วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

พญาอนันตนาคราช

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คำว่าอนันตะมีความหมายว่า อนันต์ ไร้จุดจบ
มีความยาวมากถึงขนาดว่าสามารถพันรอบโลกได้แต่เดิมพญานาคราชมีพระนามเดิมว่า
พญาเศษะ นาคราช ทรงเป็นโอรสองค์แรกของพระกัศยปะ และ นางกัทรุ พญาอนันตนาคราช
เป็นใหญ่ในเมืองบาดาลเป็นราชาแห่งนาคทั้งปวงในเกษียรสมุทรและได้ตามเสด็จพระนารยณ์เสมอ

นาคเป็นงูใหญ่ บนหัวมีหงอน ที่คางมีเครา ลำตัวมีเกล็ดและปลายหางมีลวดลายงดงาม มีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงตัวได้ และสามารถบันดาลให้เกิดฝนได้ด้วย เรียกว่า นาคให้น้ำ นาคในวรรณคดีไทย นอกจากจะมี ๑ หัวแล้ว ยังปรากฏนาคที่มี ๗ หัว เรียกว่า นาคเจ็ดเศียร พญาอนันตนาคราช มี ๑,๐๐๐ เศียร อนันตนาคราชขดตัวอยู่กลางเกษียรสมุทร เป็นแท่นบรรทมให้พระนารายณ์ หลังจากที่พระนารายณ์ปราบผู้ที่มารบกวนเทวดาและมนุษย์ได้แล้ว อนันตนาคราชสามารถพ่นพิษเป็นไฟบัลลัยกัลป์ล้างโลกได้เมื่อถึงเวลาสิ้นอายุของโลก เมื่อพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์ อนันตนาคราชก็มาเกิดเป็นพระลักษมณ์ช่วยพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ด้วย



ครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ มุจลินท์ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำ ๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ มุจลินท์ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า
ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา

นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาส ได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้มากนัก พญานาคหรือนาคราช หมายถึงกายทิพย์ชนิดหนึ่ง จัดเข้าในเดรัจฉาน ภูมิ เป็นสัตว์ที่เป็นทิพย์ เป็นราชาแห่งงู ประดุจราชาแห่งมนุษย์ ในสุทธกสูตร กล่าวถึงพญานาคว่า มีกำเนิด ๔ อย่างคือ ๑.เกิดในฟองไข่ เรียกว่า อัณฑชะ ๒.เกิดในครรภ์ เรียกว่า ชลาพุชะ ๓.เกิดในสิ่งที่ไม่สะอาดหมักหมม ในเหงื่อ ไคลเรียกว่า สังเสทชะ ๔.เกิดแล้วโตทันที เรียกว่า โอปปาติกะ (สุทธกสูตร มก.๒๗/๕๕๖)



1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ