วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สำนวนไทยในวรรณคดี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ลูกทรพี และ วัดรอยเท้า
มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คือ ชื่อควายตัวนึง
มีเทวดาหนึ่งถูกพระศิวะสาปให้เป็นควายและถูกลูกตัวเองฆ่าตาย ควายที่ถูกสาปชื่อทรพาลูกเกิดมากี่ตัวทรพาฆ่าตายหมด ควายตัวเองแอบคลอดที่อื่น รุกขเทวดาเลี้ยงควายตัวนี้ และรู้ว่าพ่อคิดฆ่าตัวเอง และก็เกิดสำนวนไทยอีกสำนวนคือ"วัดรอยเท้า"มันคอยเอารอยเท้าตัวเองวัดกับรอยเท้าพ่อ เพื่อคิดบัญชีที่คิดฆ่าตัวเอง แล้วมาเจอพ่อชื่อทรพา เลยสู้กัน ทรพีฆ่าพ่อตัวเองตาย

วิลิศมาหรา
มาจากวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอน บุษบาเสี่ยงเทียน วิลิศมาหรา เป็นชื่อภูเขามีความสวยงามอลังการ
หรูหรา หรา น่าจะมาจาก วิลิศมาหรา หมายถึง อลังการ เลิศเลอ

เขาวงกต
มาจากชาดกเรื่อง พระเวสสันดร เป็นชื่อภูเขาในป่าหิมพานต์
พระเวสสันดรพาเมียและลูก2คนไปอยู่เขาวงกต และเขาวงกตมันกว้าง หาทางออกไม่ได้ เขาเลยเปรียบกับเขาวงกต

ชักแม่น้ำทั้งห้า
มาจากชาดกเรื่องพระเวสสันดร กัณฑ์กุมาร
ตอนที่ชูชกพบพระเวสสันดร ก็พูดจาหว่านล้อม บอกว่าพระเวสสันดรมีน้ำพระทัยเหมือนปัญจมหานที คือแม่น้ำใหญ่5สาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำ มหิ แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู

กลิ้งทูต
มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ แปลว่า กลิ้งไม่เป็นท่า
ทูต คือชื่อยักษ์ รามายณะเขียนว่า ทูษณ์ พี่ชายนางสำมะนักขา รามายณะเขียนว่า ศูรปนขา ว่าพระรามพระลักษมณ์รังแก เลยไปฟ้องพี่ชายชื่อ ทูต(ทูษณ์) เลยออกไปแก้แค้น และถูกพระรามยิงจนกลิ้งแล้วก็ตาย

กิ้งก่าได้ทอง
มาจากชาดกเรื่อง มโหสถ
แคว้นวิเทหะ เมืองมิถิลา ทุกครั้งที่กษัตริย์กรุงมิถิลาออกจากวัง กิ้งก่าจะออกมาทำความเคารพ เลยให้รางวัลโดยให้ทองไปซื้อเนื้อให้กิ้งก่ากิน และทำแบบนี้ทุกวัน พอวันนึงคนที่ได้รับคำสั่งให้ซื้อเนื้อ แต่หาซื้อไม่ได้ เลยเอาทองไว้กับกิ้งก่าตัวนี้(น่าจะเป็นเหรียญทองมีรูตรงกลางเอาแขวนที่คอกิ้งก่า) มันคิดว่าได้ของที่มีค่ามากกว่าชิ้นเนื้อ แล้วมันไปเกาะชูคอที่ขอบประตู และไม่ลงมาทำความเคารพกษัตริย์กรุงมิถิลา พระมโหสถเลยแนะนำว่าไม่ต้องให้อะไรกิ้งก่าตัวนี้อีก

กลัวดอกพิกุลร่วง
มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง พิกุลทอง
ผู้หญิงคนนึงเวลาพูดมีดอกพิกุลทองออกมาจากปาก เลยเปรียบกับคนที่พูดน้อย ว่ากลัวดอกพิกุลร่วง

ฤๅษีแปลงสาร
มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง นางสิบสอง
พระรถเสนกำลังเดินทางเอาสารไปให้นางเมรีลูกนางยักษ์ แล้วเจอฤๅษีกลางทาง สารฉบับนั้นบอกว่า ถึงกลางวันกินกลางวัน ถึงกลางคืนกินกลางคืน ฤๅษีใช้เวทมนต์แปลงข้อความเป็น ถึงกลางวันแต่งกลางวัน ถึงกลางคืนแต่งกลางคืน

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
อิเหนาบุษบาหมั้นกันแต่เด็ก วันนึงได้จินตหราเป็นเมีย ท้าวดาหาพ่อบุษบาทวงสัญญา บอกว่าไม่ต้องการบุษบา จะยกให้ใครก็ได้ แต่วันนึงอิเหนาก็ลักพาตัวบุษบาไป

สิบแปดมงกุฎ
มาจากเรื่องรามเกียรติ์
เป็นชื่อลิงฉลาดแกมโกงสวมมงกุฎ18ตัว สำนวนนี้แปลว่า คนที่มีเล่ห์เหลี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น