วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัตินางสามาวดีอุบาสิกา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ประวัตินางสามาวดีอุบาสิกา
เอตทัคคะผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา
พระนางสามาวดีอุบาสิกาผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของอุบาสิกาทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา  ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน ดังที่พระศาสดาทรงนำเรื่องที่พระนางแผ่เมตตา ห้ามลูกธนูที่พระราชาทรงกริ้วตนได้  เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาคิดว่าจักฟังธรรมกถาของพระศาสดา จึงไปยังวิหาร นางสามาวดีเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้อยู่ด้วยเมตตา จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น บ้าง
นางทำกุศลจนตลอดชีวิต เมื่อตายลงก็ไปบังเกิดในเทวลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ นั่นแล เวลาก็ล่วงไปถึงแสนกัป.

เรื่องโฆษกเศรษฐี

ครั้งนั้น ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด เกิดอหิวาตกโรคขึ้นใน แคว้นอัลลกัปปะ ในเรือนหลังหนึ่ง ๆ คน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๓๐ คนบ้าง ก็ตายพร้อม ๆ กันนั่นแหละ ส่วนผู้คนที่ไปนอกแคว้น ก็รอดชีวิต บุรุษผู้หนึ่งรู้เรื่องนั้นแล้วก็พาบุตรภริยาของตนไปนอกแคว้นนั้น ด้วยหมายจะไปแคว้นอื่น
คราวนั้นเสบียงเดินทางที่เอามาในเรือนของบุรุษนั้นยังไม่ทันข้ามทางกันดารในระหว่างทางก็หมดสิ้นไป เรี่ยวแรงร่างกายของพวกเขาก็ลดลง มารดาอุ้มบุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง บิดาก็อุ้มบุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง ครั้งนั้น บิดาของบุตรนั้นจึงคิดว่า เรี่ยวแรงร่างกายของพวกเขาก็ลดลงแล้ว จะแบกบุตรเดินไปคงไม่อาจข้ามทางกันดารไปได้ บุรุษนั้นไม่ให้ภรรยารู้ ให้บุตรนั่งลง ตนเองทำเป็นเหมือนจะไปหาน้ำ แล้วก็เดินหนีไปลำพังคนเดียว
คราวนั้นภริยาของเขานั้นยืนคอยเขามาไม่เห็นบุตรในมือก็ร้องกล่าวว่า บุตรฉันไปไหนล่ะนาย เขาพูดปลอบว่า เจ้าต้องการบุตรไปทำไม เรายังมีชีวิตอยู่จักได้บุตรเอง นางกล่าวว่า ชายผู้นี้ใจร้ายนักหนอ แล้วกล่าวว่า ท่านไปเถิด ฉันไม่ไปกับท่านดอก เขากล่าวว่า แม่นางจ๋า ฉันไม่ทันใคร่ครวญได้ทำไปแล้ว จงยกโทษข้อนั้นแก่ฉันเสียเถิด แล้วก็ไปรับบุตรกลับมา คนเหล่านั้นข้ามทางกันดารนั้นแล้ว เวลาเย็นก็ถึงบ้านคนเลี้ยงโคตำบลหนึ่ง.
วันนั้น พวกบ้านคนเลี้ยงโค หุงปายาสไม่มีน้ำ เห็นคนเหล่านั้น ก็คิดว่า คนเหล่านี้คงหิวจัด จึงเอาปายาสใส่เต็มภาชนะใหญ่ ราดเนยเต็มกระบวยให้ไป เมื่อคนเหล่านั้นบริโภคข้าวปายาสนั้น สตรีนั้นก็บริโภคพอประมาณ ส่วนบุรุษบริโภคเกินประมาณ ไม่อาจให้ไฟธาตุย่อยได้ ก็ทำกาละเสียในเวลาหลังเที่ยงคืน เขาเมื่อทำกาละ เพราะยังมีความอาลัย ในคนเหล่านั้น จึงถือปฏิสนธิในท้องนางสุนัขในเรือนของพวกคนเลี้ยง โค ไม่นานนัก นางสุนัขก็ออกลูก คนเลี้ยงโคเห็นสุนัขนั้น มีลักษณะสง่างามก็ปรนเปรอด้วยก้อนข้าว จึงพาสุนัขที่เกิดความรักในตนเที่ยวไปด้วยกัน
ต่อมาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาถึงประตูเรือนของคนเลี้ยงโค ในเวลาแสวงหาอาหาร คนเลี้ยงโคนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ก็ถวายอาหาร ถือปฏิญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่จะอยู่อาศัยตน พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสกุลคนเลี้ยงโค คนเลี้ยงโคไปสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็พาสุนัขนั้นไปด้วย ก็ตีต้นไม้หรือแผ่นหิน เพื่อไล่สัตว์ร้าย ในที่อยู่สัตว์ร้ายระหว่างทาง แม้สุนัขนั้นก็จำวิธีทำของคนเลี้ยงโคนั้นไว้
ต่อมาวันหนึ่งคนเลี้ยงโคนั่งในสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมาไม่ได้ทุกครั้ง แต่สุนัขนี้ฉลาด โดยสัญญาจำหมายที่สุนัขนี้มาแล้ว ก็จะพึงมายังประตูเรือนของกระผมได้ วันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนั้นก็ส่งสุนัขไปแล้วกล่าวว่าเจ้าจงพาพระปัจเจกพุทธเจ้ามา สุนัขนั้นฟังคำของคนเลี้ยงโคนั้น ก็ไปใน เวลาแสวงหาอาหาร ก็เอาอกหมอบแทบเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่าสุนัขนี้มาสำนักเราแล้ว ก็ถือบาตรจีวรเดินทาง แต่ท่านจะทดลองสุนัขนั้น จึงแยกออกเดินทางอื่น สุนัขก็ยืนข้างหน้า ต้อนให้ไปทางที่ไปหมู่บ้านคนเลี้ยงโค ก็ในที่ใดคนเลี้ยงโคตีต้นไม้หรือแผ่นหิน เพื่อขับไล่สัตว์ร้าย สุนัขถึงที่นั้นแล้วก็ส่งเสียงเห่าดัง ๆ ด้วยเสียงของสุนัขนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายก็หนีไป แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ให้ก้อนข้าวที่เย็น ๆ ก้อนใหญ่แก่มัน เวลาฉันเสร็จแล้ว แม้สุนัขนั้นก็รักอย่างยิ่งในพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยความอยากได้ก้อนข้าว คนเลี้ยงโคถวายผ้าพอแก่การที่จะทำจีวรได้ ๓ ผืน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาสแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านชอบใจ ก็โปรดอยู่เสียในที่นี้นี่แหละ แต่ถ้าไม่ชอบใจ ก็โปรดไปได้ตามสบาย
พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงอาการว่าจะไป คนเลี้ยงโคตามไปส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็กลับ สุนัขรู้ว่าพระปัจเจก พุทธเจ้าไปที่อื่น ก็เกิดความโศกเศร้าอย่างแรง เพราะรัก หัวใจแตกตาย ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็โดยที่สัตว์ร้ายหนีไป เพราะสุนัขนั้นทำเสียงดังเวลาไปกับพระปัจเจกพุทธเจ้า เสียงของเทวบุตรนั้น เมื่อพูดกับเหล่าเทวดาจึงกลบเสียงเทวดาเสียสิ้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เทวบุตรนั้นจึง ได้ชื่อว่าโฆสกเทพบุตร ก็เมื่อโฆสกเทพบุตรนั้น เสวยสมบัติในดาวดึงส์นั้น พระราชาพระนามว่าอุเทนเสวยราชสมบัติ ณ กรุงโกสัมพี ถิ่นมนุษย์ เรื่องของพระเจ้าอุเทนพึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาโพธิราชกุมารสูตรนั่นแล.
เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้นครองราชย์อยู่ โฆสกเทพบุตร ก็จุติถือปฏิสนธิในครรภ์ของสตรีผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพผู้หนึ่ง ในกรุงโกสัมพี ล่วงไป ๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร รู้ว่าเป็นชายก็ให้ทิ้งเสียที่กองขยะ
ขณะนั้น คนทำงานของโกสัมพิกเศรษฐี กำลังเดินไปเรือนเศรษฐีแต่เช้าตรู่ สงสัยว่าเหล่ากากลุ้มรุมอะไรกันอยู่หนอ เมื่อเข้าไปก็พบทารก คิดว่าทารกนี้ จักมีบุญ จึงส่งเด็กไว้ในมือบุรุษผู้หนึ่งให้นำไปสู่เรือนตน แล้วก็ไปเรือนเศรษฐี
ฝ่ายเศรษฐีกำลังไปยังราชสกุลในเวลาเข้าเฝ้า พบปุโรหิตในระหว่างทาง ก็ถามว่า วันนี้ ดาวฤกษ์อะไร
ปุโรหิตนั้นยืนอยู่ตรงนั้นนั่นแหละ ก็คำนวณแล้วกล่าวว่า ดาวฤกษ์ชื่อโน้น ทารกที่เกิดตามดาวฤกษ์นี้ในวันนี้ จักได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนี้
เศรษฐีนั้น ฟังคำของปุโรหิตนั้นแล้ว ก็รีบส่งคนไปยังเรือนว่า ท่านปุโรหิตคนนี้ไม่พูดเป็นคำสอง หญิงแม่เรือนมีครรภ์แก่ของเรามีอยู่ พวกเจ้าจงตรวจดูนางว่าคลอดแล้วหรือยัง
คนเหล่านั้นไปสำรวจรู้แล้วก็กล่าวว่า นายท่าน หญิงมีครรภ์แก่นั้นยังไม่คลอด
เศรษฐีจึงสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปหาทารกที่เกิดในวันนี้ ในนครนี้
คนเหล่านั้นแสวงหาก็พบทารกนั้นในเรือนของคนทำงานของเศรษฐีนั้นแล้วบอกแก่เศรษฐี เศรษฐีกล่าวว่า เจ้า พนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปเรียกคนทำงานมา
คนเหล่านั้นก็เรียกคนทำงานมา เศรษฐีถามเขาว่า เรือนเจ้ามีทารกหรือ
เขาตอบว่า มีขอรับ นายท่าน
เศรษฐีบอกว่า เจ้าให้ทารกนั้นแก่เราเถิด
เขาว่า ให้ไม่ได้ดอกนายท่าน
เศรษฐีกล่าวว่า เจ้ารับทรัพย์ ๑ ๐๐๐ แล้วให้เถิด
คนทำงานนั้นคิดว่า ทารกนี้จะเป็นหรือตาย ข้อนี้ก็รู้กันยาก ดังนี้จึงรับ ทรัพย์ ๑ ๐๐๐ แล้วให้ทารกไป.
ลำดับนั้นเศรษฐีคิดว่า ถ้าภริยาเราคลอดธิดา ก็จักเลี้ยงทารกนี้ให้เป็นบุตรเรา แต่ถ้าภรรยาเราคลอดบุตร ก็จักฆ่าทารกนี้ให้ตาย ครั้นคิดแล้ว ก็เลี้ยงทารกไว้ในเรือน
ครั้งนั้น ภริยาของเศรษฐีนั้นก็คลอดบุตร
ครั้นผ่านไป ๒-๓ วัน เศรษฐีก็คิดจะให้พวกโคเหยียบทารกนั้นเสียให้ตาย จึงสั่งว่า พวกเจ้าจงเอาทารกนี้ไปนอนที่ประตูคอก
คนทั้งหลายก็ให้ทารกนั้นนอนที่ประตูคอกนั้น ครั้งนั้น โคอุสภะจ่าฝูงออกไปก่อน เห็นทารกนั้นก็ยืนคร่อมไว้ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ ด้วยเพื่อกันมิให้โคตัวอื่น ๆ เหยียบทารกนั้น ขณะนั้น คนเลี้ยงโคพบทารกนั้น คิดว่า ทารกนี้แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้จักรักษา คงเป็นผู้มีบุญมาก เราจักเลี้ยงทารกนั้น แล้วก็นำไปเรือนตน.
ฝ่ายเศรษฐีทราบว่าทารกนั้นยังไม่ตาย และได้ฟังว่า พวกคนเลี้ยงโคนำไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ไปเพื่อแลกกับทารกนั้น เมื่อได้ทารกนั้นมาแล้ว ก็ให้นำไปทิ้งเสียที่สุสานศพสด
เวลานั้น คนเลี้ยงแพะในเรือนเศรษฐี นำแม่แพะไปเลี้ยงในสุสาน เพราะบุญของทารก แพะแม่นมตัวหนึ่ง ขาไป ก็แวะจากทาง ไปให้นมทารกแล้วก็ไป ขากลับจากที่นั้น ก็ไปให้นมทารกที่นั้นนั่นและ
คนเลี้ยงแพะคิดว่า แม่แพะ ตัวนี้แวะจากที่นี้ไปแต่เช้า เพราะเหตุอะไรกันหนอ จึงเดินไปตรวจดู ก็รู้ และคิดว่า ทารกนี้คงมีบุญมาก แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้จักรักษา จำเราจักเลี้ยงทารกนั้นไว้ แล้วพาไปเรือน.
ฝ่ายเศรษฐี ก็ให้ตรวจตราดูอีกว่า ทารกนั้นตายหรือไม่ตาย รู้ว่า คนเลี้ยงแพะรับไว้ ก็ให้ทรัพย์ ๑ ๐๐๐ สั่งว่า พรุ่งนี้ บุตรนายกองเกวียน คนหนึ่ง จักเข้าไปยังนครนี้ พวกท่านจงนำทารกนี้ไปวางไว้ที่ทางล้อ เกวียน ล้อเกวียนนั้นก็จักเฉือนไปอย่างนี้ เหล่าโคในเกวียนเล่มแรกของ นายกองเกวียน แลเห็นทารกที่เขาวางไว้ที่ทางล้อเกวียนนั้น ก็ยืนเอาเท้าทั้ง ๔ คร่อมเหมือนเสาค้ำกันอยู่ฉะนั้น นายกองเกวียนสงสัยว่านั่นอะไร กันหนอ ก็รู้เหตุที่โคเหล่านั้นหยุดยืน เห็นทารกแล้วเข้าใจว่าทารกมีบุญ มาก ควรเลี้ยงไว้ จึงพาไปแล้ว.
ฝ่ายเศรษฐีก็ให้สำรวจว่าเด็กนั้นตายหรือไม่ตายที่ทางเกวียน ทราบ ว่านายกองเกวียนรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑ ๐๐๐ แม้แต่นายกองเกวียนนั้น สั่งให้โยนเหวในที่ไม่ไกลพระนคร ทารกนั้น เมื่อตกไปในเหวนั้น ก็ตก ลงที่โรงช่างสานในที่ทำงานของพวกช่างสาน โรงช่างสานนั้น ได้เป็น เสมือนสัมผัสด้วยปุยฝ้าย ๑๐๐ ชั้น ด้วยอานุภาพบุญของทารกนั้น ครั้งนั้น หัวหน้าช่างสานเข้าใจว่าทารกนี้มีบุญควรเลี้ยงไว้ จึงพาทารกนั้นไปเรือน
เศรษฐีให้เสาะหาในที่ ๆ ทารกตกเหวว่าตายหรือไม่ตาย ทราบว่า หัวหน้าช่างสานรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑ ๐๐๐ แม้แก่หัวหน้าช่างสานนั้น ให้นำทารกมา ต่อมา ทั้งบุตรของเศรษฐีเอง ทั้งทารกนั้น ทั้งสองคน ก็เจริญเติบโต.
เศรษฐีก็ครุ่นคิดแต่อุบายที่จะให้เด็กโฆสกะตาย จึงไปเรือนช่าง หม้อของตน พูดเป็นความลับว่า พ่อคุณ ที่เรือนฉันมีเด็กสกุลต่ำต้อย อยู่คนหนึ่ง ควรจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด็กนั้นตายเสีย ช่างหม้อนั้นก็ปิดหูทั้งสองกล่าวว่า ไม่ควรพูดถ้อยคำที่หนักเห็นปานนี้ แต่นั้น เศรษฐี คิดว่า ช่างหม้อนี้จักไม่ทำโดยไม่ได้อะไร จึงกล่าวว่า เอาเถิดพ่อคุณ จงเอาทรัพย์ไป ๑ ๐๐๐ ทำงานนี้ให้สำเร็จ ขึ้นชื่อว่าสินบน ย่อมทำลายสิ่งที่ ทำลายไม่ได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ช่างหม้อนั้นได้ทรัพย์ ๑ ๐๐๐ แล้ว ก็รับ แล้วกล่าวว่า นายท่าน กระผมจักจุดไฟเตาเผาหม้อในวันชื่อโน้น ขอนาย ท่านจงส่งทารกนั้นไป ในวันโน้น เวลาโน้น ฝ่ายเศรษฐีรับคำของช่างหม้อนั้นแล้ว นับวันตั้งแต่วันนั้น รู้ว่าวันที่ช่างหม้อนัดไว้มาถึงแล้ว ก็ ให้เรียกนายโฆสกะมาสั่งว่า ลูกเอ๋ย พ่อต้องการภาชนะจำนวนมาก ในวัน ชื่อโน้น เจ้าจงไปหานายช่างหม้อบอกว่า ได้ยินว่า มีงานที่บิดาเราพูดไว้ แก่ท่านอย่างหนึ่ง วันนี้ขอท่านจงทำงานนั้นให้สำเร็จ นายโฆสกะรับคำ ของเศรษฐีนั้นว่า ดีละ แล้วก็ออกไป ขณะนั้น ในระหว่างทางลูกตัวของ เศรษฐีกำลังเล่นกีฬาขลุบ จึงรีบไปพูดว่า พี่จ๋า ฉันกำลังเล่นกับพวกเด็ก ๆ ด้วยกัน ถูกเขาเอาชนะเท่านี้ พี่จงกลับเอาชนะเขาให้ฉันนะ นายโฆสกะ กล่าวว่า บัดนี้ โอกาสของพี่ไม่มี ท่านบิดาใช้พี่ไปหาช่างหม้อด้วยกิจรีบ ด่วนจ้ะ ลูกตัวเศรษฐีพูดว่า พี่จ๋า ฉันจักไปแทนเอง พี่จงเล่นกับเด็ก เหล่านี้ นำโชคกลับมาให้ฉันนะ นายโฆสกะกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้า ไปเถิด แล้วบอกข่าวที่บิดาบอกแก่ตน แก่น้องชายนั้น แล้วเล่นเสียกับ พวกเด็ก ๆ เด็กแม้นั้น [น้องชาย] ไปหาช่างหม้อแล้วบอกข่าวนั้น ช่างหม้อกล่าวว่า ดีละพ่อคุณ เราจักทำงานให้สำเร็จ แล้วให้เด็กนั้นเข้าไป ในห้อง เอามีดคมกริบตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ใส่หม้อปิดปากหม้อวางไว้ ระหว่างภาชนะ แล้วจุดไฟเตาเผาหม้อ นายโฆสกะเล่นชนะเป็นอันมาก ก็นั่งคอยน้องมา เขารู้ว่า น้องชักช้า ก็ไปยังส่วนหนึ่งของเรือนช่างหม้อ ในที่ไหน ๆ ก็ไม่พบ คิดว่า น้องคงจักกลับไปบ้านแล้ว จึงกลับไปเรือน เศรษฐีเห็นเขาเดินมาแต่ไกล ก็สงสัยว่า จักมีเหตุอะไรหรือหนอ ก็เรา สั่งมันไปหาช่างหม้อ เพื่อให้ฆ่ามันให้ตาย บัดนี้ เจ้าเด็กนั้น ยังมาในที่นี้ อีก เขามาถึงจึงถามเขาว่า เจ้าไม่ไปหาช่างหม้อดอกหรือลูก นายโฆสกะ จึงบอกเหตุที่ตนกลับ และเหตุที่น้องชายไป เศรษฐีฟังคำเขาแล้ว เป็น เหมือนถูกแผ่นดินใหญ่ถล่มทับสัก ๑๐๐ ครั้ง จิตหมุนไปว่า เจ้าพูดเรื่องอะไรอย่างนี้หรือ แล้วก็รีบไปหาช่างหม้อ พูดโดยถ้อยคำที่ไม่ควรพูดใน สำนักคนเหล่าอื่นว่า ดูสิพ่อคุณ ดูสิพ่อคุณ ช่างหม้อกล่าวว่า ท่านให้ดู อะไรเล่า งานนั้นเสร็จไปแล้ว แต่นั้น เศรษฐีนั้นก็กลับไปเรือน.
ตั้งแต่นั้นมา โรคทางใจก็เกิดแก่เศรษฐีนั้น สมัยนั้น เศรษฐีนั้นกินไม่ ได้ด้วยโรคทางใจนั้น ครุ่นคิดว่า ควรจะเห็นความพินาศของศัตรูของบุตรเรา ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกนายโฆสกะ มาสั่งด้วยปากว่า เจ้าจงถือหนังสือนี้ไปหาคนทำงานของพ่อที่มีอยู่บ้านชื่อ โน้น จงบอกว่า ได้ยินว่า ท่านจงรีบทำเรื่องที่มีอยู่ในหนังสือ ระหว่างทาง จงไปเรือนเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อคามิกเศรษฐีสหายของพ่อ กินอาหารแล้ว พึงไป แล้วได้มอบสาสน์ให้ไป นายโฆสกะนั้นไหว้เศรษฐีแล้ว รับหนังสือ ออกไป ระหว่างทางไปถึงสถานที่อยู่ของคามิกเศรษฐีแล้ว ถามถึงเรือน ของเศรษฐี ยืนไหว้คามิกเศรษฐีนั้น ซึ่งนั่งอยู่นอกซุ้มประตูกำลังให้ช่าง แต่งหนวดอยู่ เมื่อถูกถามว่า พ่อเอ๋ย เจ้ามาแต่ไหนล่ะ จึงตอบว่า ท่าน พ่อ ผมเป็นบุตรโกสัมพิยเศรษฐี ขอรับ คามิกเศรษฐีนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า บุตรเศรษฐีสหายเรา ขณะนั้น ทาสีคนหนึ่งของธิดาเศรษฐี นำดอกไม้ มาให้ธิดาเศรษฐี ลำดับนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะทาสีนั้นว่า พักงานนั้น ไว้เสีย จงล้างเท้าพ่อโฆสกะ จัดที่นอนให้ ทาสีนั้นก็ทำตามคำสั่งแล้วไป ตลาด นำดอกไม้มาให้ธิดาเศรษฐี ธิดาเศรษฐีเห็นทาสีนั้นแล้วก็ดุนางว่า วันนี้ เจ้าชักช้าอยู่ข้างนอกนานนัก โกรธแล้วจึงกล่าวว่า เจ้ามัวทำอะไรใน ที่นั้นตลอดเวลาเท่านี้ ทาสีกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าพูดเลยเจ้าค่ะ ดิฉันไม่เคยเห็น ชายหนุ่มรูปงามเห็นปานนี้เลย เขาเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐี สหายบิดาของแม่เจ้า ดิฉันไม่อาจกล่าวถึงรูปสมบัติของเขาได้ ดิฉันกำลังจะไปนำดอกไม้มา ท่านเศรษฐีก็ใช้ให้ดิฉันล้างเท้าชายหนุ่มคนนั้น ให้ จัดที่นอนให้ ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงชักช้าอยู่ข้างนอกเสียนาน เจ้าค่ะ ธิดา เศรษฐีแม้นั้น ได้เคยเป็นแม่เรือนของชายหนุ่มนั้น ในอัตภาพที่ ๔ เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่ได้ฟังคำของทาสีนั้น ก็ไม่รู้สึกตัวว่ายืน ไม่รู้สึกตัวว่า นั่ง นางก็พาทาสีนั้นไปยังที่นายโฆสกะนั้นนอนอยู่ มองดูเขากำลังหลับ เห็นหนังสือที่ชายผ้า สงสัยว่านั่นหนังสืออะไร ไม่ปลุกชายหนุ่มให้ตื่น หยิบหนังสือเอามาอ่าน ก็รู้ว่า ชายหนุ่มผู้นี้ถือหนังสือฆ่าตัวไปด้วยตนเอง จึงฉีกหนังสือนั้น เมื่อชายหนุ่มนั้นยังไม่ตื่น ก็เขียนหนังสือ [เปลี่ยน ความเสียใหม่] ว่า ท่านจงส่งสาสน์ของเราไปว่า เราส่งบุตรไปยังสำนัก ท่าน คามิกเศรษฐีสหายเรามีธิดาเจริญวัยแล้ว ท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ ที่เกิดในที่อาณาบริเวณของเรา ถือเอาธิดาของคามิกเศรษฐี ทำการมงคล แก่บุตรของเรา ด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้ว เมื่องานมงคล เสร็จ ท่านจงส่งสาสน์ให้เราทราบว่า ทำการมงคลแล้วด้วยวิธีนี้ เรา จักรู้กิจที่พึงทำแก่ท่านในที่นี้ ใส่ตราหนังสือนั้นแล้วก็ผูกไว้ที่ชายผ้าเหมือน เดิม ชายหนุ่มแม้นั้นอยู่บ้านคามิกเศรษฐีนั้นวันหนึ่งแล้ว รุ่งขึ้นก็อำลา เศรษฐีไปยังบ้านของคนทำงานมอบหนังสือนั้นให้ คนทำงานอ่านหนังสือ แล้ว ก็ให้ประชุมชาวบ้านกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อย่าสนใจเราเลย นาย ของเราส่งข่าวมายังสำนักเราว่า จงนำเด็กหญิงมาด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แก่บุตรคนโตของตน พวกท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ที่เกิดในที่ นี้มา แล้วก็จัดการพิธีมงคลเครื่องสักการะ [แต่งงาน] ทุกอย่าง ส่งข่าว แก่คามิกเศรษฐีให้รับแล้ว ให้ตกลงงานมงคล [สมรส] ด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้วส่งหนังสือถึงโกสัมพิกเศรษฐีว่า ข้ารู้ข่าวใน หนังสือที่ท่านส่งไปแล้ว ก็กระทำกิจอย่างนี้ ๆ เสร็จแล้ว.
เศรษฐีฟังข่าวนั้นแล้วเหมือนถูกเผาแล้วในกองไฟฉะนั้น ถึงความเป็นโรคลงโลหิต เพราะอำนาจที่คิดว่า บัดนี้เราวอดวายแล้ว ดังนี้ ก็ให้คน เรียกนายโฆสกะนั้นด้วยคิดจะทำอุบายบางอย่าง หมายใจว่าจักทำมันไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติของตน ตั้งแต่งานมงคลเสร็จแล้ว ก็ส่งข่าวไปว่า เหตุไร บุตรของเราจึงอยู่เสียภายนอก จงรีบกลับมาเถิด เมื่อชายหนุ่มฟังข่าวแล้ว ก็เริ่มจะไป ธิดาเศรษฐีคิดว่า สามีนี้เขลา ไม่รู้ดอกว่า สมบัตินี้อาศัยเราจึงได้มา ควรที่เราจะทำบางอย่าง แล้วก็ทำอุบายห้ามแม้การไปของเขาเสีย แต่ นั้นจึงกล่าวกะสามีว่า พ่อหนุ่มอย่ารีบด่วนนักเลย ดิฉันก็จะไปบ้านของ สกุล ธรรมดาว่าผู้ไปควรจะตระเตรียมการของตนแล้วจึงค่อยไป ฝ่าย โกสัมพิกเศรษฐีรู้ว่าบุตรนั้นชักช้าอยู่ ก็ส่งข่าวไปอีกว่า เหตุไรบุตรเราจึง ชักช้าอยู่ เราเป็นโรคลงโลหิต ควรที่เจ้าจะมาพบเราขณะที่ยังเป็นอยู่
เวลานั้น ธิดาเศรษฐีก็บอกแก่สามีนั้นว่า เศรษฐีนั้นไม่ใช่บิดาของท่านดอก ท่านก็ยังเข้าใจว่าเป็นบิดา เศรษฐีนั้นส่งหนังสือแก่คนทำงาน เพื่อให้ เขาฆ่าท่าน ดิฉันจึงเปลี่ยนหนังสือนั้น เขียนข้อความเสียใหม่ ทำสมบัติ นี้ให้เกิดแก่ท่าน เศรษฐีนั้นเรียกท่านไป หมายใจจะทำท่านไม่ให้เป็นบุตรต่างหาก ท่านจงรอการตายของเศรษฐีนั้นเถิด.
ครั้งนั้น นายโฆสกะไม่ไปด้วยทั้งที่เศรษฐีนั้นก็เป็นอยู่ ต่อทราบ ว่าเขาเพียบหนัก จึงไปนครโกสัมพี แม้ธิดาเศรษฐีก็ให้สัญญาจำหมาย ภายนอกแก่สามีนั้นว่า ท่านเมื่อเข้าไป ก็จัดอารักขาไว้ทั่วบ้านจึงเข้าไป
ตนเองก็ไปพร้อมกับบุตรเศรษฐี ยกแขนทั้งสองขึ้นทำเป็นร่ำไห้ไปใกล้ ๆ เศรษฐี ซึ่งนอนอยู่ในที่ค่อนข้างมืด เอาศีรษะกระแทกตรงหัวใจ เศรษฐีนั้นก็ทำกาละด้วยการกระแทกนั้นนั่นแหละ เพราะเขาหมดกำลัง ชายหนุ่มก็ทำสรีรกิจของบิดา ให้สินบนแก่คนใกล้ชิดว่า พวกท่านจงบอกว่าฉันเป็นบุตรตัวของเศรษฐี จากนั้นวันที่ ๗ พระราชาทรงดำริว่าควรจะได้ คน ๆ หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งเศรษฐี จึงทรงส่งคนไปสำรวจว่า เศรษฐี มีบุตรหรือไม่มีบุตร พวกคนใกล้ชิดเศรษฐีก็กราบทูลพระราชาถึงว่า เศรษฐีมีบุตร พระราชาทรงรับรองแล้ว ก็ได้พระราชทานตำแหน่ง เศรษฐีแก่เขา เขาก็ชื่อว่าโฆสกเศรษฐี
ครั้งนั้น ภริยาก็กล่าวกะสามีว่า พ่อเจ้า ท่านก็เกิดมาต่ำ ดิฉันก็บังเกิดในสกุลตกยาก เราได้สมบัติเห็นปานนี้ ก็ด้วยอำนาจกุศลที่เราทำกันแต่ปางก่อน แม้บัดนี้เราก็จักทำกุศล สามีก็รับปากว่า ดีละน้องเอ๋ย ก็สละทรัพย์ ๑ ๐๐๐ กหาปณะทุกวัน ตั้งทานไว้เป็นประจำ.
ในสมัยนั้น บรรดาชนทั้งสองนั้น นางขุชชุตตรา จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่นม ในเรือนของโฆสกเศรษฐี แห่งกรุงโกสัมพี เวลาที่เกิด นางมีร่างค่อม เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ขุชชุตตรา.
ส่วนนางสามาวดี จุติจากเทวโลกแล้ว ถือปฏิสนธิในเรือนของ ภัททวติยเศรษฐี แคว้นภัททวติยะ ต่อมานครนั้นเกิดฉาตกภัยอดอยาก ผู้คนทั้งหลายกลัวอดอยาก จึงแยกย้ายกันไป
ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐี นี้ปรึกษากับภริยาว่า น้องเอ๋ย ฉาตกภัยนี้ยังไม่ปรากฏภายใน จำเราจักไปหาโฆสกเศรษฐีสหายเราในกรุงโกสัมพี สหายนั้นพบเรา คงจักไม่รู้จัก (นัยว่าเศรษฐีนั้นได้เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของโฆสกเศรษฐีนั้น เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้) ภัททวติยเศรษฐีนั้น ให้คนที่เหลือกลับกันแล้ว ก็พาภริยาและธิดาเดินทางไปกรุงโกสัมพี ทั้งสามคนประสบทุกข์เป็นอันมากในระหว่างทาง ก็บรรลุกรุงโกสัมพีตามลำดับ พักอาศัยอยู่ ณ ศาลาหลังหนึ่ง ฝ่ายโฆสกเศรษฐี ให้เขาจัดมหาทานแก่พวกคนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพก และยาจกใกล้ประตูเรือนของตน
ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐีนี้ ก็คิดว่า เราไม่อาจแสดงตัวแก่เศรษฐีสหาย ด้วยเพศของคนกำพร้านี้ได้ เมื่อร่างกายเป็นปกติ เรานุ่งห่มดีแล้วจึงจักไปพบเศรษฐี ทั้งสองคนก็ส่งธิดาไปโรงทานของโฆสกเศรษฐีเพื่อนำอาหารมาให้ตน ธิดานั้นก็ ถือภาชนะไปโรงทาน ยืนเอียงอายอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง คนจัดการทานเห็นนางก็คิดว่า คนอื่น ๆ ทำเสียงดังเหมือนกับชาวประมงแย่งซื้อและขายปลาในที่ประชุมพร้อมหน้ากัน ได้แล้วก็ไป ส่วนเด็กหญิงผู้นี้ คงจักเป็นกุลธิดา เพราะฉะนั้น อุปธิสัมปทาของนางจึงมีอยู่ แต่นั้นจึงถามนางว่า แม่หนู เหตุไรเจ้าจึงไม่รับเหมือนกะคนอื่น ๆ เล่า
นางตอบว่า พ่อท่าน ดิฉันจักกระทำการเบียดเสียดกันขนาดนี้เข้าไปได้อย่างไร
เขาถามว่า แม่หนู พวกเจ้ามีกี่คนเล่า
นางตอบว่า ๓ คนจ้ะ พ่อท่าน
เขาก็ให้ข้าว ๓ ก้อน นางก็ให้ข้าวนั้นแก่บิดามารดา บิดาหิวโหยมานานกินเกินประมาณก็เลยตาย
รุ่งขึ้น นางก็ไปรับข้าวมา ๒ ก้อนเท่านั้น วันนั้นภริยาเศรษฐี ก็ตายเสียเมื่อเลยเที่ยงคืน เพราะลำบากด้วยอาหารและเพราะเศร้าโศกถึงเศรษฐีที่ตาย
วันรุ่งขึ้น ธิดาเศรษฐีรับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น คนจัดการทาน ใคร่ครวญดูกิริยาของนาง จึงถามว่า แม่หนู วันแรกเจ้ารับก้อนข้าวไป ๓ ก้อน รุ่งขึ้นรับก้อนข้าวไป ๒ ก้อน วันนี้รับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น เกิดเหตุอะไรขึ้นหรือ
นางจึงบอกเล่าเหตุการณ์นั้น
เขาถามว่า แม่หนูเจ้าเป็นชาวบ้านไหนเล่า นางก็เล่าเหตุการณ์โดยตลอด เขากล่าวว่า แม่หนู เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าก็เป็นธิดาเศรษฐีของเรา เราไม่มีเด็กหญิงอื่น ๆ เจ้าจง เป็นธิดาเราเสียตั้งแต่บัดนี้ แล้วก็รับนางไว้เป็นธิดา.
นางได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานก็ถามว่า พ่อท่าน เหตุไรจึง เสียงดังลั่น ดังนี้
เขาก็ตอบว่า แม่หนู ในระหว่างคนมาก ๆ ไม่อาจทำให้มีเสียงเบาลงได้ดอก
นางกล่าวว่า พ่อท่าน ฉันรู้อุบายในเรื่องนี้
เขาถามว่า ควรจะทำอย่างไรเล่า แม่หนู
นางบอกว่า พ่อท่าน พวกท่าน จงทำรั้วไว้รอบ ๆ ประกอบประตู ๒ ประตู ให้ตั้งภาชนะแจกทานไว้ข้างใน ให้คนเข้าไปทางประตูหนึ่ง รับอาหารแล้วให้ออกไปทางประตูหนึ่ง
เขารับว่า ดีละแม่หนู แล้วก็ให้กระทำอย่างนั้นตั้งแต่วันรุ่งขึ้น
นับแต่นั้นมาโรงทานก็มีเสียงเงียบสงบไป แต่ก่อนนั้น โฆสกเศรษฐี ได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานเสมอมา วันนั้น เมื่อไม่ได้ยินเสียงดังมาจากโรงทาน จึงเรียกคนจัดการทานมาถามว่า วันนี้ท่านให้เขาให้ทานแล้วหรือ
เขาตอบว่า ให้ทานแล้ว นายท่าน
เศรษฐีถามว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรจึงไม่ได้ยินเสียงในโรงทานเหมือนแต่ก่อน
เขาตอบว่า จริงสิ นายท่าน ผมมีธิดาอยู่คนหนึ่ง ผมทำตามอุบายที่นางบอก จึงทำโรงทานให้ไม่มีเสียง
เศรษฐีถามว่า เจ้าไม่มีธิดา เจ้าได้ธิดามาแต่ไหน
คนจัดการทานนั้น ก็เล่าเรื่องที่ได้ธิดามาทุกอย่างแก่เศรษฐี เพราะไม่อาจจะหลอกลวงได้
เศรษฐีกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เหตุไรเจ้าจึงได้ทำกรรมหนักเห็นปานนี้ ไม่บอกเรื่องธิดาซึ่งอยู่ในสำนักตนแก่เราเสียตั้งนานเพียงนี้ เจ้าจงรีบให้ นำนางมาไว้เรือนเรา
คนจัดการทานนั้นฟังคำเศรษฐีแล้ว ก็ให้นำนางมา ทั้งที่ตนไม่ประสงค์เช่นนั้น
ตั้งแต่นั้นมา เศรษฐีก็ตั้งนางไว้ในตำแหน่งธิดา และเมื่อจะรับขวัญธิดา จึงจัดหญิงสาว ๕๐๐ นางที่มีวัยรุ่นเดียวกัน จาก สกุลที่มีชาติทัดเทียมกับตนมาเป็นบริวารของนาง.
ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนเสด็จตรวจพระนครทอดพระเนตรเห็น นางสามาวดีนั้น มีหญิงสาวเหล่านั้นแวดล้อมเล่นอยู่ ตรัสถามว่า เด็กหญิง นี้ของใคร
ครั้นทรงสดับว่าเป็นธิดาของโฆสกเศรษฐี ก็ตรัสถามว่า ไม่มีสามีหรือ เมื่อเขาทูลว่า ไม่มีสามี จึงดำรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงไปบอกเศรษฐีว่าพระราชามีพระราชประสงค์ธิดาท่าน
เศรษฐีฟังแล้วบอกเขาว่า เราไม่มีเด็กหญิงอื่น ๆ ไม่อาจให้ธิดาคนเดียวอยู่กับสามีได้
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วสั่งให้เศรษฐีและภริยาออกมาจากบ้าน แล้วมีรับสั่งให้ปิดประตูตีตราทั่วทุกหลังทุกเรือนของเศรษฐี
นางสามาวดีไปเล่นเสียนอกบ้าน กลับมาเห็นบิดามารดานั่งอยู่นอกบ้าน จึงถามว่า
แม่จ๋า พ่อจ๋า เหตุไรจึงมานั่งที่นี้
เศรษฐีและภริยาก็แจ้งเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า
แม่จ๋า พ่อจ๋า อย่าทูลตอบพระราชาอย่างนั้นสิจ๊ะ บัดนี้ จงให้ทูลอย่างนี้นะพ่อนะว่า ธิดาของเราไม่อาจอยู่ผู้เดียวกับสามีได้ ถ้าพระองค์ทรงให้หญิงสาว ๕๐๐ คน บริวารของนางอยู่ด้วย นางจึงจะไป
เศรษฐีกล่าวว่า ดีละลูกเอ๋ย พ่อไม่รู้จิตใจของเจ้านี่
เศรษฐีและภริยา จึงกราบทูลอย่างนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ตรัสว่า ๑,๐๐๐ คน ก็ช่างเถิด จงนำมาทั้งหมด
ครั้งนั้น เศรษฐีและภริยาจึงนำธิดานั้น พร้อมทั้งหญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารไปยังพระราชนิเวศน์ โดยมงคลนักษัตรฤกษ์อันเจริญ พระราชาก็ทรงทำหญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารของนางแล้ว ทรงอภิเษกให้นางอยู่ในปราสาทหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น