วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

หิมพานต์ นกหัสดีลิงค์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


hasdiling2


คำว่า นกหัสดีลิงค์ นี้ เป็นชื่อนกใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยายว่า อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ รูปตัวส่วนใหญ่เป็นนก เว้นแต่จงอยปากเป็นงวงอย่างงวงช้าง ชื่อนกหัสดีลิงค์ไม่ค่อยปรากฎในเทวนิยาย คนส่วนมากทราบเรื่องนกขนาดใหญ่ในนิยายก็มี เช่น หงส์ พญาครุฑ นกหัสดิน สำหรับนกหัสดิน รูปร้างเป็นนกทั้งตัว ใหญ่โต ขนาดโฉบเฉี่ยวเอาช้างในป่าไปกินเป็นอาหารได้ ไม่เกี่ยวโดยตรงกับนกหัสดีลิงค์

นกที่มีจงอยปากเป็นงวงช้างนี้ ปรากฏในภาษาบาลีว่า หัตดีลิงค์สกุโณ (หัตดี คือ ช้าง ลิงค์ แปลว่า เพศ สกุโณ แปลว่า นก) ในภาษาสันสกฤต คือ หัสดิน ลิงคะ แปลอย่างเดียวกัน ไทยเลือกใช้คำว่า หัสดีลิงค์ แปลกที่คำนี้ไม่มีในปทานุกรม กรมตำรากระทรวงธรรมการ พิมพ์ พ.ศ.2470 ไม่มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 และ พ.ศ.2525 ค้นคว้าต่อไปพบในอักขราภิธานศรันท์ ของหมอปรัดเล พิมพ์ พ.ศ.2416 หน้า 328 และพบในปทานุกรม บาลีไทย-อังกฤษ-สันสกฤต ของกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2513 หน้า 867 หรือแม้ในบาลีสยามอภิธานของนาคะประทีป เรียบเรียงไว้ พ.ศ.2465 ก็มีปรากฏคำนี้อยู่ แสดงว่าคนไทยเรารู้จักคำนี้มานาน

นกหัสดีลิงค์ เป็นชื่อเต็ม ๆ ของนกประเภทนี้ แต่ในล้านนานั้นเรียกเพียงสั้น ๆ ว่า “นกหัส” ส่วนชื่ออื่นที่ปรากฏก็มีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “หตฺถิลิงฺคสกุโณ”ซึ่งเมื่อแปลออกมามีความหมายว่า นกมีเพศเหมือนช้าง เรื่องราวของนกหัสดีลิงค์นี่ไม่ปรากฏชัดเจนเฉพาะเรื่องแต่พอจะประมวลได้จาก นิทานชาดกบ้าง ตำราสัตว์ป่าหิมพานต์บ้างเมื่อสรุปจะได้ความสังเขปว่า นกหัสดีลิงค์นี้เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ลำตัวเป็นนก มีปีก มีหางอย่างนกแต่มีหัวเป็นช้างมีลำตัวที่ใหญ่อีกทั้งมีกำลังเทียบเท่าช้าง ๕ เชือกมารวมกัน นกหัสดีลิงค์ที่ว่านี้นั้นน่าจะถือกำเนิดในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่เข้ามาใน ดินแดนล้านนาดังปรากฏในหนังสือของ ส.พลายน้อยว่า..เรื่องนกประหลาดในวรรณคดี หรือนิยายปรัมปรานี้มีอะไรแปลก ๆ เป็นเรื่องที่น่าคิดเล่น ชื่อนกในนิยายชองชาติต่าง ๆ ที่พบจะเทียบเคียงกันได้ก็มีนกเฮาะของจีน นกร้อคของอาหรับและนกรุค(rukh)ซึ่งท่านผู้รู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอย่าง เดียวกัน
เพราะ ตามเรื่องก็ว่าเป็นนกใหญ่มีอำนาจไม่ผิดอะไรกันนัก ขุนวิจิตรมาตราได้เล่าถึงเรืองนกเฮาะไว้ว่า ในทะเลเหนือของจีนมีนกมหึมาเรียกว่า ไต้เฮาะ รูปร่างใหญ่โตมหึมาเหลือประมาณถึงเดือน ๖ หน้าคลื่นลม นกเฮาะจะกางปีกออกปกฟ้ามิด เริ่มวิ่งฝ่าระลอกคลื่นเป็นระยะไกล ๓๐๐๐ ลี้ก่อน แล้วก็โผทยานขึ้นสู่อากาศเป็นระยะสูง ๙๐๐๐ ลี้บินมาอาศัยอยู่ในเกาะมลายู นกเฮาะฝรั่งว่าเป็นนกที่เรียกว่า นกรุค (rukh)ถ้าเป็นนกรุคก็ตรงกับนกร้อค (roc) ตามที่มีในอาหรับราตรีเมื่อเช่นนี้นกเฮาะก็เห็นจะเป็นนกร้อคนั่นเอง เสียงเฮาะกับร้อคเข้ากันได้ดีอาจจะเป็นคำเดียวกัน แต่หากเรียกเพี้ยนกันไปตามสำเนียงแขกและสำเนียงจีน นิยายเรื่องนกร้อคของอาหรับเล่าว่า นกร้อคเป็นนกใหญ่อยู่ในเกาะทางทะเลจีน คราวหนึ่งพวกเดินทะเลไปจอดทอดสมออยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งได้ขึ้นไปบนเกาะและพบ ไข่เข้าฟองหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก จึงเอาขวานผ่าออกพบลูกนกขนาดมหึมาอยู่ข้างใน ก็เอาไปทำเป็นอาหารเลี้ยงกัน คนที่กินเข้าไปปรากฏว่า ผมหงอกกันหมด คนที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยหนวดเคราดำเป็นมัน พอรุ่งเช้านกร้อคกลับมารู้ว่าพวกเดินเรือกินลูกของมันก็โกรธ มันขนก้อนหินมาทุ่มจนเรือแตกจมทะเล เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงควาใหญ่โตเก่งกาจของนกร้อค ซึ่งก็เห็นจะพอ ๆ กันกับนกรุคที่เล่ามาแล้ว ตามภาพเขียนของเปอร์เซียแสดงให้เห็นกำลังของนกรุคที่สามารถใช้เท้าจับช้าง ได้ข้างละตัวและที่ปากยังคาบช้างได้อีกตัวหนึ่ง นกร้อคกับนกรุคจึงน่าจะเป็นตัวเดียวกันอย่างแน่นอน การที่เล่าเรื่องนกเฮาะ นกรุค และนกร้อคเท่าที่จะมีเรื่องกล่าวเท้าความถึงก็เพื่อให้..นำมาเปรียบเทียบกับ นกหัสดีลิงค์ว่าเป็นนกที่ใหญ่โตเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นนกชนิดเดียวกันก็ได้ แต่เมื่อนำมาเขียนเป็นรูปภาพก็แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความนึกคิด
ความ เข้าใจอย่างช่างเขียนจะกำหนดให้เป็นอย่างไร..ส่วนเรื่องของนกหัสดีลิงค์ที่ ปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนกในการสร้างเมืองหริภุญชัยว่า...พระวาสุเทพดาบสถึง กล่าวว่า เราควรสร้างนครในสถานที่นี้..แต่นครอันเราจักสร้างนี้จักควรตั้งเป็นรูปทรง สัณฐานดังใดฤาจะดี พระสุกทันตฤาษีจึงกล่าวว่า เมื่อครั้งอนุสิษฏฤาษีสหายแห่งเราสร้างเมืองหฬิทวัลลี (เมืองสัชนาลัยสวรรคโลก) นั้นวางสัณฐานเมืองดังรูปเกล็ดหอย..เมืองนั้นคนทั้งหลายอยู่เป็นสุขเกษม สำราญยิ่งนัก เราจะสร้างนครครั้งนี้ควรจะเอาเยี่ยงนั้น พระวาสุเทพดาบสจึงว่า ทำไฉนจึงจักได้เกล็ดหอย..ในตำนานลำพูนว่า พระดาบสทั้งสองไปเองสู่สำนักพระอนุสิษฏฤาษี ๆ ปฏิสันถารต้อนรับกันแล้ว พระดาบนทั้งสองก็แจ้งยุบลเหตุอันมีประสงค์นั้นแก่พระอนุสิษฏสหายแห่งตน พระอสุสิษฏดาบนก็รับจะจัดหาหอยสังข์หรือเกล็ดหอยส่งไปให้ ครั้นพระดาบสทั้งสองลากลับไปแล้ว พระอนุสิษฏดาบสจึงให้นกหัสดีลิงค์ไปยังมหาสมุทรนำเอาหอยสังข์ขนาดใหญ่มาได้ แล้วก็ให้นำหอยนั้นไปส่งแก่พระดาบสทั้งสองยังสถานที่อันจะสร้างนครนั้น.. จากพงศาวดารการสร้างเมืองลำพูนจะเห็นได้ว่า นกหัสดีลิงค์ก็มีส่วนช่วยในการสร้างแก่ฤาษีทั้ง ๒    
ทั้ง นี้เนื่องด้วยเป็นนกที่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่มีกำลังมากมายสามารถนำเอาสิ่งที่ เกินวิสัยของสัตว์ทั่วไปจะพึงกะทำได้นำมาให้แก่ฤาษีทั้ง ๒ การรับรู้เรื่องสัตว์หิมพานต์เป็นสิ่งที่มีอยู่ในความเชื่อของคนล้านนามาแต่ โบราณบางทีอาจจะมีมาก่อนที่จะยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาก็อาจเป็นไปได้เมื่อ ได้หันมานับถือพุทธศาสนาแล้วก็แปลงความเชื่อที่มีต่อสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นั้น เข้ามารับใช้คติในทางพุทธศาสนา แล้วในประวัติพุทธศาสนาเองก็ดี วรรณกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาเองก็ดีก็เอ่ยถึงสัตว์เหล่านั้นด้วยที่บางครั้ง ก็มาช่วยเหลือพระพุทธเจ้า ช่วยเหลือเหล่าพระสาวก จึงไม่แปลกที่จะเราจะเห็นสัตว์ประเภทต่าง ๆ ที่มีรูปร่างไม่เหมือนกับสัตว์ที่มีอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงปรากฏอยู่ตาม ศาสนสถาน ไม่เว้นแม้แต่จะนำเข้ามาใช้ในพิธีกรรมแห่งความตาย อย่างนกหัสดีลิงค์นั้นถ้าหากจะกล่าวว่าจริง ๆ แล้วในตำนานก็ดีในหนังสือทางศาสนาก็ดีต่างก็บอกถิ่นที่อยู่ลักษณะของนกหัสดี ลิงค์ไว้ดังนี้ว่า นกชนิดนี้มีถิ่นที่อยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ณ สถานที่นั้นเองเป็นป่าไม้ที่ชื่อว่า หิมพานต์ นิสัยของนกหัสดีลิงค์ชอบที่จะกินของสด ๆ เป็นอาหาร
ส่วน สำเนียงเสียงร้องของนกชนิดนี้ในหนังสือสัตว์หิมพานต์กล่าวไว้ว่า..หัสดี ลิงค์ก็โผผินส่งเสียงสำเนียงฟังวังเวงใจ” สำหรับรูปร่างของนกชนิดนี้มีลักษณะของการผสมกันระหว่างช้างกับนก โดยมีลักษณะที่หัวเป็นช้างส่วนลำตัวเป็นนกทั่ว ๆ ไป แต่ทว่านกหัสดีลิงค์นี้มีพละกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ ตัวรวมกันเลยทีเดียว ดังปรากฏอยู่ในหนังสือธัมมปทัฏฐคาถา ภาคที่ ๒ โดยมีเรื่องเล่าไว้ว่า..ในอดีตมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า โกสัมพี เมืองนี้มีพระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้าปรันตปะ ปกครองอยู่และทรงมีพระราชเทวีองค์หนึ่งซึ่งทรงพระครรภ์แก่องค์หนึ่ง ในวันหนึ่งพระราชากับพระเทวีทรงนั่งผิงแดดอุ่นอยู่ที่กลางแจ้ง พระราชาก็ได้ให้พระเทวีห่มผ้ากัมพลสีแดงของพระองค์ ขณะที่ทรงนั่งปราศรัยกันอยู่นั้นก็ได้มีนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่งบินผ่านมาเห็น พระเทวีทรงห่มผ้ากัมพลสีแดงจึงชะลอปีกบินโผลงโดยนักหัสดีลิงค์เข้าใจว่า พระเทวีเป็นก้อนเนื้อฝ่ายพระราชาทรงตกพระทัยด้วยเสียงโผลงของนกหัสดีลิงค์ จึงเสด็จหนีเข้าสู่พระราชนิเวศน์
ส่วน พระเทวีไม่อาจจะเสด็จไปโดยเร็วเพราะทรงพระครรภ์แก่ นักหัสดีลิงค์โผลงและจับพระนางไว้ในกรงเล็บแล้วก็บินขึ้นสู่อากาศ ธรรมดานกเหล่านี้มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก นกหัสดีลิงค์พาพระนางไปสู่ป่าหิมพานต์แล้วก็ไปจับที่ต้นไทรต้นหนึ่งเพื่อที่ จะกินพระนาง...จากสิ่งที่ปรากฏในตำนานก็ดีหรือหนังสืออื่น ๆ ก็ดีต่างก็ยืนยันว่า นกหัสดีลิงค์นั้นเป็นนกที่มีการผสมกันระหว่างช้างบวกกับนก มีกำลังมากมายมหาศาลเท่ากับช้าง ๕ ตัวมารวมกัน อาศัยที่ป่าหิมพานต์ ส่วนที่ว่าเมื่ออยู่ในป่าเหตุโฉนทำไมต้องเกี่ยวกับสวรรค์ชั้นดุสิตนี่เป็น ปัญหาที่จะต้องวิเคราะห์กันต่อเพราะในสวรรค์นั้นสัตว์เดรัจฉานนั้นไม่สามารถ เข้าไปถึงได้ ส่วนการที่มีสัตว์อื่น ๆ เช่นช้างเอราวัณก็ดีแท้จริงแล้วเป็นการจำแลงตนของเทวดาเท่านั้น หรือแม้แต่เทวดาองค์อื่น ๆ จะมีสัตว์เป็นพาหนะก็จะมีอยู่ในสถานที่ต่างหากไม่อยู่รวมกัน ถ้าหากต้องการใช้งานจึงเรียกหาดังนี้เป็นต้น ถึงจะอย่างไรก็ตามคนล้านนาก็ได้ยึดถือเอานกหัสดีลิงค์และสัตว์หิมพานต์ตัว อื่น ๆ มาใช้ในการต่างศพของผู้มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน


1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ