วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทุ่งกุลาร้องไห้

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ทุ่งกุลาร้องไห้

เมื่อหลายพันปีผ่านมาแล้วบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ในปัจจุบันเป็นทะเลมาก่อน ในทะเลแห่งนี้มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ได้มีเมืองจำปานาคบุรี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลแห่งนี้
เจ้านครจำปานาคบุรี มีธิดาชื่อว่า นางแสนสี และมีหลานสาวอายุไล่เลี่ยกันชื่อว่า นางคำแพง ทั้งสองเป็นหญิงสาวที่รูปร่างหน้าสะสวยงดงามเป็นที่หมายปองของชายทั้งหลาย ท้าวนครจำปานาคบุรี ได้จัดให้มีคนคอยเผ้าดูแลอย่างดี ผู้ดูแลชื่อว่า จ่าแอ่น ซึ่งจะคอยติดตามอยู่ทุกฝีก้าว และในเมืองจำปานาคบุรีแห่งนี้ ได้นาคที่มีอิทธิฤทธิ์สูงอยู่ฝูงหนึ่ง ซึ่งถ้าชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนก็จะให้ความช่วยเหลือตลอด จนเมืองนี้ได้ชื่อว่า นาคบุรี
ในครั้งนั้นมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าบูรพานครตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเล ท้าวผุ้ครองนครมีโอรสชื่อว่า ท้าวฮาดคำโปง และมีหลานชายชื่อว่า ท้าวอุทร ทั้งสองเล่าเรียนวิชาการต่อสู้จึงอยากลองวิชาโดยจะไปต่อสู้กับนาคที่เมืองจำปานาคบุรีตามคำสั่งของอาจารย์ เมื่อเดินทางไปถึงเมืองจำปานาคบุรียังไม่ทันได้ลองวิชา ทั้งสองหนุ่มกลับไปให้ความสนใจธิดาและหลานสาว  ทั้งสองจึงพยายามที่จะติดต่อกับนางทั้งสองแต่ก็ถูกกีดกันจากจ่าแอ่นผู้ดูแล แต่ชายหนุ่มทั้งสองก็ยังคงพยายามต่อไป และได้สืบทราบมาว่าทุกเจ็ดวันนางทั้งสองจะออกไปเล่นน้ำที่ทะเล
ต่อมาในวันหนึ่งหญิงงามทั้งสองก็ออกไปเล่นน้ำ พร้อมข้าทาสบริวารตามปกติ ชายทั้งสองเห็นเป็นโอกาสอันดีจึงเสกผ้าเช็ดหน้าให้เป็นหงส์ทองลอยไปขวางเรือไว้ นางอยากได้จึงให้จ่าแอ่นพายเรือตามไปเก็บ ยิ่งตามยิ่งลึกเข้าไปในทะเลแต่ก็ยังจับไม่ได้สักที มารู้สึกตัวอีกทีก็อยู่กลางทะเลกว้าง ท้าวทั้งสองเห็นเหมาะจึงเอานางทั้งสองและบริวารขึ้นเรือของตนไป
เมื่อเจ้าเมืองจำปานาคบุรีทราบเรื่องจึงไปขอให้นาคในทะเลช่วย นาคจึงบรรดาลให้พื้นทะเลสูงตัวขึ้น น้ำทะเลเหือดแห้ง เรือของท้าวฮาดคำโปงและท้าวอุทรไม่สามารถแล่นต่อไปได้ จึงเอาจ่าแอ่นไปซ่อนในป่า บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อว่า ดงจ่าแอ่น เอานางแสนสีไปซ่อนไว้อีกที่หนึ่ง จึงเรียกว่า ดงแสนสี และเอาหญิงหลานเจ้าเมืองไปซ่อนอีก เรียกบริเวณนั้นว่า ดงป่าหลาน เมื่อน้ำในทะเลแห้งหมดสัตว์ต่าง ๆ ในทะเลก็พากันตาย นกอินกันพากินซาก ซึ่งกินอยู่ประมาณครึ่งเดือนกว่ากุ้งหอยปูปลาในทะเลจะหมด ก็ได้พากันขี้ทิ้งกองรวมกันไว้เป็นกองใหญ่มาก จนเรียกบริเวณนั้นว่า โพนขี้นก
ท้าวฮาดคำโปง ท้าวอุทร นางแสนสีและนางคำแพง เกิดติดอยู่กลางทะเลแห้ง แต่ชายทั้งสองกลับเกิดหลงรักนางแสนสี จึงเกิดการต่อสู่ ท้าวฮาดคำโปงแพ้ถูกฆ่าตาย จึงกลายเป็นผีเฝ้าทุ่ง เวลากลางคืนเป็นแสงไฟลอยตามหานางแสนสี ชาวบ้านแทบทุ่งกุลาร้องไห้เรียกว่า ผีโป่ง หรือ ผีทุ่งศรีภูมิ
ฝ่ายเจ้าเมืองจำปานาคบุรีเกิดความเห็นใจธิดาของตนและท้าวอุทรที่ต้องรอนแรมอยู่กลางทุ่งแล้ง จึงอภัยให้หลังจากที่โกรธมานาน จึงมอบไพล่พลไปสร้างดงเท้าสาร หรือ เมืองเท้าสาร และยอมยกนางแสนสีให้เป็นมเหสีของท้าวอุทร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น