วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลูกศิษย์สอนอาจารย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

การันทิยชาดก : ลูกศิษย์สอนอาจารย์


ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพระสารีบุตรผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่ตนพบเห็น แต่ไม่ค่อยมีคนรักษาศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


กาลครั้งหนึ่งนาน มาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี มีชื่อว่า การันทิยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้วได้ไปศึกษา ศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา ได้เป็นหัวหน้าคณะศิษย์อาจารย์ของเขาได้ให้ศีลแก่คนพบเห็นทุกคนไม่ว่าจะเป็น ชาวประมงชาวนา ผู้ไม่ขอศีลเลยว่า "ท่านทั้งหลายจงรับศีล รักษาศีลนะ" ปรากฏว่าคนเหล่านั้นรับศีล เมื่ออาจารย์ทราบเรื่องแล้วก็มักบ่นให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เป็นประจำว่า "อ้ายพวกนี้ ไม่รู้จักทำคุณงามความดี รับศีลไปแล้วก็ไม่รู้จักรักษา"


อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านแห่งหนึ่งมาเชิญให้ไปสวดพิธีพราหมณ์ อาจารย์จึงเรียกการรันทิยะมาพบแล้วมอบให้เป็นหัวหน้าคณะไปแทนตน และกล่าวกำชับว่า "การันทิยะ ฉันจะไม่ไปนะ มอบให้เธอเป็นหัวหน้าพากันไป แต่อย่าลืมนำส่วนของฉันมาด้วยละ"


เมื่อการันทิยะพา คณะไปแล้วขากลับมาได้พากันนั่งพักผ่อนอยู่ข้างเขาลูกหนึ่งใกล้สำนักเรียน เขาคิดหาวิธีที่จะเตือนสติอาจารย์ให้เลิกให้ศีลคนทั่วไป ให้รู้จักให้ศีลแก่ผู้ที่ขอเท่านั้น เดินไปเห็นซอกเขา ฉุกคิดขึ้นมาได้ จึงจับก้อนหินโยนลงไปที่ซอกเขานั้นพวกศิษย์คนอื่น ๆ ถามว่าทำอะไร ก็ไม่ยอมบอก พวกลูกศิษย์จึงพากันกลับสำนักเรียนไปบอกอาจารย์


อาจารย์พอมาถึงก็ ถามขึ้นว่า "การันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรกับการทิ้งก้อนหินลงไปในซอกเขานี้ เจ้าทำไปทำไม" การันทิยะตอบว่า "ผมจักทำแผ่นดินให้เรียบเสมอกันดังฝ่ามือครับอาจารย์"


อาจารย์ "ท่านคนเดียวย่อมไม่สามารถถมหุบเหวให้เต็มทำแผ่นดินให้ราบเรียนได้หรอก เกรงว่าท่านตายไปก็ยังทำไม่ได้"
การันทิยะ "ถ้าผมคนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินให้ราบเรียนเสมอกันได้ อาจารย์ก็ไม่สามารถนำมนุษย์ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันให้มีศีลธรรมเสมอกันได้เช่นกันนะ ขอรับ"


อาจารย์ได้ฟังแล้วกลับได้สติรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า 


" การันทิยะ เจ้าได้บอกความจริงแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ฉันนั้น"


นับตั้งแต่วันนั้น อาจารย์ก็เลิกให้ศีลแก่ผู้ไม่ขอศีล ให้เฉพาะผู้ที่ขอเท่านั้น


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คน มีทิฏิฐิต่างกันพึงเลือกสอนคนที่ควรสอนเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์เปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า ๓ พวกแรกสอนได้ พวกหลังสุดปล่อยทิ้งไปเสีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น