วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู๕

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
หลักคำสอนทางสาสนา
            คำสั่งสอนทางศาสนาของครูอาจารย์ต่อ นิสิต นักศึกษา ตอนที่เขาเหล่านั้นลาครูกลับบ้าน หลังจากเรียนสำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นสาระสำคัญของธรรมคือ
                ๑. จงพูดแต่ความสัตย์
                ๒. จงกระทำปฎิบัติแต่ทางธรรม
                ๓. อย่าประมาทในการอ่านหนังสือธรรม จงพยายามหาเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมพอสมควร ให้เป็นนิตย์
                ๔. จงเอาจตุปัจจัยถวายแก่ครูอาจารย์แล้วตนเองก็เข้าสู่เพศฆราวาส อย่าทำให้วงศ์ตระกูลต้องขาดสาย จงปฎิบัติหน้าที่ของตนให้เหมาะสมกับสามีที่ดี ซื่อสัตย์ต่อภรรยา และบิดาที่ดีต่อบุตร
                ๕. จงอย่าประมาทในการพูดความสัจ
                ๖. จงอย่าประมาทในการกระทำ จงพยายามทำกุศลกรรม
                ๗. จงอย่าประมาทในการปฎิบัติธรรม
                ๘. อย่าประมาทในการทำให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
                ๙.  อย่าประมาทในการค้นหาความรู้ทางธรรม และในการเผยแพร่ธรรม โดยการอ่านตำรา ๆ และปาฐกถา
                ๑๐. จงอย่าประมาทในการบูชาสักการะเทพเจ้า เทวดา และบรรพบุรุษของตน
                ๑๑. จงถือว่ามารดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
                ๑๒. จงถือว่าบิดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
                ๑๓. จงถือว่าครูอาจารย์เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
                ๑๔.  ถือว่าแขกที่มาสู่บ้านโดยบังเอิญ เป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง
                ๑๕. จงกระทำในสิ่งที่ดีที่ไม่เป็นที่ติดฉินนินทา นอกจากนี้ยังต้องปฎิบัติตาม และยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณีแต่โบราณด้วย
                ๑๖. บรรพบุรุษได้สร้างทางแห่งความสุจริตไว้ จงเดินบนทางนั้น
                ๑๗. จงฟังและเคารพบุคคลที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิ
                ๑๘. สิ่งที่จะมอบให้ผู้อื่น จงให้ด้วยความศรัทธา ด้วยความเต็มใจและดีใจ ด้วยความรัก และความอ่อนหวาน อย่าให้ด้วยความไม่ศรัทธา ด้วยความกลัว หรือการถูกบังคับ
                ๑๙. จงไปหาผู้อาวุโส หรือผู้ปฎิบัติธรรม เมื่อสงสัยในข้อปฎิบัติว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นขจัดข้อข้องใจให้
                ๒๐. สิ่งเหล่านี้เป็นคำสั่ง เป็นคำสั่งสอนจากพระเวท และอุปนิษัท เป็นคำสั่งสอนของครู จึงควรปฎิบัติตาม
            การปฎิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล  ในคัมภีร์ และตำราของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้บัญญัติการปฎิบัติระหว่างบุคคลไว้เป็นอันมาก เช่น
               ปิตฤธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบิดาต่อบุตร บิดาต้องรับหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ถึงบุตรมีอายุบรรลุนิติภาวะในการเลี้ยงดูบุตรนั้น
                มคฤธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร มารดาจะต้องรับหน้าที่เหมือนบิดา แต่เอาใจใส่เป็นพิเศษกับบุตร ตอนที่บุตรอยู่ในบ้าน หากบุตรนั้นเป็นเพศหญิง จะรับหน้าที่อบรมสั่งสอนเป็นพิเศษ  เพื่อสร้างอนาคตของบุตรหญิงนั้น ๆ มารดาเป็นครูคนแรกของเด็ก ๆ มารดาจึงต้องระมัดระวัง สร้างนิสัย อุปนิสัยเด็กก่อน
                อาจารยธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของครู อาจารย์ต่อศิษย์ครูอาจารย์จะต้องรับหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้แก่ศิษย์อย่างถูกต้อง ยุติธรรม เลี้ยงดูลูกศิษย์อย่างที่พ่อแม่เลี้ยงดูบุตร สร้างและแก้ไขความประพฤติ นิสัย อุปนิสัยของลูกศิษย์ ร่วมกับพ่อแม่ของลูกศิษย์
                บุตรธรรม และศิษยธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา และการปฎิบัติหน้าที่ของลูกศิษย์ต่อครู ในตำราของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้บัญญัติไว้ว่า  บุคคลที่จงรักภักดีต่อมารดา ผู้นั้นเป็นผู้ชนะโลกนี้ บุคคลที่จงรักภักดีต่อบิดา ผู้นั้นย่อมชนะโลกสวรรค์ และบุคคลที่จงรักภักดีต่อครู - อาจารย์ ผู้นั้นย่อมชนะโลกพระพรหม  (พรหมโลก)
                ภราตฤธรรม  คือ การปฎิบัติของพี่ต่อน้อง และร้องต่อพี่ น้องต้องเคารพนับถือพี่เหมือนบิดามารดา และครูจึงมีบัญญัติว่า จะถือว่าครู อาจารย์เป็นรูปพระปรมาตมัน บิดาเป็นรูปพระประชาบดี มารดาเป็นรูปพระแม่ธรณี และพี่เป็นรูปพระครู จงอย่าดูถูกทั้งบิดามารดา ครู และพี่ ไม่ว่าตนเองอยู่ในฐานะใดก็ตาม
                ปติธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ผู้เป็นพี่ชายต้องเลือเจ้าสาว ผู้ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตน เหมาะต่อสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น ก่อนเลือกเจ้าสาวจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ก่อน  เมื่อเป็นภรรยาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูกันไปตลอดชีพ เอาใจใส่ต่อภรรยาอย่างจริงจัง ถือว่าผู้หญิงอื่น ๆ เป็นเสมือนมารดา พี่น้อง หรือลูกหลาน (ตามวัย) ของตน ได้มีบัญญัติไว้ว่า ที่ไหนสตรีเพศ (ภรรยา) ได้รับความนับถือจากฝ่ายชาย (สามี) ที่นั้นย่อมมีเทพทั้งหลายอาศัยอยู่ตลอดกาล  ที่ไหนภรรยาได้รับแต่อนาทร ที่นั้นการกระทำการกุศลของฝ่ายชายกลายเป็นโมฆะ ตระกูลใดหรือครอบครัวใดในระหว่างสามีกับภรรยา มีความพอใจซึ่งกันและกัน ตระกูลนั้น หรือครอบครัวนั้น ย่อมมีแต่ความสุขความเจริญอย่างแน่นอน
                ปัตนีธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี ผู้เป็นภรรยาต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อสามีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องเอาใจใส่ต่อสามีอย่างจริงจัง อยู่ในโอวาทและความควบคุมดูแลของสามีตลอด
                สวามี - เสวกธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง)  ต่อเสวก (ลูกจ้าง)   และการปฎิบัติหน้าที่ของเสวกต่อสวามี  ผู้เป็นนายจ้างมีหน้าที่เลี้ยงลูกจ้าง และครอบครัวของเขา จ่ายเงินเดือน หรือให้ตอบแทนประการใด ก็ควรพิจารณาก่อนว่า ปัจจัยที่มอบให้แก่ลูกจ้างนั้น มีเพียงพอเพื่อการครองชีพของเขา และครอบครัวหรือไม่  ต้องเอาใจใส่ในทุกข์สุขของเขา เช่นเดียวกับผู้เป็นลูกจ้าง ต้องปฎิบัติงานซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง  และทำอย่างที่นายจ้างได้รับผลมากที่สุด
                ราชธรรม  คือ การปฎิบัติหน้าที่ของพระราชาต่อประชาชน กับปฎิบัติหน้าที่ของประชาชนต่อพระรชา จงถือว่าประชาชนเป็นเสมือนบุตรหลาน และเอาใจใส่ความสุขทุกข์ของประชาชนอย่างใกล้ชิด ในด้านประชาชนมีหน้าที่ต้องถวายความเคารพนับถือพระราชาอย่างสูงสุด พระราชาธิราชเจ้า ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าแปดองค์คือ พระอินทร พระยมราช พระวายุ พระสูรย์ พระอัคนี พระวรุณ พระจันทร พระกุเวร  ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาได้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยเอาพระเดชาบารมีของเทพเจ้าทั้งแปดดังกล่าวแล้ว เพื่อปกป้องปกครองและรักษาประชาชน ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู  ได้ถวายความเคารพนับถือพระราชาเสมือนดังพระนารายณ์ด้วย
                มานวธรรม  มีการสั่งสอนไว้หลายประการด้วยกัน เช่น
                    - หากเกิดมาเป็นมนุษย์ จงปฎิบัติแต่ทางกุศล
                    - บุคคลที่ได้กระทำโดยการพูด โดยกาย โดยใจ แล้ว ผลแห่งการกระทำนั้นก็จักอำนวยให้แก่บุคคลนั้น เป็นอุดมคติ จึงจงทำแต่ดีตลอด
                    - คิดแต่ทรัพยสมบัติของผู้อื่น คิดแต่ทำเสียประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ยอมนับถือผู้ใหญ่  เป็นโทษทางจิตใจ จงอย่าทำ
                    - ก่อนจะลงมือกระทำใด ๆ  จงพิจารณาดูว่าขัดกับธรรมเนียมประเพณีของประเทศชาติ หรือขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมของตระกูลตนเอง หรือของสังคมที่ตนสังกัดอยู่หรือไม่  หากไม่ขัดแล้วจึงลงมือทำ
                    - บุคคลใดไม่ซื่อตรงต่อมิตร ไม่รู้จักบุญคุณ หักหลังผู้อื่น ต้องไปตกนรก
                    - บุคคลใดที่เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพื่อธรรมบุคคลนั้นจะไปสุคติสูงสุด โดยผ่านสุริยจักรวาลไป
                    - ในโลกนี้ ใครมาแย่งที่ดิน (ประเทศชาติ)  ของเรา ซึ่งปู่ย่าและบิดามารดาได้รักษาไว้ ผู้นั้นจะเป็นศัตรูที่หนึ่งของเรา ขอให้ทำลายผู้นั้นเสีย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นญาติมิตรก็ตาม
                    - พระราชาเป็นญาติของผู้ที่ไม่มีญาติ  เป็นตาของผู้ที่ไม่มีความสว่างในดวงตา เป็นบิดาและมารดาของประะชาชน ที่เดินบนทางยุติธรรม
                    - ทรัพยสมบัติเงินทองมีคติ ๓ ประการ คือ จ่ายออกโดยจัดทานในกุศลธรรมต่าง ๆ จ่ายออกเพื่อหาเครื่องอุปโภคบริโภค หากไม่จัดทำทั้งสองประการนี้แล้ว ก็ถูกวินาศไป
                    - จงฟังสาระสำคัญธรรม คือ สิ่งที่ตนเองไม่ชอบ สิ่งนั้นอย่าอำนวยให้แก่ผู้อื่น  การกระทำของผู้อื่นประการใดที่เราไม่ชอบ อย่ากระทำการนั้นต่อผู้อื่น สารธรรมนี้จงถือไว้ตลอดไป ก็มีแต่ความสุขสันต์เป็นนิตย์
            ปรัชญาในภควัทคีตา  คำสั่งสอนของพระกฤษณะที่กล่าวในภควัทคีตา มิใช่เพียงสั่งสอนอรชุนเท่านั้น หากยังเหมาะสำหรับทุกคน เพราะแต่ละคำสอน จะสามารถอธิบาย และครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด หรือสิ่งที่อยู่ในใจของศาสนิกชนให้หมดสิ้นเช่น ใครเป็นผู้สร้างจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ในจักรนวาล ที่ปัญหานี้อรชุนได้ถามพระกฤษณะ คำตอบคือ พระองค์นั่นเองเป็นผู้สร้าง และเป็นผู้ทำลาย พระองค์จะมาในรูปแบบที่ต่างกัน ทุก ๆ สิ่งในจักรวาล จะมีพระองค์เป็นส่วนหนึ่งเสมอ แม้สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ และเขาเหล่านั้น ก็พยายามที่จะกลับไปสู่จุดหมายอันเดียวกันนั่นคือ พระองค์ หรือพระกฤษณะนั่นเอง เมื่อใดเขาเหล่านั้นสามารถที่จะกลับมาพบพระองค์แล้ว วิญาณนั้นก็ถือว่าเป็นอมตะ และเมื่อสิ่งใดหรือเขาเหล่านั้นได้กลับมาพบกับพระกฤษณะ การพบนี้ก็เรียกว่า นิรวาน ตราบใดที่สิ่งเหล่านั้นไม่ถึงนิรวาน วิญาณก็จะไม่มีการสิ้นสุด จะเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงไปตามกรรม ที่แต่ละบุคคลได้กระทำขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง เกิดในสิ่งต่าง ๆ ถึง ๘ ล้าน ๖ แสน ๔ หมื่นชนิด
            ในจำนวนสัตว์ทุกชนิดนั้น มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงที่สุด ประเสริฐที่สุด แต่การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นยากมากเพราะจะต้องสร้างกรรมดีมาตลอด มนุษย์สามารถมีอิสระที่จะทำความดีได้ และอาจจะบรรลุถึงนิพพาน
                กรรมในภควัทคีตา  กรรมที่จะทำขึ้นในมนุษย์ประกอบด้วยกรรมสามชนิดคือ กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมที่เป็นไปตามปกติ สม่ำเสมอ
                ยังมีกรรมวอีกประเภทหนึ่งถือว่าเป็นกรรมชั้นสูงที่สุดคือการสร้างกรรมหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน ทำเพื่อคนอื่น ในการทำกรรมนี้ มนุษย์ต้องเสียสละตนเองเพื่อประเทศชาติ
                กรรมชั้นสอง คือการปฏิบัติหนัาที่ตามความเหมาะสมในนอันที่ควร เช่นนักเรียนควรมีหน้าที่ศึกษา
                กรรมชั้นสาม คือกรรมที่ทำเพราะความจำเป็น
            การปฏิบัติประจำวันทางศาสนา  คือทำบูชาห้าประการหรือการกระทำพิธียัญญะห้าประเภท
                พรหมยัญญะ  ได้แก่ การตั้งจินตนาการถึงเฉพาะแต่พระปรมาตมันและอาตมา โดยตั้งสมาธิทางลัทธิโยคะ หรือกระทำพิธีบูชาตามยคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวท หรือมิฉะนั้นก็ทำการศึกษาพระธรรมให้แตกฉานยิ่งขึ้น ผู้บรรลุพรหมยัญญะจะสามารถบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่คนทั้งปวงได้ด้วยใจบริสุทธิ์ โดยมิได้เลือกหน้า
                พรหมยัญญะ กระทำสามเวลา ตอนเช้าระหว่าง ๐๔.๐๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น. ตอนกลางวันระหว่าง ๑๑.๓๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. ตอนเย็นระหว่าง ๑๗.๑๕ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. ตอนเช้าตื่นขึ้นมาแล้วชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าพิธี ใช้คาถาพระคายตรีอ่านในใจและจินตนาการ พระรูปกายตรีปางทรงพรหมา ไปพร้อมกัน กลางวันอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการพระแม่กายตรีปางพระนารายณ์ ตอนเย็นอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการรูปพระแม่กายตรีปางพระศิวะ
                การอ่านพระคาถากายตรีต้องวอ่านหนึ่งพันครั้งในแต่ละเวลา หากปฎิบัติได้ ๑๒ ปี ก็จะมีบารมีสูงขึ้นในร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเป็นพิเศษ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ ก็ต้องอ่านหนึ่งร้อยแปดครั้งในแต่ละเวลา ถ้าเห็นว่ายังทำไม่ได้อีกก็อ่านเพียงสองเวลาเช้า เย็น
                เทวยัญญะ  ได้แก่ การทำพิธีบูชาไฟชนิดที่เรียกว่า การหวน หมายถึงการเวียนกลับหรือหมุนเวียนกลับ ในการบูชาไฟย่อมมีสิ่งของต่าง ๆ เช่น เนยงาดำ ธูป ผง ไม้จันทน์ กำยาน ฯลฯ ของเหล่านี้เมื่อนำมาเผาก็ทำให้เกิดควัน ควันเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นเมฆ เมฆกลายเป็นฝน
                ปิตฤ ยัญญะ ได้แก่การสักการะบูชาบรรพบุรุษ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้ว มีสี่ประเภทด้วยกันคือ
                    - บิดามารดา น้า อา ป้า ลุง ที่เป็นบรรพบุรุษสายเลือดแห่งตระกูล ที่ยังมีชีวิตอยู่
                    - ครู อาจารย์ ผู้สอนศาสนา ตลอดจนผู้เขียนหนังสือธรรมะ นักบวช พระเจ้าแผ่นดินที่ยังมีชีวิตอยู่
                    - สิ่งที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ชาติโดยธรรมชาติเช่น มาตุภูมิ ดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ
                    - บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
                มนุษยยัญญะ ได้แก่ การรู้จักต้อนรับแขก และการปฏิบัติในทางที่ดีต่ออาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยียน รวมถึงการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
                ภูตยัญญะ ได้แก่ การมีอุปการะและเมตตากรุวณาต่อชีวะทุกประเภททั่วโลกคือการไม่เบียดเบียนใคร
พราหมณ์ในนครศรีธรรมราช

            เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒ - ๓ นักบวชพราหมณ์เผ่าดราวิเดียน ทางภาคใต้ของอินเดียได้เดินทางด้วยเรือจากอินเดีย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ข้ามทะเลอันดามัน ได้พากันมาหลายคณะหลายพวก มาขึ้นฝั่งทางชายทะเลตะวันตกของแหลมปลายแถบเมืองมะริด ทวาย มลิวัลย์ มีพวกที่ขึ้นฝั่งที่บ้านทุ่งตึก บนเกาะพระทอง อำเภอคระบุรี ปัจจุบัน จังหวัดพังงาวปัจจุบัน
            หลังจากที่พวกพราหมณ์รู้ภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเซียแล้ว พราหมณ์ที่เป็นพ่อค้าก็เริ่มใช้เส้นทาง โดยผ่านช่องแคบ จากปากคลองปกาไส ไปออกปากแม่น้ำตาปี ที่อ่าวบ้านดอน โดยผ่านพื้นที่ของอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ไปตามช่องแคบที่อยู่ระหว่างเขาหน้าแดงหน้าเรืองของยตำบลพรดินนา ไปตามร่องน้ำที่เป็นคลองสินปุน แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำตาปี ในเขตอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน แล้วออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน
            พวกพราหมณ์พ่อค้าได้ใช้เส้นทางนี้อยู่หลายร้อยปีจนช่องแคบดังกล่าวตื้นเขิน ใช้เดินเรือไม่ได้ พ่อค้าอินเดียก็ใช้การแล่นเรือผ่านสิงคโปร์ ที่อยู่ทางปลายสุดของแหลมมลายู เพื่อไปตะวันออกไกลคือจีนและญี่ปุ่น โดยแล่นเรือเรียบริมฝั่งแหลมมลายูด้านวตะวันออกผ่านเมืองนราธิวาส ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช และอ่าวบ้านดอนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐ องศา เข้าทะเลจีนใต้จนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

            พ่อค้าชาวอินเดียเหล่านี้ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เมื่อไปถึงเมืองไหนก็ปฏิบัติตามลัทธิศานาของตน ณ ที่นั้น มีร่องรอยให้เห็นอยู่ในแถบประเทศมาเลเซียตอนบน ในรัฐเคดาห์มีโบสถ์พราหมณ์เก่าแก่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบาตู ปาฮัต มีอายุกว่าพันปี และที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
            พราหมณ์รุ่นแรกที่ตั้งหลักอยู่ที่บ้านทุ่งตึก บนเกาะพระทอง แล้วต่อมาได้อพยพเข้ามาบนแผ่นดินใหญ่ ตั้งชุมชนที่บ้านคูลา ปัจจุบันคือคูระบุรี จากนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำตะกั่วป่า เรียกหมู่บ้านของตนว่า ตะโกลา  เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว ได้สร้างเทวสถานขึ้นที่เชิงเขาเหล ตำบลรามณีย์ อำเภอตะกั่วป่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๘๕  ต่อมาบางส่วนได้อพยพข้ามเขาศก ไปทางตะวันออกเข้าสู่เขตจังหวัดสุราษฎรธานี แล้วเดินทางเลียบลำแม่น้ำตาปี ถึงอำเภอท่าขนอน และอำเภอพุนพิน  จากอำเภอพุนพินได้แบ่งออกเป็นสองพวก โดยมุ่งไปทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายูพวกหนึ่ง  อีกพวกหนึ่งเดินบกไปทางทิศใต้ ไปตั้งชุมชนที่อำเภอเวียงสระปัจจุบัน

            ความเป็นมาของพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช  เมื่อต้นสมัยอยุธยาประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๓  เจ้าเมืองรามนคร หรือพาราณสี ในอินเดียได้ส่งราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกษัตริย์ไทย กษัตริย์ไทยได้ทรงขอเทวรูปของคณะพราหมณ์ เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งมิตรภาพ  คณะพราหมณ์ได้จัดเตรียมเทวรูป และเครื่องประกอบตามลัทธิคือ พระนารายณ์ พระศรีลักษมี พระมเหวารีย์บรมหงส์ และชิงช้าทองแดง  ขณะเดินทางเรือผ่านช่องแคบมะละกา ได้เกิดพายุใหญ่ พัดพาเรือของคณะพราหมณ์เข้าสู่เมืองท่าตอนใต้ของไทย ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายูคือ ท่าเมืองปะเหลียน ในเขตเมืองตรัง เมืองตรังขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในปกคอรงของกรุงศรีอยุธยา ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งเรือรบมารับถึงท่าเรือเมืองปะเหลียน  แต่ได้เกิดเหตุการณ์เป็นทำนองว่า เทวรูปจะไม่ไปยังกรุงศรีอยุธยา และจะอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ในบริเวณตำบลท่าน้ำใกล้วัดเสนาเมืองปัจจุบัน  กำหนดให้เป็นเทวสถานของคณะพราหมณ์ ได้สร้างอาคารที่เรียกว่า โบสถ์พราหมณ์ หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ และเสาชิงช้า ขึ้นตามลัทธิศาสนาพราหรณ์ ตั้งแต่นั้นมา
            นำลัทธิพราหมณ์เข้าสู่ราชพิธี  เมื่อมีสกุลพราหมณ์เพิ่มจำนาวนมากขึ้นตามลำดับพวกพราหมณ์ที่ม่จากฝ่ายเหนือคือ พวกที่อพยพผ่านมาทางตะกั่วป่า ข้ามเขาศก เข้าสู่ชานเมืองนครศรีธรรมราชบริเวณพุนพิน ท่าทอง ดอนสัก ขนอม สิชล ท่าศาลา จนเข้าตัวเมือง เข้ามาสมทบกับพวกพราหมณ์ที่มาจากพาราณสี ซึ่งได้มาอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราชก่อน ทั้งสองพวกเข้ากันได้สนิท ตั้งวงศ์สกุลพราหมณ์เป็นปึกแผ่นขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช  เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อมีพิธีการอย่างใด ก็นิยมให้พราหมณ์มาประกอบพิธีให้อย่างกษัตริย์ในอินเดีย เช่น พิธีตรียัมปวาย พิธีสงกรานต์ เป็นต้น
            การปฎิบัติตามลัทธิพราหมณ์  เป็นลัทธิสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นพันปี เช่น การถวายข้าวเม่า ข้าวตอก แก่เทพเจ้าของพราหมณ์ กำหนดประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์ขึ้นเป็นประจำปี ในเดือนสิบสอง แรมค่ำ พอได้ฤกษ์ก็ให้ตามประทีป ลดไม้เทพทัณฑ์  โล้ชิงช้า แห่นางคงคา
            ส่วนในราชพิธีของบ้านเมือง ก็ให้พราหมณ์สี่คน อ่านหนังสืออวยชัยถวายพระพรแก่ผู้ปกครองบ้านเมือง
            คณะเจ้าหน้าที่พราหมณ์  เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองบ้านเมือง ได้แต่งตั้งพราหมณ์บางคน ให้เป็นหัวหน้าและผู้ช่วยรอง ๆ ลงไป  ในทำนองเดียวกันกับการตั้งสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา เช่น หัวหน้าพราหมณ์ในนครศรีธรรมราช ได้ตำแหน่ง แผดงธรรมนารายณ์  มีหน้าที่ปกครองคณะพราหมณ์ และดูแลรักษาเทวรูปและเทวสถานต่าง ๆ รองหัวหน้ามีตำแหน่ง แผดงศรีกาเกีย สองตำแหน่งนี้ได้รับแต่งตั้งจากกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ต่อมาหัวหน้าคณะพราหมณ์ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  ออกพระธรรมนารายณ์  ฯ ผู้ช่วยได้เลื่อนเป็นที่ ออกพระศรีราชโภเบนทร ฯ หัวหน้าพราหมณ์ชั้นหลัง ๆ ต่อมาได้รับอิสริยยศเป็นที่พระรามเทพมุนีศรีกษัตริย์สมุทร
            การแพร่หลายและสืบทอด  ต่อมาทางกรุงศรีอยุธยาได้ให้ พราหมณ์จากนครศรีธรรมราชเข้าไปปฎิบัติตามลัทธิพราหมณ์ ในาชสำนักอย่างใกล้ชิด เช่น  พระยาโหราธิบดี ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อจากนั้นลัทธิพราหมณ์ก็ได้มีการยึดถือมากขึ้น ในราชสำนักก็นิยมใช้ลัทธิศาสนาพราหมณ์ประกอบพิธี
            เนื่องจากลัทธิศาสนาพราหมณ์ ได้ยึดมั่นในชนชั้นของตนอย่างแก่กล้า ไม่ยอมร่วมพงศ์พันธุ์กับชนชันอื่น ๆ จึงทำให้ประชากรพราหมณ์ลดลงตามลำดับ ปัจจุบันประชากรพราหมณ์ยังมีปรากฎเป็นหมู่คณะอยู่บ้างในกรุงเทพ ฯ  เพื่อทำหน้าที่ในราชพิธีต่าง ๆ นอกจากนั้นก็ยังคงมีอยู่บ้างแถวตะกั่วป่า พัทลุง และนครศรีธรรมราช

.........................................................

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ