วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

รามเกียรติ์ รูปพระราม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


พระราม
พระราม (เทวนาครี: राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ตามตำนาน เล่าว่าพระรามเป็นปางที่ 7 ของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ (รามาวตารหรือรามจันทราวตาร) อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถ และพระนางเกาสุริยา ทรงมีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์
ลักษณะและสี
พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต (สันสกฤตว่า ภรต) , พระลักษณ์ (สันสกฤต : ลักษมัณ หรือ ลักษมณะ) และพระสัตรุด (สันสกฤต : ศัตรุฆน์) ,10888

สีเขียวนวล 1 หน้า 2 มือ มงกุฏเดินหน มงกุฏชัย หรือพระมหามงกุฏ ตอนทรงพรตสวม"ชฎายอดฤษี"
รามมีพระมเหสีคือ นางสีดา ผู้เป็นพระธิดาของท้าว ทศกัณฐ์ กับนางมณโฑเทวี พระรามกับนางสีดามีโอรส 1 องค์ คือ พระมงกุฏ และมีบุตรเลี้ยง 1 องค์ คือ พระลบ ซึ่งพระวัชมฤคฤษีชุบขึ้นมาให้เป็นพระอนุชาของพระมงกุฏ และสุดท้ายบุคคลเหล่านี้ได้ดับดิ้นเพราะลิงลม
ชาวไทยมีคติความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์ ถือเป็นพระนารายณ์อวตาร พระนามของกษัตริย์จึงมีคำว่า ราม อยู่ด้วยเสมอ เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) หรือแม้กระทั่งในสมัยกรุงสุโขทัย ก็มีพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่ารามคำแหง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น