วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เป็นทับหลังที่ปราสาทหินพนมรุ้ง นับเป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ที่ถูกโจรกรรมไป เมื่อราวปี พ.ศ. 2503 และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทย นำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ได้ทับหลังชิ้นนี้คืนมา ทันวันพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งพอดี ในปี พ.ศ. 2531


ภาพสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์

ที่ทับหลังของมณฑปด้านทิศตะวันออกปราสาทประธาน เป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวา เหนือ พระยาอนันตนาคราช ซึ่งทอดตัวอยุ่เหนือมังกรอีกต่อหนึ่งท่ามกลางเกษียรสมุทรมีก้านดอกบัวผุด ขึ้นจากพระนาภีของพระองค์ มีพระพรหมประอยู่เหนือดอก บัวนั้น พระนารายณ์ทรงถือ คฑา สังข์ และจักรไว้ในพระหัตถ์หน้าซ้าย พระหัตถ์หลังซ้ายและพระหัตถ์หลังด้านขวา ตามลำดับ ส่วนพระหัตถ์หน้า ขวา รอบรับพระเศียรของพระองค์เองทรงมงกุฏรูปกรวยกภณฑล กรองศอ และทรงผ้าจีบเป็นริ้ว มีชายผ้ารูปหาปลาซ้อนกันอยู่ 2 ชั้นด้านหน้าคาดด้วย สายรัดพระองค์ มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับมีปพระลักษณมีชายาพระองค์ประทับนั้นอยู่ตรงปลายพระบาท
สำหรับพระพรหม ซึ่งประทับเหนือดอกบัวนั้น มีสี่พักตร์ สี่กร ถัดจากองค์พระนารายณ์มาทางซ้ายบริเวณเลี้ยวของทับหลัง มีรูปหน้ากาลคายพวงอุบะขนาดใหญ่ เหนือหน้ากาลมีรูปครุฑ ใช้มือยึดนาคไว้ข้างละต้นนอกจากนี้ยังปรากฏรูปสัตว์อื่น ๆ ได้แก่ นกแก้ว ลิง และนกหัสดีลิงก์คาบช้างอยู่ด้วย
การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้น คือ การบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ภาพทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้งนี้ คงได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์วราหปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ให้ความสำคัญแก่ พระนารายณ์เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในขณะที่พระนารายณ์ กำลังบรรทมอยู่นั้น ได้ทรางสุบินขึ้นจากพระนาภี บนดอกบัวได้บังเกิดพระพรหม และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ


ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ๒

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
โดย : อุณาโลม คีตะกานท์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของไทย เป็นดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ที่สำคัญ เพราะมีศาสนสถาน ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย หลายแห่งเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ ที่มีความวิจิตรงดงาม อย่างยิ่ง ทั้งรูปแบบของตัวอาคาร และประติมากรรมศิลาจำหลัก ที่ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ศาสนสถานขนาดใหญ่ ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทพนมรุ้งนั้น นอกจากมีความยิ่งใหญ่แล้ว ยังมีทัศนียภาพ ที่สวยงามอีกด้วย เพราะตั้งอยู่บนเขา ปราสาทพนมรุ้ง ยังมีความยิ่งใหญ่ ทางด้านสถาปัตยกรรม การตกแต่งตัวอาคาร โดยเฉพาะภาพศิลาจำหลัก นับว่ามีความสำคัญ และมีความงดงามอย่างยิ่งด้วยประติมากรรมศิลาจำหลัก บนทับหลังประตู ของปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออก ของปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งจำหลักเป็นภาพ "นารายณ์บรรทมสินธุ์" นั้น เป็นศิลาจำหลักที่สำคัญ ศิลาจำหลักชิ้นนี้ เคยเป็นข่าวใหญ่ เมื่อเมื่อเกือบทศวรรษที่แล้ว เพราะมีผู้ไปพบศิลาจำหลักชิ้นนี้ ที่สถาบันศิลปะแห่งหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดกระแสเรียกร้อง ให้ผู้ที่ครอบครอง คืนให้ประเทศไทย เพื่อนำไปติดตั้งไว้ที่เดิม เพราะงานศิลปกรรมชิ้นนี้ เป็นมรดกของคนไทย จึงควรอยู่ในประเทศไทย และควรอยู่ในที่ตั้งดั้งเดิม เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และความสมบูรณ์ ของปราสาทพนมรุ้ง ศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่แห่งอีสาน
ศิลาจำหลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ ของปราสาทพนมรุ้ง มีความเป็นมาอย่างไร จึงไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ศิลาจำหลักชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทับหลังประตู ปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออก ของปราสาทพนมรุ้ง จากการสำรวจของนายมานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์พิเศษ สำนักงานโบราณคดี และวัฒนธรรม แห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งได้สำรวจและบันทึกภาพไว้เมื่อ พ.ศ. 2503 ปรากฎว่าทับหลังชิ้นนี้นั้น หักออกเป็นสองท่อน ตกอยู่ที่เชิงประตูปรางค์ประธาน และต่อมาทับหลังทั้งสองชิ้น ได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย จนปี พ.ศ. 2508 จึงได้ พบทับหลังชิ้นนี้ขนาด 1 ใน 3 ของด้านขวา ที่ร้านขายของเก่าแห่งหนึ่ง กรมศิลปากรจึงได้ยึดมาเก็บรักษาไว้ แล้วนำไปประดับไว้ที่เดิม เมื่อมีการซ่อมปราสาท แต่ยังขาดชิ้นส่วนของทับหลังที่เหลืออีกสองส่วน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ไปพบทับหลังส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ( The Art Institute of Chicaco) ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยบังเอิญ จึงแจ้งให้กรมศิลปากร ทราบ จนเกิดการเรียกร้อง จนผู้ครอบครอง ยอมคืนให้ในที่สุด
ประติมากรรมศิลาจำหลัก รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ชิ้นนี้ มีความสำคัญอย่างไร ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอธิบายว่า " ..ตามเรื่องมีว่า เมื่อโลกถูกทำลายลง พวกที่นับถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ ก็มีเรื่องว่า พระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือพญานาคราช ในเกษียรสมุทร คือในทะเลน้ำนม แล้วมีดอกบัวผุดจากพระนาภี คือ สะดือของพระนารายณ์ พระพรหมผู้สร้างโลกประทับอยู่ด้านบน พระพรหมก็สร้างโลกขึ้นมาใหม่ แต่เนื่องจากพระพรหมนั้น เกิดจากดอกบัวที่ผุดขึ้นจากสะดือ ของพระนารายณ์นี้ เพราะฉะนั้นก็คือเปรียบเสมือนลูก ของพระนารายณ์ ทีนี้ก็เป็นเรื่องของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย ที่นับถือพระนารายณ์บรรทม อยู่เหนือพญานาคราช กลางทะเลน้ำนมเกษียรสมุทร เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศอินเดีย และแพร่มายังประเทศกัมพูชา ในสมัยนครวัดศิลปะขอมในสมัยนครวัด ระหว่าง พ.ศ. 1650-1700 มีวิวัฒนาการ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ที่รับอิทธิพลศิลปะจีนเข้ามาผสม เพราะฉะนั้นพระนารายณ์บรรทมอยู่ เหนือพญานาคราช พญานาคนอนอยู่เหนือมังกร อยู่อีกต่อหนึ่ง แต่เดิมไม่เคยมี ในอินเดียก็ไม่เคยปรากฎ ซึ่งเป็นของที่แปลกแสดงถึงวิวัฒนาการ จะเรียกว่าเป็นของสำคัญ เพราะว่าในสมัยต่อมาคือ สมัยองพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พญานาค
จากเรื่องราวของศิลาจำหลัก รูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ดังกล่าว จะเห็นว่ามีความสัมพันธ์กับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ จึงจำหลักไว้ในตำแหน่งที่สำคัญ ของปรางค์ประธาน เพื่อช่วยเสริมความเชื่อถือ ศรัทธาแก่ศาสนิกชน และเสริมความงดงาม ให้แก่ปรางค์ประธานด้วย ดังนั้นการที่ได้รับศิลาจำหลักชิ้นนี้มาติดตั้งไว้ ณ ตำแหน่งเดิม จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะศิลปกรรมชิ้นนี้เป็นมรดกของโลก ที่ผู้มาเยือนปราสาทพนมรุ้ง ควรจะได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง มิได้เป็นสมบัติของใครคนใดคนหนึ่ง
นอกจากเรื่องราวของศิลาจำหลักนารายณ์บรรทมสินธุ์แล้ว ตัวปราสาทพนมรุ้ง ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เช่นเดียวกัน ปราสาทพนมรุ้งเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในจำนวน 22 แห่งที่พบในเขตอำเภอนางรอง บริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วสูงประมาณ 380 เมตรจากระดับ น้ำทะเลหรือประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ เฉพาะปากปล่องที่ดับแล้ว ได้เป็นแอ่งน้ำมาแต่โบราณ เขาพนมรุ้ง มีพื้นที่ประมาณ 6x4 กิโลเมตร
การค้นพบปราสาทพนมรุ้งและปราสาทขอมในบริเวณภาคอีสาน เริ่มเมื่อประมาณหลายสิบปีก่อน โดยชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามามีอำนาจอยู่ในอินโดจีน ได้กลับไปเขียนหนังสือบรรยายโบราณสถานและภาพถ่ายต่าง ๆ ที่เขาถ่ายไว้ จึงเป็น แรงกระตุ้นให้มีการสำรวจ แหล่งโบราณสถานในบริเวณภาคอีสาน อย่างจริงจัง แล้วพบว่าบริเวณเขาพนมรุ้งนั้น มีปราสาทหินที่สำคัญ คือ ปราสาทพนมรุ้งและในบริเวณใกล้เคียงกัน นั้นยังมีปราสาทที่สำคัญอีกแห่งคือ ปราสาทเมืองต่ำ ด้วย
ปราสาทหินที่พบในบริเวณภาคอีสานหรือภาคอื่นนั้น มิใช่ปราสาทราชวังสำหรับ ประทับของพระมหากษัตริย์ หรือราชวงศ์ แต่เป็นที่ประทับของเทพเจ้า ตามความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ และปราสาทเหล่านั้นส่วนใหญ่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นต้นมา
ปราสาทพนมรุ้งนี้ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงให้ความเห็นว่า เป็นปราสาทขอม ที่สร้างขึ้นเพื่อ เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไวษณพนิกาย คือนับถือพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด การสร้างปราสาทพนมรุ้ง ใช้เวลาถึง 50 ปี โดยสร้างขึ้นบนเส้นทาง จากพระนครหลวง ซึ่งเป็นราชธานีของ อาณาจักรขอมโบราณ ในประเทศกัมพูชา ไปยังเมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาปัจจุบัน) ปราสาทพนมรุ้งนี้ นักโบราณคดีเชื่อว่า สร้างขึ้นตามคติขอมเช่นเดียวกับปราสาทแห่งอื่น ๆ ที่พบในประเทศกัมพูชา และในประเทศไทย
ปราสาทพนมรุ้ง ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร สถานสำคัญ คือปราสาทประธาน ปรางค์น้อย ปราสาทอิฐบรรณาลัย ระเบียงคต ซาลา บันได และโรงช้างเผือก
อาคารสำคัญของปราสาทพนมรุ้ง สร้างอยู่ในระเบียงรูปสี่เหลี่ยม ล้อมอาคารเหล่านั้นไว้บนเนินสูง ทำให้ปราสาท มีความโดดเด่น และสัมพันธ์กับภูมิทัศน์ที่งดงาม นอกจากภาพรวมของปราสาทพนมรุ้ง ที่ยิ่งใหญ่และงดงามแล้ว ประติมากรรมจำหลักจำนวนมาก ที่ตกแต่งปราสาท ก็ล้วนแสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะศิลาจำหลัก
นารายณ์บรรทมสินธุ์บนทับหลัง ประตูปรางค์ประธาน ด้านทิศตะวันออกนั้น เป็นงานชิ้นเอกของปราสาททีเดียว และศิลาจำหลักชิ้นนี้ ควรจะเป็นสิ่งที่เตือนใจ ให้คนไทยช่วยกันปกป้อง รักษามรดกศิลปกรรมของเราไว้ให้ดีกว่าในอดีต ที่ผ่านมา เพื่อจะได้ไม่ต้องเรียกร้องคืน จากต่างประเทศ เหมือนศิลาจำหลัก นารายณ์บรรทมสินธุ์ ของปราสาทพนมรุ้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ