วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธธรรม๓๐ ทัศ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พุทธธรรมดา ๓๐ ทัศ
โดย อ.ทวี สุขสมโภชน์
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด ชีวิตกับธรรมะ กระทู้ 11638 โดย : mayrin 15 มี.ค. 47
เมื่อพูดถึงเรื่องธรรมดา ๆ ของคนทั่วไป จะมี ๓ ก. กับ ๑ ธ คือ กาม กิน กลัว และธรรมะ (ธรรมสัญญา) แต่ถ้าจะกล่าวถึงธรรมดาของพระพุทธเจ้าตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานั้น ย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดาสำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ
เพราะกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ต้องสร้างบารมีถึง ๒๐ อสงไขยแสนกัปในกรณีที่เป็นปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดมของเรา แต่ถ้าเป็นสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธ หรือวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธ จะต้องสร้างบารมีเป็น ๔๐ และ ๘๐ อสงไขยแสนกัปตามลำดับ
ท่านได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่อุบัติมาแล้ว และที่จะอุบัติอีกในอนาคต มีมากกว่าเม็ดทรายในมหาสุมทร อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะขอนำพระนามพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์มาแสดง โดยที่พระนาม ๕ พระองค์สุดท้ายคือ พระนามของพระพุทธเจ้าในภัททกัปนี้ ซึ่งเรียกว่า พระเจ้า ๕ พระองค์ นั่นเอง
พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
อสุญญกัป
พระนาม
กัปที่
สุญญกัป
สารมัณฑกัป ๔
๑. พระตัณหังกร



๒. พระเมธังกร



๓. พระสรณังกร



๔. พระทีปังกร
เริ่มพุทธพยากรณ์



อสงขัยที่ ๑
สารกัป ๑*
๕. พระโกณฑัญญะ





อสงขัยที่ ๒
สารมัณฑกัป ๔
๖. พระมังคะ



๗. พระสุมนะ



๘. พระเรวตะ



๙. พระโสภิตะ





อสงขัยที่ ๓
วรกัป ๓
๑๐. พระอโนมทัสสี



๑๑. พระปทุมะ



๑๒. พระนารทะ





อสงขัยที่ ๔
สารกัป ๑
๑๓. พระปทุมุตตระ
๑๐,๐๐๐




๗๐,๐๐๐ กัป
มัณณฑกัป ๒
๑๔. พระสุเมธะ
๓๐,๐๐๐


๑๕. พระสุชาตะ





๒๘,๒๐๐ กัป
วรกัป ๓
๑๖. พระปิยทัสสี
,๘๐๐


๑๗. พระอัตถทัสสี



๑๘. พระธรรมทัสสี





,๗๐๖ กัป
สารกัป ๑
๑๙. พระสิทธัตถะ
๙๔




๑ กัป
มัณฑกัป ๒
 ๒๐. พระติสสะ
๙๒


๒๑. พระผุสสะ





อันตรกัป
สารกัป ๑
๒๒. พระวิปัสสี
๙๑




๕๙ กัป
มัณฑกัป ๒
๒๓. พระสิขี
๓๑


๒๔. พระเวสสภู





๒๙ กัป
ภัททกัป ๕
๒๕. พระกกุสันธะ



๒๖. พระโกนาคมนะ



๒๗. พระกัสสปะ



๒๘. พระโคตมะ



๒๙. พระศรีอริยเมตไตย


สุญญกัปเป็นกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเลย ในระหว่างสุญญกัปนั้น มีมหากัปหลาย ๆ มหากัป นับไม่ถ้วน เรียกว่า ๑ อสงไขยกัป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ละพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา หรือที่จะอุบัติมีขึ้นในอนาคต ล้วนแต่จะต้องเป็นไป ๓๐ อย่าง เรียกว่า พุทธธรรมดา ๓๐ ทัศ คือ
พุทธธรรมดา ๓๐ ทัศ
๑.   พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัวลงสู่พระครรภ์พระมารดา
๒.   ขณะอยู่ในครรภ์ทรงนั่งขัดสมาธิ หันพระพักตร์ออกไปทางเบื้องหน้าพระมารดา
๓.   ขณะประสูติพระมารดาย่อมยืนประสูติ
๔.   ทรงประสูติในป่า ไม่ประสูติในราชนิเวศน์
๕.   เมื่อประสูติ จะยืนบนแผ่นทองที่เทวดามารองรับ หันหน้าไปทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาท ๗ ก้าว ตรวจดูทิศทั้ง ๔ แล้วทรงเปล่งสีหนาทว่า "เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี"
๖.   วันใดที่พระโอรสสมภพ จะทรงเห็นเทวทูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย บรรพชิต และวันนั้นจะเสด็จออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
๗.   ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ ถือเสมือเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ แล้วบำเพ็ญเพียรอย่างน้อย ๗ วัน จึงบรรลุ
๘.   ทรงเสวยข้าวมธุปายาสในเช้าวันที่จะตรัสรู้
๙.   ทรงใช้สันถัตหญ้า (หญ้าคา) อธิษฐานเป็นบัลลังก์ บำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อตรัสรู้
๑๐.   ทรงใช้อานาปานสติกัมมัฏฐาน เป็นเครื่องพิจารณาลมอัสสาสะปัสสาสะ
๑๑.   ทรงใช้บารมี ๓๐ ทัศ ขจัดพระยามารและเสนามาร
๑๒.   ทรงบรรลุบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิพพโสตญาณ และทิพพจักขุญาณ ก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๓.   เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ทรงยับยั้งอยู่ใกล้บริเวณโพธิบัลลังก์ ๗ แห่ง แห่งละ ๗ วัน
๑๔.   ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม
๑๕.   ทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตรที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน
๑๖.   ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในวันเพ็ญเดือน ๓ มาฆฤกษ์
๑๗.   ทรงประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
๑๘.   ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
๑๙.   ทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนดาวดึงส์สถาน
๒๐.   เสด็จลงจากชั้นดาวดึงส์โดยบันไดแก้วใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร
๒๑.   ทรงเข้าผลสมาบัติเป็นเนืองนิจทุกราตรี
๒๒.   ทรงตรวจดูเวไนยชนผู้มีวาสนาบารมีวันละ ๒ เวลา คือ เช้าและบ่าย
๒๓.   เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
๒๔.   เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
๒๕.   ทรงแสดงเรื่องราวพุทธวงศ์ในที่ประชุมแห่งพระญาติ
๒๖.   เมื่อมีอาคันตุกะมาสู่สำนักของพระพุทธองค์ ก็จะให้การปราศรัยต้อนรับ
๒๗.   เมื่อพระพุทธองค์ได้รับนิมนต์ให้จำพรรษา ณ ที่ใด ก่อนจากไป ก็จะต้องบอกผู้รับนิมนต์นั้นก่อนเสมอ
๒๘.   พระพุทธเจ้าย่อมทำกิจ ๕ อย่าง คือ ๑.ปุเรภัตตกิจ ๒.ปัจฉาภัตตกิจ ๓.ปฐมยามกิจ ๔. มัชฌิมยามกิจ ๕.ปัจฉิมยามกิจ ทุกวันมิได้ขาด
๒๙.   เสวยรสมังสะในวันปรินิพพาน
๓๐.   ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิครั้ง แล้วจึงปรินิพพาน
            (อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก พุทธวงศ์ ปฐมปาราชิกวรรณนา)
            --------------------------------------
            คัดลอกจาก:ธรรมะเพื่อชีวิต
            เล่มที่ ๓๙ ฉบับวันมาฆบูชา ๒๕๔๗
            --------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น