วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

สัตว์หิมพานต์ สัตว์ประเภทม้า

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

สัตว์ประเภทม้า

ม้าเป็นสัตว์ที่อยู่คู่มนุษย์มาตั้งแต่โบราณกาล ม้ามีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการทำงานหรือแม้กระทั่งการสงคราม นั่นกระมังที่ทำให้มีการวาดรูปม้า หรือมีเรื่องเล่าของม้าในเกือบทุกอารยธรรม สัตว์ประเภทม้าในตำนานหิมพานต์ก็มีไม่น้อยทีเดียว

ดุรงค์ไกรสร
ดุรงค์ไกรสรมีลักษณะคล้ายกับ โตเทพอัสดร กล่าวคือทั้งคู่ เป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับม้า ตามตำนาน ดุรงค์ไกรสรมีกายเป็นม้าสีแดง มีหางสีดำ กีบสีดำเหมือนม้า ส่วนหัวเป็นสิงฆืที่มีลักษณะสง่า ชื่อ “ดุรงค์ไกรสร” มาจากคำบาลีโบราณ ๒ คำคือ “ดุรงค์” ซึ่งคือสายพันธุ์หนึ่งของม้า และคำว่า “ไกรสร” ซึ่งก็คือสิงห็นั่นเอง .

ดุรงค์ไกรสรเX็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร อาหารที่กิน ก็คือสัตว์นานาชนิดในป่าหิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นกวาง หรือวัวควาย ลักษณะเด่นของดุรงค์ไกรสรคือ สามารถวิ่งได้เร็วดุจม้าและ มีความแข็งแรงอย่างสิงห์

ดุรงค์ปักษิณ
ตามตำราดุรงค์ปักษิณคือม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท คำว่าดุรงค์ไกรสรมาจากคำ ๒ คำคือ ดุรงค์ ซึ่งคือหนึ่งในสี่สายพันธุ์ม้าและ ปักษิณ ที่แปลว่านก

สัตว์หิมพานต์อีกชนิดที่เหมือนสัตว์ชนิดนี้คือ ม้าปีก ทั้งคู่คล้ายกันมากจะต่างก็เพียงแต่ม้าปีก มีหางดุจดั่งม้าทั่วไป หาใช่หางแบบนกไม่

ค้านตะวันตกเองก็มีม้าติดปีกในตำนานเช่นกัน ที่รู้จักกันดีก็คือ เปกาซัส ม้าแห่งตำนานเทพของกรีก
เหมราอัสดร
เหมราอัสรมีรูปกายเป็นม้า ส่วนหัวเป็นเหม ตัวเหมนั้น บางที่ก็วาดออกมาเป็นแบบนกหงส์ บางที่ก็วาดออกมา ปากเหมือนสัตว์ประเภทจระเข้
งายไส
งายไส เป็นสัตว์ผสมชนิดหนึ่งในป่สหิมพานต์ ชื่อ งายไสนั้น เป็นชื่อที่ค่อนข้างแปลก ผู้ประพันธ์เองได้ พยายามหาที่มาของ ชื่อนี้แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามาจาก ไหนและแปลว่าอะไร แต่ในตำนานได้บรรยายว่างายไสมีลักษณะผสมระหว่างสิงห์กับม้า โดยมีหัวเป็นสิงห์ มีเขาบนหน้าผาก ๒ ข้าง บ้างก็เชื่อว่างายไสมีหัวเป็น กิเลน มีลักษณะแบบม้าจากช่วงคอลงมา มีสีเขียวคราม เป็นสีพื้น งายไสเป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร

สัตว์ที่งายไสล่าเป็นเหยื่อ มีตั้งแต่สัตว์เล็กจนไปถึงสัตว์ใหญ่ บางครั้งก็ล่ามนุษย์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่มักจำงายไส สลับกับดุรงค์ไกรสรเพราะสัตว์ทั้ง ๒ ประเภทมีร่างเป็นม้าและมีส่วนหัว เป็นสัตว์ประเภทสิงห์ จะต่างก็เพียงแต่หัวของดุรงค์ไกรสรไม่มีเขา
สินธพกุญชร 
สินธพกุญชรมีกายเป็นม้าสีเขียว แต่ส่วนหัวกลบเป็น ช้าง ในตำรากล่าวว่ามีกีบสีดำเหมือนม้าเช่นกัน
สินธพนที
สินธพนัทธี เป็นสัตว์หิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาป คำว่าสินธพนัทธีหมายถึงม้าแม่ น้ำ โดยรากศัพท์แล้วมาจาก คำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญ สายหนึ่งในประเทศอินเดีย ส่วนคำว่า “นที” มีความ หมายตามตัวว่าน้ำ ม้าสินธพนี้มีกำลังและฤทธิ์เดชมาก สามารถวิ่งไปบน ใบบัวได้ โดยที่ใบบัวไม่สั่นแม้แต่น้อย คำว่า “สินธุ” เองเป็นชื่อเมืองโบราณในอินเดียด้วย คาดว่าเมืองสินธุก็คือ รัฐสินธในปัจจุบันนั่นเอง เหตุที่ ใช้ชื่อเมืองนี้คงเป็นเพราะเมืองนี้ มีชื่อเสียงทางม้า ม้าดีจึงมีชื่อว่า สินธพ สินธพนัทธี มีตัวเป็นม้า หางเป็นปลา พื้นสีขาว ครีบและหางมีสีแดงชาด

โตเทพอัสดร
โตเทพอัสดร เป็นสัตว์หิมพานต์แบบผสมระหว่างสิงโตกับม้า มีลักษณะทั่วไปเหมือน ดุรงค์ไกรสร กล่าวคือมีหัวเป็นสิงโต และมีร่างเป็นม้า แต่เมื่อพิจารณาลึกๆแล้วมีความแตกต่างจาก ดุรงค์ไกรสร โดยโตเทพอัสดรมีร่างกายเป็นม้าสีแสด หางและกีบสีแดงชาด หัวเป็นสิงโต คอ หลังและขนสร้อยคอสีเขียว คำว่า “อัสดร” มาจากภาษาสันสกฤต “อสฺสตร” หมายถึง ม้าดี หรือสัตว์ผสมที่เกิดจากพ่อที่เป็นลา และแม่ที่เป็นม้า โตเทพอัสดรเป็นสัตว์ล่าเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกับ ดุรงค์ไกรสร สัตว์ที่เป็นเหยื่อของโตเทพอัสดรมีตั้งแต่ สัตว์เล็กสัตว์น้อย จนไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่ ในป่าหิมพานต์เช่นกวาง วัว ควาย
อัสดรเหรา
อัสดรเหราเป็นสัตว์ผสมระหว่างสัตว์ตระกูลม้าและเหรา ในตำรากล่าวว่ามีผิวกายสีม่วงอ่อน สัตว์ตระกูลเหรานั้น บางทีก็วาดเหมือนจระเข้บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร
อัสดรวิหค
อัสดรวิหค เป็นม้าผสมที่เกิดจากม้าและนก ร่างกายเป็นม้ามีสีเหลืองเป็นสีพื้น ส่วนหัวเป็นนก มีขนคอเป็นสีส้มแดง ปีกมีสีแดงชาด กีบและหางมีสีดำ อัสดรวิหคสามารถ เหาะเหินเดินอากาศได้เพราะ ปีกที่มีพละกำลังมหาศาล เช่นเดียวกับม้าผสมประเภทมีปีกเช่น ม้าปีกและดุรงค์ปักษิณอัสดรวิหคเป็นสัตว์ที่กิน ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร อาหารหลักของอัสดรวิหคได้แก่ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ตัวเล็กๆ และ เมล็ดพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น