วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

รามเกียรติ์ นางเบญกาย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

นางเบญกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางเบญกายทำตามบัญชาของทศกัณฐ์ เมื่อพระรามเห็นศพนางสีดาลอยน้ำมาก็เสียใจมากที่ต้องมาสูญเสียนางอันเป็นที่รักไป พาลต่อว่าหนุมานที่หนุมานเข้าไปเผากรุงลงกาในคราวนั้น ทศกัณฐ์คงเจ็บใจและสังหารนางสีดา แต่หนุมานก็รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะตามปกติ ศพที่ลอยน้ำจะต้องเป็นศพที่เน่าเปื่อย และอีกประการ ศพนางสีดานี้ลอยทวนน้ำขึ้นมา ผิดวิสัยของศพที่จะต้องลอยตามกระแสน้ำ จึงทูลขอศพนางสีดานั้นไปเผาไฟ ทำให้นางเบญกายทนไม่ได้ จึงกลับคืนร่างเดิมและเหาะขึ้นฟ้าไป แต่หนุมานก็เหาะตามไปจับตัวมาได้
นางเบญกาย เป็นธิดาของพิเภกและนางตรีชฎา ในคราวที่ทศกัณฐ์ทราบว่าพระรามยกทัพข้ามมาถึงกรุงลงกาแล้ว ก็สั่งให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดาแกล้งทำเป็นตายลอยน้ำไปที่ค่ายพระราม เพื่อให้พระรามหมดกำลังใจรบ จะได้ยกทัพกลับไป
โทษของนางเบญกายนั้นถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากพระรามเห็นว่านางเบญกายเป็นบุตรสาวของพิเภกผู้มีความยุติธรรม จึงได้ปล่อยนางเบญกายไป โดยให้หนุมานไปส่งนางเบญกายที่กรุงลงกา แต่ระหว่างทาง หนุมานซึ่งมีจิตปฏิพัทธ์นางเบญกายแต่แรกที่พบกัน ได้เกี้ยวพาราสีจนได้นางเบญกายเป็นภรรยา
ในคราวที่หนุมานมาปราบท้าวมหาบาลซึ่งบุกมาที่กรุงลงกา หนุมานได้เข้าไปพำนักกับนางเบญกายด้วย ทำให้ในเวลาต่อมา นางเบญกายได้ให้กำเนิดบุตรชายนามว่า อสุรผัด มีหน้าเป็นวานร และมีกายเป็นยักษ์

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ