี่สาวอยู่ที่บ้านกระถิน  ได้มารับเอาเด็กไปเลี้ยง ให้ชื่อว่า " รอด " และก็ให้เป็นคนเลี้ยงโคฝูง  ถึงอายุครบอุปสมบท  ใด้อุปสมบทในปี  พ.ศ. ๒๔๓๖   ที่วัดสะพาน ตำบลขามเฒา โดยมี พระอุปฌาย์อยู่   เป็นพระอุปฌาย์  ท่านได้ศึกษาธรรมะและวิปัสสนาจนแตกฉาน   ท่านถือเอาการธุดงเป็นหลัก พบปะอาจารย์ต่าง ๆ ก็เข้าศึกษาจนแตกฉาน   จากนั้นก็ออกสร้างวัดต่าง ๆ   เช่น
 พ.ศ.  ๒๔๔๓   ท่านได้วัดดอนผวา
พ .ศ.  ๒๔๕๓   ท่านได้สร้างวัดบ้านขามเฒ่า
 พ . ศ. ๒๔๖๗   ท่านได้สร้างวัดหนองเคลือชุด 
พ . ศ   ๒๔๗๐   ท่านได้สร้างวัดบ้านหนองพอง
 พ . ศ .  ๒๔๙๐ ท่านได้สร้างวัดบ้านไพ
จนเห็นว่าในชีวิติของท่าน  สามารถสร้างวัดได้ถึง   ๕  วัด  โดยท่านมิได้มีเงินมีทองเลย  อาศัยว่าฃาวบ้านเกิดศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน  หลวงพ่อพรหมสรมีญาณแก่กล้า  รู้ล่วงหน้า  เช่นรู้ว่าใครจะมาหา  ใครจะไป และมาทำอะไร ท่านมีเมตตาสูงและสร้างวัตถุมงคลได้ดีเลิศ
ด้วยเหตุที่มีคนมาหาท่านมากมาย บ้างก็มาหาเครื่องรางของขลัง หลวงพ่อจึงคิดสร้างวัตถุมงคลขึ้นแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ มีรูปหล่อหลวงพ่อ พระปิดตา เนื้องทองเหลือง ขี้ผึ้ง นางกวักและผ้ายันต์  ผ้ารอยมือ ผ้ารอยเท้าของหลวงพ่อ 
สำหรับเหรียญรูปหลวงพ่อพรหมสรนั้น คุณมนตรี คหบดีชาวลพบุรี   , คุณพิชัยร้านพิชัยจักรยาน  หลวงสรรยุทธ ร้านทองสุวรรณกิจ สร้างให้เหรียญรุ่นแรกรูปไข  ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อมีชื่อว่า หลวงพ่อพรหมสร  ( รอด ) ด้านหลังเป็นยันต์นะทระหด  ไม่มี พ. ศ .บอกแต่รู้กันว่าสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๒   เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ  อำเภอโนนสูง  เหรียญรุ่นสอง  สร้างคร้ายกันแต่แกะบล็อกใหม่ สร้างในราวปี  พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๔๙๙ ที่วัดดอนผวา เหรียญรุ่นสุดท้ายสร้างที่วัดนุก แจกในงานศพหลวงพ่อ
ตลอดอายุของหลวงพ่อ  ท่านเป็นนักพัฒนาสร้างวัดให้ลูกหลานได้บวชเรียน  หลวงพ่อได้รับสมณศักดิ์เป็นพระพรหมสร  ตำแหน่ง เจ้าคณะตำบล ในปีพ.ศ. ๒๔๕๘  แต่ท่านไม่ได้ยินดียินร้าย ท่านกลับลาออกในปีเดียวกัน  หลวงพ่อมีจิตใจแน่วแน่เรื่องสร้างวัด ดำจะต้องวัดอีก แต่ยังไม่ได้สร้างวัดอื่นต่อ ท่านก็อาพาธ หลังจากสร้างโบสถ์วัดนุก ในปีพ.ศ. ๒๔๙๘และมรณะภาพในวันที่ ๒๘ เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๐๐ รวมอายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๕



วัดบ้านไพ ตั้งอยู่ที่ ต.ขามเฒ่า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ผู้ที่สร้างวัดนี้ก็คือนายขำรอด พระพรหม เมื่อปี พ.ศ.2476 ซึ่งวัดตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ เนื่องจากในหมู่บ้านมีต้นไม้ชื่อต้นไพอยู่เป็นจำนวนมาก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พระครูพรหมสร (รอด) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้
ข่าวพระเครื่องหลวงปู่รอด ท่านเกิดปี พ.ศ.2414 โยมบิดาชื่อ ไข่ โยมมารดาชื่อ พูน หลวงปู่รอดท่านอุปสมบทในปี พ.ศ.2436 ที่วัดสะพาน ตำบลขามเฒ่า โดยมีพระอุปัช ฌาย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์อยู่จน แตกฉาน และท่านก็ถือการธุดงค์เป็นหลัก พบปะกับพระเกจิอาจารย์ต่างๆ จึงได้ศึกษาจากพระอาจารย์นั้นๆ อีก

หลวงปู่รอดท่านได้สร้างวัดไว้ หลายวัดเช่นปี พ.ศ.2443 ท่านได้สร้างวัดดอนผวา อ.โนนสูง ปี พ.ศ.2452 สร้างวัดบ้านขามเฒ่า อ.โนน สูง ปี พ.ศ.2457 สร้างวัดบ้านหนองเคลือชุด อ.โนนสูง พ.ศ.2470 สร้างวัดบ้านหนองพลวง อ.โนนสูง พ.ศ.2476 สร้างวัดบ้านไพ อ.โนน สูง พ.ศ.2498 สร้างวัดนุก อ.โนนสูง เป็นต้น หลวงปู่รอดท่านได้สร้างวัดไว้หลายวัดโดยที่ท่านไม่มีเงินเลย แต่ชาวบ้านที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านได้ร่วมกันสร้างทั้งสิ้น หลวงปู่รอดท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ที่เข้ามาขอเลขเด็ดก็มาก ถ้าใครไปหาหลวงปู่และขอเลขจะโดนท่านดุทุกที และท่านก็ไม่ได้ให้หวย แต่คนก็ชอบเอาไปตีกันเอง แล้วกลับถูกเสียด้วย หลายคนร่ำรวยและกลับมาทำบุญช่วยท่านสร้างวัดก็มาก

พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญุ
ประธานสงฆ์วัดไตรสิกขาทลามลตาราม
อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
                         โดย พระมหาสุริยัน จนฺทนาโม
พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ เป็นพระนักปฏิบัติ พระนักเทศน์ พระนักปราชญ์ แห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง ที่ควรศึกษาถึงชีวประวัติและผลงานของท่าน เพราะเป็นพระผู้เสียสละอุทิศตนทำงาน เพื่อพระพุทธศาสนาอย่างจริง ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอ จึงแบ่งการศึกษาชีวประวัติของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ดังนี้
พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ มีนามเดิมว่า สมภพ นามสกุล ยอดหอ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) ณ บ้านแพด ตำบลบ้านแพด โยมบิดาชื่อ จูม นามสกุล ยอดหอ โยมมารดาชื่อ สอน นามสกุล ยอดหอ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ทั้งหมด ๑๒ คน คือ
     ๑. นายสุพจน์ ยอดหอ
     ๒. นางบังเรียน ยอดหอ
     ๓. นายวิจิตร ยอดหอ
     ๔. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
     ๕. พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ
     ๖. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
     ๗. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
     ๘. นางประมวล พันธ์เสนา
     ๙. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
     ๑๐. นายบุญโฮม ยอดหอ
     ๑๑. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)
     ๑๒. ไม่ทราบชื่อ (เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก)


   ครอบครัวของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ มีต้นกำเนิดที่บ้านนาผาง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อครอบครัวประสพกับภาวการณ์หาเลี้ยงชีพที่ขัดสน โยมบิดาและโยมมารดาของท่านจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านวังชมพู ตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
   เป็นที่น่าสังเกตว่าการอพยพครอบครัวมาที่จังหวัดสกลนครนั้นก็เพื่อให้บุตรธิดามีชีวิตที่สดใส คล้ายๆกับเป็นนัยยะว่า บุตรชายจะได้เป็นประทีปธรรมที่ส่องแสงสว่างแก่บุคคลผู้มืดมนในกาลข้างหน้า เมื่อพ่อจูมและแม่สอนได้เล็งเห็นพื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพแล้วจึงได้อพยพครอบครัวมาที่บ้านวังชมพู จนถึงปัจจุบันนี้
   โยมบิดาของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ท่านเป็นผู้มีจิตใจใฝ่ในทางธรรม ปฏิบัติตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น การไปทำบุญตักบาตร รักษาศีล ๕ และอุโบสถศีล ในช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และอุดมการณ์ของพุทธศาสนิกชนที่พึงปฏิบัติ เมื่อท่านเลี้ยงดูบุตรธิดาจนเติบโต สามารถเลี้ยงชีพ ด้วยตนเองได้แล้ว ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้รับนามฉายาว่า "สุจิตฺโต" ซึ่งแปลว่า ผู้มีจิตดี หรือ มีความคิดดี หลวงพ่อจูม สุจิตฺโต ได้ดำเนินชีวิตในเบื้องปลายที่พอเพียงกับสมระวิสัย เป็นคนพูดน้อย สันโดษ ตั้งใจบำเพ็ญกรรมฐานอย่างมุ่งมั่นจนมรณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่วัดนิพเพธพลาราม ตำบลบ้านแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร โดยอยู่ในความดุแลอย่างใกล้ชิดของพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ซึ่งเป็นทั้งประธานสงฆ์และบุตรชาย ก่อนที่หลวงพ่อจูม สุจิตฺโต จะมรณภาพ ท่านได้ทิ้งมรดกธรรมไว้ให้แก่อนุชนได้คบคิดดังนี้
   "ที่สิ้นสุดของกาย คือสิ้นลมหายใจ ที่สิ้นสุดของจิต คือ ตัวเราไม่มี ของเราไม่มี"
   "เมื่อใดพรหมวิหารของเรายังไม่ครบสี่ เมื่อนั้นเรายังวุ่นวายอยู่ เพราะยังวางมันไม่ลง ปลงมันไม่ได้"
   "คนเราเป็นทุกข์ อยู่กับธาตุสี่เพราะยังไม่เห็นธาตุรู้ รู้อย่างเดียวไม่สุข ไม่ทุกข์"
   "จิตนั้นมันคือ (เหมือน) น้าม (น้ำ) น้ามมันชอบไหลลงทางต่ำ ถ้าคนสะหลาด (ฉลาด) กั้นมันไว้ มันก็จะไหลขึ้นที่สูง"
   ส่วนโยมมารดา คือ แม่สอน ยอดหอ ก็ได้ดำเนินชีวิตเฉกเช่นสามีและบุตรชาย มีการทำบุญตักบาตร รักษาศีล ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่โอกาส จนเป็นที่รู้จักของเพื่อบ้านในตำบลแพด จึงถึงปัจจุบัน


ชีวิตก่อนออกบวช
   พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ เมื่อครั้งยังเยาว์วัยเป็นเด็กที่ระลึกชาติได้ เมื่ออายุได้ ๔ ปี ได้รบเร้าบิดามารดาให้พากลับไปยังบ้านเกิดเดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อไปถึงท่านก็ทักทายคนแก่เหมือนกับเป็นรุ่นเดียวกันโดยใช้คำพูดว่า " กู มึง" ทำให้เป็นที่แปลกใจของคนทั่วไป สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าท่านจำเรื่องราวในอดีตได้ คือ ท่านถามถึงเหล็กขอ ที่ใช้บังคับช้างที่ท่านเคยในอดีตและเก็บไว้บนหิ้งพระ ถามใครก็ไม่มีใครรู้ทุกคนจึงบอกให้ท่านค้นหาเองท่านก็เจออยู่ที่เดิมบนหิ้งพระ คนทั่วไปจึงเชื่อว่าท่านระลึกชาติได้เพราะชาติก่อนทางเป็นคนเลี้ยงช้าง

   ครั้นเมื่อเติมโตถึงเกณฑ์เข้าโรงเรียนท่านพระอาจารย์ก็ได้รับการศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ตามยุคของการศึกษาในขณะนั้น เมื่อจบการศึกษาแล้วท่านก็ได้ทำงานช่วยบิดามารดา แล้วท่านก็ได้ไปเป็นนักมวย เพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เพราะการศึกษาในยุคนั้นยังลำบากไม่มีความเจริญด้านสื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษาเหมือนปัจจุบันนี้ ได้รับการศึกษาจบชั้นประถม ๔ ก็นับว่ามีการศึกษาสูงแล้วรัฐไม่ได้บังคับให้ศึกษาดังปัจจุบันนี้ แต่ถึงกระนั้นท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ก็มิได้ย่อท้อได้พยายามพากเพียรจนสามารถนำความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาแค่ชั้นประถม ๔ และประสบการณ์ในชีวิตมาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา


การบรรพชา
   พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่รุ่นทวด เพราะต้นกำเนิดบรรพบุรุษของท่านยึดมั่นในการทำบุญ ปฏิบัติธรรม รักษาศีล เป็นประจำ จึงนับได้ว่าเป็นครอบครัวที่เป็นสัมมาทิฎฐิที่ใฝ่ในการปฏิบัติในครองแห่งสัมมาปฏิบัติ มีความใกล้ชิดและซาบซึ้งในหลักคำสอน ดังนั้น เมื่อท่านพระอาจารย์ จบการศึกษาในระดับประถม ๔ แล้วท่านก็ได้เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าเข้าบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างจริงจัง

   เมื่อสามเณรสมภพ ยอดหอ ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็ได้ศึกษาหลักคำสอนและฝึกหัดปฏิบัติธรรม ศึกษาเล่าเรียนตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษา
   ๑. ท่องบทสวดมนต์ หรือเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน
   ๒. ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
   เมื่อท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้ประมาณ ๓ ปี ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อไปประกอบอาชีพ โดยได้ไปทำงานยังต่างประเทศแถบอัฟริกา ยุโรป แถบตะวันออกกลาง ถึง ๑๓ ประเทศ รับผิดชอบเป็นหัวหน้ารับเหมาก่อสร้างถนน และสนามบินและได้ศึกษาถึงคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสด้วยถึงขั้นอยู่ในระดับแนวหน้า จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวง เมื่อท่านจะเข้าพิธีล้างบาปเพื่อเป็นบาทหลวง ก็เกิดเหตุอัศจรรย์คือน้ำที่จะใช้ในการประกอบพิธีได้เหือดแห้งถึงสามครั้ง ทำให้ท่านได้พิจารณาโดยถ้องแท้ว่าเป็นหนทางที่ไม่ใช่และไม่เหมาะกับกับตนเอง ท่านจึงเริ่มหันชีวิตกลับเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาอีกครั้ง ซึ่งเป็นศาสนาแรกที่ท่านดำเนินรอยตาม จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระไตรปิฎกควบคู่กับการทำงานไปด้วยโดยใช้เวลานานถึง ๑๑ ปี จนเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หลังจากนั้นท่านก็ได้รวบรวมปัจจัยจากค่าจ้างการทำงานมาชื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดบนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ แล้วได้นิมนต์พระสงฆ์ให้มาจำพรรษา แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของท่านท่านเลยตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา เพื่อทำหน้าที่ศาสนทายาทดังปรากฏในปัจจุบันนี้


การอุปสมบท
   เมื่อท่านมีอายุ ๓๖ ปี ก็เกิดความคิดขึ้นว่า การที่เราลงทุนไปสร้างวัดจะให้ได้ประโยชน์มากเราจะต้องบวช ท่านจึงเดินทางกลับสู่มาตุภูมิโดยไปอุปสมบทที่วัดเนินพระเนาว์ จังหวัดหนองคาย ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยมี พระครูภาวนาปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้นามฉายาว่า "โชติปญฺโญ" ซึ่งแปลว่า ผู้มีปัญญาอันโชติช่วงประดุจดวงประทีป

   หลังจากอุปสมบท ก็ได้เข้าปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลา ๑ ปี (ไม่พูดคุยกับใคร นั่งสมาธิ ปฏิบัติกรรมฐานตลอดเวลา) แรกตั่งใจว่าจะปฏิบัติอย่างน้อย ๓ ปี แต่ก็ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์พอครบปี หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ก็ได้เรียกไปแปลธรรมะภาคภาษาอังกฤษ เป็นเล่มเทศน์ให้ชาวต่างชาติฟัง ทีแรกปฏิเสธท่าน ท่านก็ว่า "เรากินข้าวเขาอยู่เด้" ก็เลยต้องปฏิบัติตามหลวงพ่ออย่างขัดไม่ได้ ในช่วงนั้นชาวฝรั่งได้ให้ความสนใจจะปฏิบัติธรรมเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นจำนวนมาก
   ต่อมาชาวไทยก็มีความประสงค์จะฟังธรรมและปฏิบัติธรรมมีจำนวนไม่น้อย เข้าไปหาหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์จะนิมนต์ผมให้แสดงธรรมแก่ชาวไทยบ้าง มีชาวบ้านพูดว่า "พูดกับชาวฝรั่งก็ยังพูดได้ ทำไมไม่สั่งสอนคนไทยบ้าง" ก็เลยขัดศรัทธาญาติโยมไม่ได้ หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ก็ได้รับภาระและธุระในพระพุทธศาสนา ด้วยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพระอุปัชฌาย์ ในสถานที่ต่าง ๆ คือ วัดเนินพระเนาว์ วัดนิเพธพลาราม และวัดไตรสิกขาทลมลตาราม


การปฏิบัติธรรม
    พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ได้เริ่มการประกาศตนเองในการเป็นผู้นำปฏิบัติและเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง ในปี ๒๕๒๙ โดยท่านได้ดำเนินตามรอยพระบาทพระศาสดาอย่างน่าอนุโมทนา ท่านยอมทิ้งความสุข ความสบาย ที่ได้รับอย่างพรั่งพร้อมในชีวิตฆราวาสโดยไม่มีความอาลัยในสิ่งเหล่านั้น หันหลังให้กับโลกที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา อย่างไม่ท้อถอย ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉกเช่น พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสด็จออกหนีจากพระราชวัง เพื่อค้นหาสัจจธรรมท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร


    สำนักแรกที่ท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ได้เริ่มการเผยแผ่ คือ วัดนิเพธพลาราม บนเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ที่ท่านได้มาซื้อไว้ด้วยน้ำพักน้ำแรงจากค่าจ้างในการทำงาน


    ปัจจุบันท่านพระอาจารย์ได้ย้ายออกมาตั้งสถานที่ใหม่ เพื่อให้เหมาะกับการปฏิบัติ โดยห่างจากที่เดิม ๑๐ กิโลเมตร คือ วัด ไตรสิกขาทลามลตาราม บนเนื้อที่ ๓๐๐ - ๔๐๐ ไร่ ด้วยอุดมการณ์ที่ว่า    "เพียงแมกไม้ฉ่ำชื่นในผืนป่า เพียงธาราเจิ่งขังทั้งเย็นใส
    เพียงเสียงสัตว์ เริงร้องก้องพงไพร
    เพียงเพื่อให้ ผองมวลมิตร ใกล้ชิด พุทธธรรม"
   ด้วยเหตุนี้ เองพระอาจารย์จึงได้ตั้งสำนัก ไตรสิกขา ขึ้นโดยการปลูกป่าตามอุดมการณ์เนื้อที่ผืนป่าที่ปลูกแล้วกว่า ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ไร่ ฉ่ำชื่นด้วยผืนป่า แต่ธาราที่เจิ่งขังยังไม่พร้อม ทางคณะสงฆ์จึงเห็นพ้องกันว่าต้องขุดแหล่งน้ำ นำดินที่ขุดขึ้นมากองเป็นภูเขาจำลองปลูกต้นไม้ให้เขียว เป็นภูเขาอันสดชื่น เป็นที่ดุดฟ้าดึงฝน ให้สมกับชื่อที่เป็นภาษาบาลีว่า ไตรสิกขาทลามลตาราม ซึ่งแปลว่า อารามอันทรงไว้ซึ่งความสดชื่น สำหรับผู้บำเพ็ญไตรสิกขา(ศีล สมาธิ ปัญญา)ภาพภูเขาลูกย่อมๆอันเขียวสดชื่น ท่ามกลางความแห้งแล้งแห่งภาคอีสานประดับประดาไปด้วยภาพ สระโบกขรณีนทีธาร พร้อมทั้งอุทยานอันชื่นใจ แมกไม้และผืนน้ำที่แผ่ล้อมลูกภูเขาพรั่งพร้อมไปด้วยปทุมชาติ อันมายมากหลากสีบนผิวน้ำ ท่ามกลางสายลม แสงแดด ณ ภูมิภาคแห่งนี้จะเป็นเสมือนขุมทรัพย์กลางทะเลทราย จากพื้นดินถิ่นที่แห้งแล้งลำเค็ญ อาจกลายเป็นแคว้นศักดิ์สิทธิ์แห่งจิตใจอาจจะเป็น(โอเอซิส)แห่งอีสานเป็นการสนับสนุนโครงการของรัฐบาลปัจจุบัน อันว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งช่วยได้ทั้ง ๒ ด้าน ขุดดินขึ้นได้สระน้ำ ทิ้งดินถมเป็นภูเขาปลูกต้นไม้ให้สดชื่น อุโภ อตฺเถ อธิคณฺหาหิปณฺฑิโต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แล้วว่า บัณฑิตผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ไม่ประมาทย่อมถือเอาประโยชน์ได้ทั้งสองทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ฟ้า ประโยชน์ดิน ประโยชน์ศีล ประโยชน์ธรรม ปลูกดงปลูกป่า คือ ปลูกฟ้าปลูกดิน ปลูกศีลปลูกธรรม ช่วยค้ำจุนโลกให้ร่มเย็น ขุดสระน้ำได้ภูเขาด้วย หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางตรัสรู้ ประทับบนภูเขาแล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในองค์พระปฏิมากร ภูเขากลายเป็นเจดีย์ที่มีคุณค่ามาก ถึงจะมีมูลค่าน้อย แต่มากไปด้วยคุณค่า อย่างที่จะประมาณมิได้ พระพุทธรูปท่านเรียกว่าอุทเทสิกะเจดีย์ ภูเขาจากดินที่ขุดกลายเป็น อุทเทสิกะเจดีย์ เช่นเดียวกัน เพราะเป็น ภูเขาที่ประดิษฐานพระบรมารีริกธาตุ ยํ ฐานํ ชเนหิ อิฏฐกาทีหิ เจตพฺพํ ตสฺมา ตํ ฐานํ เจติยํติ สิ่งที่ก่อสร้างขึ้น สำหรับบรรจุสิ่งที่เคารพนับถือ สิ่งนั้นนับว่าเป็น(เจดีย์) ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการสร้างสรรค์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยังเป็นการ พัฒนาแบบบูรณาการ ครบรอบคอบคลุมเกือบทุกด้าน เป็นการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ให้เกิดดุลยภาพ ทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านการศึกษา ตามแนวทางของพุทธศาสนาให้ครบทั้งสามด้าน พฤติกรรม ศีล จิตใจ สมาธิ ขบวนการรับรู้ด้านปัญญา ไตรสิกขาในภาพรวม การขุดสระเก็บกักน้ำบริเวณนี้ จะเป็นการพัฒนา ต้นน้ำห้วยก้านเหลือง ผืนป่าที่ปลูกในอารามเกือบ ๔๐๐ ไร่ได้รับน้ำ หล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอจะกลายเป็นเขื่อนสีเขียวช่วยดูดฟ้าดึงฝนให้เกิดความชุ่มชื่น สดชื่นอย่างยั่งยืนเป็นแหล่งอาหารของหมู่สัตว์หมู่มวลสรรพชีพทั้งมวลทั้งสัตว์ปีกสัตว์กีบ พวกเขาจะได้แอบอิงอาศัยให้ปลอดภัยจากการถูกล่าทำลาย จากมนุษย์ผู้ไร้เมตตาธรรม เหล่าสัตว์น้ำจะได้แอบอิงอาศัย สืบเผ่าพันธุ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยธรรมชาติ น้ำห้วยก้านเหลืองจะทรงตัวไม่เหือดแห้งตลอดปี ชาวนาทั้งสองฝั่ง จะได้ทำการเกษตรอย่างไม่ฝืดเคือง แม้ไม่มีระบบชลประทานช่วย ก็ยังพอทำไปได้สะดวก ตามฤดูกาล เพราะเหตุปัจจัยของต้นน้ำ ได้รับการฟูมฟักทนุถนอมอย่างสมดุลด้วยผืนป่าและผืนน้ำ แม้จะเล็กน้อยก็ยังดีกว่าไม่มีเอาเสียเลย ประโยชน์นี้บูรณาการ ไปถึงภาคเกษตรกรรม โยงใยไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อธรรมชาติถึงพร้อม จิตก็น้อมเข้าสู่ธรรม


ระเบียบในการปฏิบัติธรรม
   ระเบียบในการปฏิบัติธรรมของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ท่านได้ว่าหลักและขอบเขตดังนี้      เวลา ๐๒.๐๐ น. สัญญาณระฆังนั่งปฏิบัติธรรม
     เวลา ๐๔.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
     เวลา ๐๙.๐๐ น. ฉันอาหารมื้อเดียว
     เวลา ๑๕.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม
     เวลา ๑๗.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
     เวลา ๒๑.๐๐ น. จำวัด
หน้าที่รับผิดชอบในคณะสงฆ์
   หลังจากที่ท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ทุ่มเทกำลังในการพัฒนาผืนป่าให้อุดมสมบูรณ์ตามปณิธานที่ตั้งไว้ทั้ง ๒ แห่ง จนปัจจุบันนี้เป็นอารามที่ร่มรื่นด้วยเมกไม้นานาพันธ์เหมาะแก่การปฏฺบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์ได้สละลาภ ยศ ทุกอย่าง ไม่ได้เป็นพระครู พระมหา หรือแม้แต่ตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านพระอาจารย์ก็ไม่รับ โดยท่านเป็นเพียงประธานสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากตามหลักธรรมวินัยเท่านั้น ครั้งหนึ่งการเผยแผ่ธรรมของท่านแพร่หลาย เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป เจ้าคณะผู้ปกครองในระดับสูง จะขอพระราชทานสมณศักดิ์ถวายท่านก็ปฏิเสธโดยไม่ขอรับ โดยกราบเรียนเจ้าคณะจังหวัดว่า "ผมไม่อยากได้ สิ่งที่ผมอยากได้ผมได้แล้ว"
ผลงานการเผยแผ่
    ผลงานของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ ส่วนมากจะเป็นการเทศนาแล้วบันทึกเสียงไว้ ในเทศกาล วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาติ และปาฐกถาในหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จำนวน ๔๑๗ เรื่อง รายการเรื่องที่พระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ แสดงธรรมเทศนาและได้บันทึกเสียงรวบรวมได้เป็นเรื่องเป็นหัวข้อจำนวน ๔๑๗ เรื่อง ซึ่งผู้วิจัยยังไม่สามารถจะลงในรายละเอียดในทุกหัวข้อ เพราะจำกัดในเรื่องของเวลา จึงขอนำเสนอเรื่องที่เด่น ๆ ที่จัดเป็นประเภทไว้พอเป็นตัวอย่างในรูปแบบสรุปสังเขป ในหัวข้อถัดไปในส่วนของผลงานจึงเสนอผลงานพอประมวลได้ดังนี้
     ๑. เวสสันดรปริทัศน์ (บุญมหาชาติ)
     ๒. อบรมพระหนุ่ม
     ๓. พุทธทำนาย (ความฝันที่เป็นจริง)
     ๔. ชีวิตเจียระไน
     ๕. สถานการณ์พุทธศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน
     ๖. วิศกรรมห่าก้อม
     ๗. ปลดชนวนระเบิด
     ๘. ธรรมิกถาหน้าเชิงตะกอน
     ๙. บุญแจกข้าว กองหด
     ๑๐. วิสาขะรำพึง (เสียงอีสาน)
คุณสมบัติพิเศษของท่าน
     ๑. เป็นผู้ที่มีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง
     ๒. นอกจากจะเก่งภาษาอังกฤษแล้ว ยังเก่งภาษาแขกด้วย คือพอทราบพูดถึงประเทศอะไรท่านก็
สามารถที่ยกตัวอย่างเป็นภาษานั้น ๆ ได้อย่างน่าทึ่งมาก
     ๓. ช่ำชองพระไตรปิฎกทั้งบาลีและอรรถกถา เรียกว่าเป็นพระไตรปิฎกเคลื่อนที่
     ๔. ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานอยู่ที่ท่าน เรียกว่าเป็นขุมคลังแห่งปัญญาท้องถิ่นได้เลยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
     ๕. ท่านแตกฉานเรื่องนิรุกติภาษาคือ เวลาเทศน์นั้น ท่านจะใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จะใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เพื่อประยุกต์ให้เข้ากับกาลสมัย
     ๖. จากเหตุผลข้อที่ ๕ จึงทำให้ท่านเทศน์ได้อย่างชนิดที่กินใจ เข้าถึงอารมณ์ทั้งไทยและเทศ โดยเฉพาะไทยอีสานนั้น
     ๗. เรียกว่าถ้าพูดถึงพระที่เพียบพร้อมไปด้วยปริยัติและปฏิบัติที่สมบูรณ์นั้น ท่านพระอาจารย์สมภพก็อยู่ระดับ
     ๘. คุณธรรมของท่าน คือท่านมีเมตตา กรุณา มีความเที่ยงตรง อดทน ยอมตายเพื่อธรรมะ มีเป้าหมาย และหลักการที่ชัดเจน มีอุมการณ์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างชนิดที่ตัวตายก็ยอม
     ๙. ไม่สนใจยศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่มีตำแหน่งอะไรทางการปกครอง ไม่ได้เป็นมหา หรือพระครูใด เป็นพระที่เป็นขวัญใจ เป็นเพชรเม็ดงาม ของชาวพุทธรูปหนึ่ง
จากการศึกษาประวัติและผลงานของท่านพระอาจารย์สมภพ โชติปญฺโญ จะเห็นว่าท่านเป็นพระนักเผยแผ่ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม ๗ ประการ คือ
     ๑ ปิโย เป็นที่รัก คือ เข้าใจถึงจิตใจของผู้ฟัง
     ๒ ครุ เป็นที่น่าเคารพ คือ มีปฏิปทา จริยาวัตร ที่งดงาม
     ๓ ภาวนีโย เป็นที่น่าเจริญใจ คือ มีภูมิปัญญาที่แท้จริง
     ๔ วัตตา รู้จักพูดชี้แจงเผยแผ่ให้ได้ผล คือ สามารถอธิบายธรรมให้ง่ายได้
     ๕ วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำติชม
     ๖ คัมภีรัญจ กถ กัตตา คือ ฉลาดในการเทศน์
     ๗ โน จัฏฐาเน นิโยชเย คือ นำทางศิษยานุศิษย์ตามรอยบาทพระพุทธเจ้าทุกประการ


เสียงธรรมเทศนา "ธรรมิกถาก่อนฟ้าสนธยา" ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ




หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
"ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้า-ชาติหลัง หรือ นรก-สวรรค์อะไรก็ได้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรง ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง 16 ชั้น ตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนเองตามลำดับ หรือถ้า สวรรค์-นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีในขณะนี้ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ "
นามเดิม เกิดในสกุล เกษมสินธ์ กำเนิด 4 ต.ค. 2431 สถานที่เกิด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์
อุปสมบท
อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในพ.ศ.2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์
สมณศักดิ์ พระราชวุฒาจารย์
มรณภาพ 30 ต.ค. 2526 อายุ 96 ปี 74 พรรษา
เมื่อแรกบวช หลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดสุทัศน์ จ.อุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของจังหวัดอุบลราชธานี และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายในพ.ศ.2461 ณ วัดสุทัศน์โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงนับได้ว่าหลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก ต่อมาเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาขอให้หลวงปู่กลับ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อบูรณะวัดบูรพาราม หลวงปู่จึงจำต้องระงับกิจธุดงค์และเริ่มงานบูรณะตามที่ได้รับมอบหมาย หลวงปู่ได้อุทิศชีวิต เพื่อพระศาสนาอย่างแท้จริง จนได้รับการยอมรับจากสาธุชนทั้งหลาย ว่าเป็นอริยสงฆ์ที่หาได้ยากยิ่งองค์หนึ่ง


หลวงพ่อพรหมสร (รอด) Luangphor Prommasorn (RoD)
วัดบ้านไพ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา Wat Banpai Non Sung Nakhon Ratchasima
หลวงพ่อรอด พรหมสาโร หรือที่นิยมเรียกกันว่า หลวงพ่อพรหมสร (รอด) เทพเจ้าแห่งนครโคราช ซึ่งชาวโคราชมีความเชื่อกันว่า จะเดินทางไปไหนถ้ามีเหรียญหลวงพ่อรอดติดตัวจะไม่ตายโหง ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญอันดับหนึ่งแห่งเมืองโคราชโดยแท้ ท่านเชี่ยวชาญทั้งด้านไสยเวทวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐาน ร่ำลือกันในหมู่ศิษยานุศิษย์ว่าท่านได้อภิญญา มีหูทิพย์ตาทิพย์ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ มีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์แก่เหล่าศิษย์อย่างมากมาย พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านมีหลายอย่าง ได้แก่ เหรียญพระปิดตาเนื้อทองเหลือง ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า สีผึ้ง และนางกวัก ฯลฯ
ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2414 ณ บ้านสระขวัญ ต.ลำคอหงส์ อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เป็นบุตรของนายไข่และนางพูน อุปสมบทเมื่อปีพุทธศักราช 2436 ขณะอายุ 22 ปี อุโบสถวัดบ้านสะพาน ต.ขามเฒ่า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา มีพระอาจารย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมสาโร” ท่านเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ตลอดชีวิตการเป็นสมณะของท่านจะพยายามสร้างวัดไว้ในพระพุทธศาสนาให้มากที่สุด และก็ได้ทำอย่างที่ท่านปรารถนาทุกประการ คือสร้างวัดไว้ถึง 5 วัด ได้แก่ วัดบ้านดอกผวา วัดบ้านขามเฒ่า วัดบ้านหนองเคลือขุด วัดบ้านหนองพลอง และวัดบ้านไพ
ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบล ต่อมาได้ลาออกเพื่อออกธุดงควัตร พุทธศักราช 2483 ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่วัดขามเฒ่าจนถึงปีพุทธศักราช 2490 จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนผวาอีกครั้ง ในปีนี้เองท่านได้บอกกับญาติโยมทั้งหลายว่าจะอยู่วัดดอนผวาจนถึงวาระสุดท้ายของท่าน โดยท่านได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2500 สิริรวมอายุได้ 85 ปี 64 พรรษา เหลือไว้เพียงความทรงจำในวัตถุมงคลของท่านที่ทรงอานุภาพด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอุดเป็นที่สุด

ประวัติหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

     Image     Image  
หลวงพ่อ สนอง กตปุญโญ
 
ทองคำในเม็ดทราย  * * *
****************************
อัตชีวประวัติ หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ
เจ้าอาวาส วัดสังฆทาน
หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ เกิดเมื่อวันพุธขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ (๔ ฯ ๕) ปีวอก ตรงกับวันที่
๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๗ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี
ในตระกูล โพธิ์สุวรรณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๘ คน 
๑. นางจอง ศรีสำแดง
๒. นางลูกจันทร์ วงกต
๓. นางบรรจง ปานสุวรรณ
๔. นายบุญทรง  โพธิ์สุวรรณ
๕. นางชะอม บุญประสม
๖. หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ
๗. นายเสนาะ โพธิ์สุวรรณ
๘. พระพงษ์ศักดิ์ สีลเปโม

หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๐ ปี ในวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗  ณ วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
โดยมีพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุ่ย) วัดดอนไร่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบุญยก วัดดอนไร่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระบุญทรง วัดหนองไผ่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 
การจำพรรษา
พรรษาที่ ๑  พ.ศ. ๒๕๐๗
วัดหนองไผ่ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี  
หลังจากที่อุปสมบทแล้วหลวงพ่อสนองได้ปฏิบัติตามศีลอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะข้อ ๑๐
(ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา เวระมะณี) - เจตนาเว้นจากการรับเงินทองหรือยินดีในเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน   ท่านออกธุดงค์ประมาณ ๗ เดือน ได้ข่าวโยมแม่บวชชีที่วัดทุ่งสามัคคีธรรม จึงรีบเดินทางมาพบโยมแม่ด้วยความดีใจ และได้พบหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสังวาลย์ได้แนะนำให้หลวงพ่อสนองเข้าห้องกรรมฐานบ่มอินทรีย์เจริญสติปัฏฐานสี่ ณ ป่าช้าวัดหนองไผ่ เช่นเดียว กับที่ท่านเคยปฏิบัติที่ป่าช้าวัดบ้านทึง โดยสมาทานไม่พูด ไม่เขียน (พูดเขียนได้แต่เฉพาะกับหลวงพ่อสังวาลย์รูปเดียวเท่านั้น) และได้สมาทานธุดงค์ ๗ ข้อคือ
๑. เตจีวริกังคะ ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตร
๒. เอกาสนิกังคะ ถือนั่งฉันเพียงอาสนะเดียวเป็นวัตร
๓. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกินหนึ่งอย่าง คือ บาตร
๔. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร แม้อาหารที่ถวายภายหลังจะประณีตกว่า
๕. โสสานิกังคะ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๖. ยถาสันถติกังคะ ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้เป็นวัตร
๗. เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร เว้นการนอน อยู่ได้เพียง ๓ อิริยาบถ
(เฉพาะข้อ ๗ เริ่มปฏิบัติหลังจากอยู่ป่าช้าแล้ว ๓ เดือนแล้วถือมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งโยมมารดาถึงแก่กรรม จึงได้เลิกเนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย)

พรรษาที่ ๒-๔  พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๐พรรษาที่ ๒-๔  พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๐
ป่าช้าวัดหนองไผ่ ต.หนองผักนาก อ.สามชุก จ. สุพรรณบุรี    
การปฏิบัติในป่าช้า หลวงพ่อสังวาลย์จะมาสอบอารมณ์กรรมฐานหลวงพ่อสนอง ๑ เดือน หรือ ๒ เดือน ต่อครั้ง ผลการปฏิบัติในป่าช้าทำให้ท่านเชื่อในนรกสวรรค์ เชื่อว่ามรรคผลนิพพานมีจริง หลวงพ่อสังวาลย์กล่าวชมหลวงพ่อสนองว่าเป็นพระภิกษุสุวโจ คือเป็นคนที่ว่าง่าย สอนง่าย ไม่ดื้อ ไม่รั้น สอนอะไรก็ทำตามได้หมด

พรรษาที่ ๕-๖  พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒สำนักป่าพุทธอุทยานเขาถ้ำหมี ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี   
หลังจาก ๓ ปีผ่านไป หลวงพ่อสนองขออนุญาตหลวงพ่อสังวาลย์ออกจากห้องกรรมฐาน หลวงพ่อสังวาลย์เห็นสมควรแล้วจึงอนุญาต และได้พูดถึงความดีของพระสงฆ์ให้ฟัง หลวงพ่อสนองกราบลาหลวงพ่อสังวาลย์เพื่อออกธุดงค์หาที่วิเวกและเที่ยวชมวัดร้าง โดยไม่คิดที่จะเป็นครูบาอาจารย์สอนใคร แต่หลวงพ่อสังวาลย์คิดว่าพระรูปนี้ต่อไปจะต้องสั่งสอน คนแน่นอน จึงมอบกลดของท่านที่หลวงพ่อเกลื่อนทำถวาย ซึ่งหลวงพ่อสังวาลย์ใช้เดินธุดงค์เป็นเวลาหลายปีให้กับหลวงพ่อสนอง การเดินธุดงค์ของหลวงพ่อสนองจะเดินไปตลอด ไม่ยอมขึ้นรถ เมื่อพบคนไม่มีรองเท้าก็ถอดให้ ตัวท่านเองจะเดินเท้าเปล่า ปี ๒๕๑๑ วัดร้างวัดแรกที่ท่านมาชมโดยมิได้ตั้งใจคือวัดสังฆทาน มีเพียงองค์หลวงพ่อโตและฐานอิฐเก่าๆ สถานที่สงบร่มรื่น เหมาะกับการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อสนองพิจารณาแล้วคิดสร้างวัดสังฆทานให้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักธุดงคกรรมฐาน เพราะที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้แหล่งรวมของผู้มีปัญญาและกำลังซึ่งจะเป็นกำลังของศาสนาได้ดี แต่ขณะนั้นตัวท่านคิดว่าตนเองยังมีบารมีไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้นำที่นี่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าที่นี่ไม่เหมือนที่อื่น การจะเข้ามาทำอะไรนั้นทำได้ยาก จะต้องให้เขาเห็นดี ให้เขาเข้าใจ เพราะเป็นการเผยแผ่ธรรมะให้กับผู้มีปัญญา ท่านจึงธุดงค์กลับไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพุข่อย จ.สุพรรณบุรี แต่มีเหตุให้ต้นไม้ล้มขวาง เส้นทางลบหายไปหมด ท่านจึงเดินย้อนมาอีกทาง ก็มาพบเขาถ้ำหมี จึงเปลี่ยนใจปฏิบัติธรรมที่เขาถ้ำหมี ฝึกกสิณดินและกสิณไฟ ได้ดวงกสิณดินที่ถ้ำหมีนั่นเอง

พรรษาที่ ๗-๙  พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๕
ถ้ำกะเปาะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร   
หลวงพ่อสนองเดินทางมาที่ถ้ำกะเปาะ พิจารณาแล้วว่าเป็นสถานที่เหมาะสำหรับการฝึกปฏิบัติของพระมาก แต่มีไข้มาลาเรียชุกชุม  ที่นี่หลวงพ่อได้มาฝึกกสิณน้ำ กสิณลม ส่วนกสิณไฟได้มาฝึกต่ออีกครั้งจนเกิดดวงกสิณ การเผยแผ่ในช่วงนี้จะมีเพียงเล็กน้อย มีโยมมาฝึกสมาธิบ้าง ที่ถ้ำกะเปาะมีเหตุการณ์ที่สนุกประทับใจหลายเรื่อง มีพระที่ตามไปปฏิบัติธรรมกับท่านคือหลวงพ่อประทีป สมฺปุณฺโณ ต่อมาหลวงพ่อได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดต้นตาลโตน  จ. เชียงใหม่  มรณภาพเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔  พรรษาที่ ๑๐  พ.ศ. ๒๕๑๖ สำนักป่าพุทธอุทยานเขาถ้ำหมี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี  หลวงพ่อสนองเดินทางกลับมาที่ถ้ำหมีอีกครั้งเพื่อมาโปรดญาติโยมและสร้างโรงเรียน มีญาติโยมศรัทธามาปฏิบัติเป็นประจำ ในวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนยอดเขาและได้ก้าวพลาดตกลงมา หลังกระแทกกับหินทำให้กระดูกที่หลังแตก จากนั้นเป็นต้นมาท่านจะปวดหลังตลอดเวลา ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ปวดจนเป็นปกติ เวลานั่งสอนสมาธิก็จะเจ็บปวด ขาทั้งสองจะชามาก ท่านไม่ได้ให้หมอรักษา แต่ใช้ความอดทนข่มความเจ็บปวดเนื่องจากไม่ต้องการให้ใครทราบและเป็นห่วง โดยเฉพาะโยมแม่ซึ่งขณะนั้นเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดสังฆทาน แต่หลังจากโยมแม่ถึงแก่กรรม (ปี พ.ศ. ๒๕๓๒) ท่านจึงได้เล่าให้ญาติโยมฟังและไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช

พรรษาที่ ๑๑-๒๔  พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๐
วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี  
หลังจากที่ฝึกกสิณดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นเวลา ๖ ปี หลวงพ่อสนองจึงเดินทางกลับมาวัดสังฆทานอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลังจากนั้นก็มีพระเณรตามมาแต่ก็หนีกลับ เพราะบิณฑบาตแล้วไม่พอฉัน ท่านใช้การเผยแผ่ด้วยความสงบ ด้วยการปฏิบัติ ท่านเล่าว่ามีนิมิตเกิดขึ้นคือ หมีเดินเข้ามาหา ต่อมาหมีก็กลายเป็นหมู จากหมูก็กลายเป็นเณรมานั่งตักท่าน นโยบายของหลวงพ่อเริ่มต้นด้วยการสร้างบุคลากรโดยมุ่งฝึกพระที่มาบวช พระที่จะออกมาทำงานให้กับสังคมต้องเก็บตัวก่อน จนกว่าจะมีธรรมะและสามารถนำธรรมะมาใช้ได้ จึงจะให้ออกมาทำงาน   ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธ-อเนกประสงค์ วัดสังฆทานขึ้นเพื่อช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา และจะช่วยหมู่คณะได้ดีขึ้น มูลนิธิฯ จะเป็นตัวแทนของท่านในอนาคต

พรรษาที่ ๒๕  พ.ศ. ๒๕๓๑
วัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ  
หลวงพ่อสนองได้เดินทางไปจำพรรษา ณ วัดสังฆทาน เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ โดยมีพระสุรชัย อภิชโย (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว) เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อพยายามฝึกฝนเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะใช้สอนสมาธิ อธิบายธรรมะให้กับชาวต่างชาติ เพราะต่อไปเมืองไทยจะมีชาวต่างชาติมาศึกษาสมาธิกันมาก และจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาพุทธให้กับชาวต่างชาติ ที่อังกฤษมีญาติโยมคนไทยมาฝึกสมาธิและทำบุญประมาณ ๕๐๐ ครอบครัว

พรรษาที่ ๒๖-๓๔  พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๐
วัดสังฆทาน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี  
หลวงพ่อสนองกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี หลังจากที่ได้วางรากฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักธุดงค-กรรมฐานที่ประเทศอังกฤษแล้ว  ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ แม่ชีแม้น โพธิ์สุวรรณ (มารดาของหลวงพ่อสนอง) ถึงแก่กรรม   ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่เอม อริยวํโส อายุ ๙๔ ปี พรรษา ๓๔ (บิดาของหลวงพ่อสนอง) มรณภาพเมื่อ วันที่ ๕ พ.ย.  ปี ๒๕๔๐ หลวงพ่อสนองสร้างสำนักสงฆ์ที่เขายายแสง ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

พรรษาที่ ๓๕-๓๙  พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๕
วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  
หลวงพ่อสนองได้เปลี่ยนชื่อสำนักสงฆ์เขายายแสงเป็น วัดถ้ำกฤษณาธรรมาราม ดำริให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุ พื้นที่รอบเขาปลูกเป็นป่ากฤษณา มีอุโบสถเป็นถ้ำ พื้นที่ติดต่อกับบ้านสว่างใจซึ่งเป็นสถานที่เข้าคอร์สสมาธิตามหลักสติปัฏฐานสี่สำหรับสาธุชนทั่วไปรวมทั้งชาวต่างชาติ เป็นสถานที่ที่มีอากาศที่หนาวเย็นสบาย พื้นที่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่   การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของหลวงพ่อสนองดำเนินไปในนามของมูลนิธิพุทธอเนกประสงค์ วัดสังฆทาน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมวลมนุษย์ด้วยความเมตตา




ประวัติและปฏิปทา
พระธรรมสิงหบุราจารย์

(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

วัดอัมพวัน
ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี



พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๑๐ น. (๔ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน ซึ่งเกิดจากโยมมารดาเจิม และโยมบิดาแพ จรรยารักษ์

ชีวิตในเยาว์ชัย หลวงพ่อได้อาศัยอยู่กับยาย วัย ๘๐ ปี ณ เรือนทรงไทยหลังใหญ่กลางดงไม้ร่มครึ้มด้วยมะม่วง มะปราง ขนุน น้อยหน่า และ ละมุด ฯลฯ แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างเสรี ด้วยเนื้อที่ที่กว้างขวาง ด้านหลังติดกับลำน้ำลพบุรี ใช้ปลูกพืชผักสวนครัวนานาชนิด เรื่องราวจากชีวิตจริงของหลวงพ่อเริ่มต้นจากบ้านหลังนี้

เวลาตีสี่ของทุกวัน ยายจะลุกขึ้นสวดมนต์ภาวนา เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ส่วนเด็กชายจรัญ จะลุกขึ้นก่อไฟหุงข้าวให้ยายใส่บาตร หลังจากนั้นยายหลานจะลงไปพรวนดิน ถางหญ้า พร้อมเก็บพืช ผัก ผลไม้ เพื่อนำไปขายในตลาด หากวันใด ที่ผัก ผลไม้ มีมาก ยายหาบไม่ไหว หลานชายจะแบ่งใส่สาแหรกอีกลูกหนึ่ง หาบไปส่งยายที่ตลาด แล้วจึงไปโรงเรียน

ในวัยที่กำลังเรียนหนังสือ เด็กชายจรัญไม่เคยสนใจเรียนหนังสือเลย มักชวนเพื่อนๆ ไปยิงนกตกปลา ถูกย้ายโรงเรียนหลายแห่ง เพราะทางโรงเรียนทนความประพฤติของเด็กชายจรัญไม่ไหว ทั้งๆ ที่ยายพร่ำสอนแต่สิ่งดีๆ ให้เด็กชายจรัญ แต่เขากลับไม่เคยรับฟังอย่างใส่ใจเลย

ยายให้เอาข้าวไปถวายพระแทน เพราะยายไม่ค่อยสบาย ระหว่างทางเจอเพื่อนนักเรียนที่สร้างวีรกรรมหนีโรงเรียนด้วยกันมา เพื่อนบอกว่า [B]
แต่ผลกรรมยังไม่สิ้นสุดแค่นี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพ่อได้ไปส่ง พันตำรวจโท ชน อินทนา พร้อมคุณนายเฉลา ภรรยา ซึ่งได้ย้ายไปอยู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความเป็นห่วงว่าต้องเกิดเรื่องเดือดร้อนครั้งนี้แน่ ระหว่างที่เดินทางด้วยรถไฟ เมื่อถึงสถานีชุมพร ไส้ติ่งของหลวงพ่อได้เกิดแตกขึ้นมา หลวงพ่อสลบไป แต่ท่านได้กำหนดจิต หายใจทางสะดือ อยู่ในท่าสมาธิ ทุกคนคิดว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว แต่หลวงพ่อได้ตั้งสติ แข็งใจจนถึงสถานีชะอวด เดินไปจนถึงบ้านพักตำรวจ มีแพทย์หญิงคนหนึ่งมาตรวจและจะพาหลวงพ่อไปโรงพยาบาล เพราะไม่มีเครื่องมือช่วย แต่หลวงพ่อไม่ยอม จึงตั้งจิตอธิษฐาน “พ่อไก่ แม่ไก่ทั้งหลายเอ๋ย เจ้าจงมารับเมตตาจากข้าพเจ้า ที่ตอนเจ้าไม่ได้เจตนาให้เจ้าตาย เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน ถ้าข้าพเจ้ารอดตายจะทำกรรมฐานไปให้ จงอย่างจองเวรจองกรรมกับเราเลย ให้อภัยเราเถิด” เมื่อสิ้นคำอธิษฐาน ก็อุจจาระ ปัสสาวะ ไหลออกมา ทั้งเลือด ทั้งหนองเหม็นคลุ้งไปหมด หมอให้น้ำเกลือและฉีดยาให้ คืนนั้นหลวงพ่อได้ทำกรรมฐาน พวกไก่ได้มาเต็มไปหมดและบอกหลวงพ่อว่า “นี่เป็นท่านนะ ถ้าไม่ใช่ท่าน จะเอาให้ตาย” หลังจากนั้น หลวงพ่อก็หายวันหายคืนจนเป็นปกติ

นายจรัญได้ขอห่อผ้า ซึ่งห่อทองไว้ และได้ให้เงินกลมแก่ป้าไป เมื่อนายจรัญต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปเรียนหนังสือต่อ ได้นำห่อผ้าซึ่งห่อทองไว้ แขวนไว้บนขื่อ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาลาโทษแก่ยาย เพราะว่าจะนำไปเล่นการพนัน และขอให้เทวดาช่วยรักษาไว้ให้ด้วย ๔ ปี เมื่อนายจรัญกลับมา ห่อผ้าซึ่งห่อทองไว้ยังอยู่ที่เดิม ต่อมาเมื่อนายจรัญได้มาบวชเป็นพระ จึงนำทองทั้งหมดไปขายเพื่อนำเงินมาสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรีในภายหลัง

ชีวิตในวัยหนุ่มของนายจรัญ เป็นวัยที่คึกคะนอง แกล้งคนโน้นแกล้งคนนี้ อีกทั้งเถียงยายอยู่ตลอดเวลา แต่นายจรัญ มีดีทางการเล่นดนตรีไทย เพราะคยเรียนมากับครูตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดยแอบยายไปเรียน

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ๓ นายจรัญได้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ โดยไปอาศัยอยู่บ้านสามกระได แถวคลองบากแวก ฝั่งธนบุรี ของคุณหลวงธารา มีคุณนายชื่อ ห่วง คุณหลวงธารา เคยตีระนาดให้ รัชกาลที่ ๖ ทรงโขน นายจรัญไปอยู่เพื่อเรียนดนตรี ดีด สี ตี เป่า ต่อเพลงพิณพาทย์เป็นเวลา ๒ ปี และได้ไปเรียนช่างกลกับอาจารย์เลื่อน พงษ์โสภณ ที่บางขุนพรหม เมื่อคุณหลวงธาราและคุณนายห่วงได้สิ้นชีวิตลง นายจรัญได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบ้านของครูศร ศิลปบรรเลง ซึ่งต่อมาได้เป็นคุณหลวงประดิษฐ์ไพเราะ อยู่แถวบ้านบาตร หลังวัดสระเกศ เพื่อเรียนดนตรีไทยต่ออีก ๑ ปีเศษ จึงได้มารู้จักกับ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ที่นี่

ต่อมา ครูศร ศิลปบรรเลง พานายจรัญไปฝากให้สอบเข้าเป็นนายร้อยตำรวจกับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อเขาเข้าไปเรียนได้ ๓ เดือน ถูกรุ่นพี่ขู่เข็ญ และกลั่นแกล้ง เขาพยายามอดทน แต่เมื่อถูกรุกรานหนัก ความอดทนก็สิ้นสุด ประกอบกับเป็นคนที่ไม่ยอมคนอยู่แล้ว จึงชกรุ่นพี่เจ็บตัวไปหลายคน นายจรัญจึงไปขอโทษครู พร้อมกับขอลาออก และได้ชี้แจงเหตุผลต่างๆ ให้แก่จอมพลแปลก ทราบ และขอไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดเมืองนอน และนำวิชาที่เรียนมาคือ ดนตรี มาใช้ประกอบอาชีพ เมื่อมาอยู่ที่ อำเภอพรหมบุรี ก็มาเล่นดนตรีคณะ จรรยารักษ์ ซึ่งมีอยู่เดิม พร้อมออกงานแสดง มีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงเจ็ดคุ้งน้ำ นายจรัญจอกจากมีฝีมือทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีฝีมือทางด้านการประพันธ์หนังสือ สามารถประพันธ์เรื่องนางอรพิมกับท้าวปาจิตต์ และมีคณะลิเกมาขอลอกบท เพื่อไปแสดงเป็นลิเกหลายคณะ

นายจรัญได้ไปร่วมบรรเลงพิณพาทย์ที่วัดโตนด และหลวงธาราสั่งให้เลยไปเล่นต่อในงานศพอีกวัดหนึ่งใกล้ๆ กัน คนอื่นในวงไปกันก่อน ส่วนนายจรัญเผลอนอนหลับอยู่บนศาลาวัดคนเดียว และแล้ว สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อพระวัดโตนดได้พาศิษย์วัดประมาณ ๑๐ คน มารุมทำร้าย เนื่องจากนายจรัญเคยด่าว่า พระวัดโตนดอาศัยผ้าเหลืองหากิน ไม่ปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นต้นว่า แอบกินยาฝิ่น ชอบต่อนกเขา กินข้าวค่ำ ซึ่งทำให้พระวัดโตนดโกรธแค้นมาก จึงสั่งให้ลูกสมุนทั้งสิบคนช่วยกันรุมทำร้ายนายจรัญ หนุ่มร่างเล็กล้มลุกคลุกคลานอย่างสะบักสะบอม โดยไม่ทันตั้งหลัก ลูกสมุนหนึ่งในสิบชักมีดวิ่งไล่แทงตามไปติดๆ หลังจะฆ่าให้ตาย นายจรัญเห็นท่าไม่ดีแน่ จึงวิ่งหนีเอาตัวรอดไปที่ท่าน้ำ ตั้งใจว่าจะกระโดดน้ำหนี แต่โชคดีมีคนมาฉุดข้อมือลงไปในเรือช่วยไว้ได้ทันชื่อ นายหมั่น แซ่ตั้ง ทางฝ่ายพระวัดโตนดกลัวความผิด ที่มีคนมาเห็นเหตุการณ์ จึ่งสั่งให้ลูกศิษย์วัดถอยล่าทัพกลับไป นายหมั่นแจวเรือพานายจรัญซึ่งนอนสลบไสลอยู่ ไปรักษาตัวที่บ้าน และทำยาสมุนไพรจีนให้ทาน และให้นอนพักฟื้นจนหายดี แล้วจึงพาไปส่งที่บ้านหลวงธารา เป็นเพราะสาเหตุนี้ ทำให้เขาเกลียดพระมาตั้งแต่บัดนั้น

วันหนึ่งแม่ของนายจรัญเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ นายจรัญจึงถูกแม่ขอร้องให้บวช เพื่อจะได้เห็นชายผ้าเหลืองก่อนตาย นายจรัญก็บวชทดแทนพระคุณแม่ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ณ วัดพรหมบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเอง วัดพุทธาราม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุสาวนาจารย์

แม้จะเกลียดพระมาก่อน แต่เมื่อต้องมาเป็นพระ ท่านก็พยายามปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ และปฏิบัติสมณกิจอย่างเคร่งครัด ทุกเช้าจะออกไปบิณฑบาตรในหมู่บ้าน เพื่อให้โยมยายและโยมแม่ได้ใส่บาตร เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระจรัญก็ทำความสะอาดกุฏิของท่าน เพราะท่านเป็นคนค่อนข้างมีระเบียบ เพราะโยมยายปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก

ในช่วงเวลาที่บวช พระจรัญถูกอารมณ์ทางโลกเข้าครอบงำ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย มีจิตใจรุ่มร้อน ต้องการที่จะลาสึกอยู่ตลอดเวลา แต่ต้องมีเหตุที่ทำให้ท่านลาสึกไม่ได้สักที เมื่อต้องการลาสึกทีไร ก็เกิดอาการง่วงเหงา เศร้า ซึม พร้อมได้ยินเสียงกังวานให้แก้วหู.....เข้ามาแทนที่กระทันหันว่า “นะโมยังไม่ได้ ก็ยังลาสึกไม่ได้” จนท่านสมภารพูดกับพระอันดับ ๔ รูปที่จะมาสึกให้ว่า “พระจรัญไม่ได้สึกหรอก รู้สึกว่าท่านต้องบวชไปตลอดชีวิต” แล้วพระจรัญก็ทราบสัจธรรมที่แท้จริงว่า “เกลียดสิ่งไหน ก็จะเจอสิ่งนั้น เกลียดพระ ก็จะต้องมาเป็นพระ”

หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร และที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทั้งทาง สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ ศึกษาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ กับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จังหวัดขอนแก่น และได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และได้ศึกษา สมถกรรมฐาน กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จันทสโร) ที่วัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ศึกษาและปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จังหวัดกรุงเทพฯ และได้ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง จังหวัดธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศฯ จังหวัดกรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต











ประวัติ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร

หลวงพ่อจ้อย นามเดิม จ้อย (ภาษาลาวกะลา แปลว่า ผอม)  ฉายา จนฺทสุวณฺโณ นามสกุล  ปานสีเทา วัดศรีอุทุมพร หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองกรด อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
ชาติภูมิ 

ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
ชาติกาล
วันอังคารที่ ๘ เมษายน ๒๔๕๖ (ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู) เห็นบุตรคนที่สอง ของนายแหยม นางบุญ ปานสีทา มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๓ คน คือ
๑.นางทองดี (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๒.พระครูจ้อย หรือ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ
๓.พระภิกษุสิงห์ (มรณภาพแล้ว)
๔.นางแต๋ว (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๕.นางหนู เหล่าเขตกิจ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๖.พระภิกษุสุเทพ (มรณภาพแล้ว)
อุปสมบท
         เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๗๖ ที่วัดดอนหวาย ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ยเป้นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญธรรมเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ
๑. พ.ศ. ๒๔๗o จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดดอนหวาย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
๒. พ.ศ. ๒๔๘o สอบนักธรรมชั้นตรีได้
๓. พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบนักธรรมชั้นโทได้
๔. การศึกษาพิเศษ หลักสูตรพระอภิธรรม และ วิปัสสนากรรมฐาน จากวัดระฆังโฆษิตาราม และ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
๕. มีความรู้ความชำนาญในการเผยแพรีธรรมแก่พุธบริษัท และพระสงฆ์ที่ไปอยู่ปริวาสเป็นอย่างดี
๖. มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างทุกชนิด
         เมื่อหลวงพ่อจ้อย อุปสมบทแล้วได้อยู่จำพรรษาเพื่อศึกษา พระปริยัติธรรมที่วัดดอนม่วง ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำพรรษาอยู่ ๕ พรรษา แล้วไปศึกษาพระอภิธรรม และปวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กับพระอาจารย์เจชินซึ่งมาจากประเทศพม่า และยังไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณภาวนาภิราม (สุกปวโร) และหลวงปู่นาค ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งเป็นสายเดียวกันกับสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยมีหลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู ก็ไปศึกษาที่นั่นด้วย ใช้เวลาศึกษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามรวมหลายปี จึได้กลับมาจำพรรษาและพัฒนาวัดศรีอุทุมพร
         หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อจ้อย นิยมการออกธุดงค์รุกมูล (อยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร) ไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อแสวงหาความวิเวก ทดสอบความทดทน เพื่อเผาผลาญกิเลสตัณหา อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง และเพื่อศึกษาสัจจธรรมอันเป็นหนทาง แห่งความหลุดพ้น ตลอดจน วิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ ต่างๆ ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงโด่งดัง หลวงพ่อจ้อย ได้ขึ้นไปตั่งต้นเดินธุดงค์ที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ลงมาจนถึงจังหวัดนครปฐม และศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบกับหลวงพ่อฉาบวัดคลองจัน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม ได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่างๆ แก่กัน และหลวงพ่อยังได้มีโอกาศไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ ชื่อดังในสมัยนั้น จากนันได้ศึกษาอักขระขอมลาวจนมีความรู้แตกฉานเป็นอย่างดี

         ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ เกิดอาการอาพาธอย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ที่ร้านข้าวสาร " บุญมาพานิช" ซึ่งเป็นร้านของหลานสาวของ หลวงพ่อจ้อย พระใบฏีกาสมศักดิ์ ปญฺญาธโร รองเจ้าอาวาส วัดศรีอุทุมพร พร้อมด้วยลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ได้นำพาหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ โดยมีรถจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์มารับ อาจากในระหว่างเข้ารับการรักษานั้น มีแต่ทรงกับทรุดหรือ บางครั้งดูเหมือนว่าจะดีขึ้น ลูกหลานและศิษยานุศิษย์เกิดความสงสารเห็น ท่านอยากจะกลับวัด

         ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ลูกหลานและศิษยานุศิษย์ จึงได้ขออนุญาตนายแพทย์ผู้รักษา นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพรโดยมีรถจากโรงพยาบาลมาส่ง ถึงอาคารอเนกประสงค์วัดศรีอุทุมพร
         ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕o ในเช้าวันนี้เองหลวงพ่อจ้อย ให้สัญญาณว่า จะให้พาไปจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปพักผ่อนที่บ้านศิษยานุศิษย์ ผู้หนึ่ง แต่เมื่อถึงที่นั่นปรากฏว่าอาการยิ่งทรุดลงมาก ลูกหลานศิษยานุศิษย์ เลยต้องนำ หลวงพ่อจ้อย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปลาโลวชิรปราการ ระหว่างการรักษาที่แห่งนี้ อาการก็มีทั้งดีขึ้นบ้าง ทรุดลงบ้างสลับกันอยู่อย่างนี้จนกระทั่งนายแพทย์ผู้ให้การรักษาให้ความเห้นกับลูกหลานและ ศิษยานุศิษย์ว่า ควรย้ายหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สะพานควาย กทม.
         ๑๓ มีนาคม ๒๕๕o หลวงพ่อจ้อย ได้รับการดูแลจากคณะแพทย์ แห่งนี้ด้วยดีตลอดมา อาการน่าเป็นห่วงและต่อจากนั้นในความเห้นของแพทย์ ลูกหลาน และศิษยานุศิษย์ ตกลงจะพา หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ กลับวัด ตามความประสงค์ของ หลวงพ่อจ้อย "ซึ่งจะเหมือนคนชราทั่วไปที่กล่าวว่าถ้าจะตายขอให้ไปตายที่บ้านดีกว่า" ในเวลาเช้าวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕o แพทย์ได้นำพา หลวงพ่อจ้ยอ จนฺทสุวณฺโณ กลับวัดศรีอุทุมพร โดยรถฉุกเฉินของโรงพยาบาล
         เวลาประมาณ ๑๑.o๙ น. รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลคันนั้นได้นำหลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ถึง วัดศรีอุทุมพร เครื่องช่วยกระตุ้นส่วนต่างๆ หยุดทำงานทันที ท้องฟ้าสีอันงดงามเป้นที่แปลกตาแปลกใจของผู้คนจำนวนมากที่ทราบข่าวแล้วมารอรับอยู่ที่วัด
         หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ ได้จากลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และประชาชนที่เคารพนับถือ ไป ณ. วันเวลานั้นอย่างไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว



"ใดใดในโลกล้วน            อนิจจัง
   คงแต่บาปบุญยัง           เที่ยงแท้
        คือเงาติดตัวตรัง            ตรึงแน่นอยู่นา
       ตามแต่บาปบุญแล้ว        ก่อเกื้อ รักษา"

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ